ยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสภาวการณ์ใหม่

Anh Huyen- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -วันที่ 9 พฤษภาคม ณ เกาะลาบวน บาโจ ประเทศอินโดนีเซีย ได้มีการจัดการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 42 ภายใต้หัวข้อ "อาเซียนเป็นศูนย์กลาง สรรค์สร้างความเจริญ" (ASEAN Matters: Epicentrum of Growth) การประชุมครั้งนี้เป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาและความพยายามของบรรดาประเทศสมาชิกในการพัฒนาอาเซียนให้เป็นศูนย์กลาง พลังขับเคลื่อนของการขยายตัวด้วยบทบาทการเป็นผู้นำในกระบวนความร่วมมือและการเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนอย่างซับซ้อนและยากที่จะคาดเดาได้

ยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสภาวการณ์ใหม่ - ảnh 1บรรดาผู้แทนที่เข้าร่วมการประชุม   SOM ASEAN เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 42  (Photo: asean.org)

ในการประชุมครั้งนี้ นอกจากการหารือเกี่ยวกับปัญหาภายในกลุ่มแล้ว บรรดาผู้นำ 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนจะหารือเกี่ยวกับปัญหาที่ร้อนระอุและได้รับความสนใจในภูมิภาคและโลก เห็นพ้องเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติและส่วนร่วมที่เป็นรูปธรรมของอาเซียนในการแสวงหามาตรการเพื่อยืนยันบทบาท สถานะและความรับผิดชอบของอาเซียนในสภาวการณ์ปัจจุบัน

ความตั้งใจฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนมากขึ้น

การประชุมครั้งนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจในโลกประสบอุปสรรคมากมาย ความผันผวนในบางภูมิภาคได้ทำให้โลกมีความเสี่ยงที่จะตกเข้าสู่วิกฤตที่ร้ายแรงเกี่ยวกับความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหาร ภาวะเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจถดถอย ซึ่งสิ่งนี้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อเศรษฐกิจอาเซียนที่พึ่งพาปัจจัยภายนอก ดังนั้น การฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจกลายเป็นประเด็นหลักของการประชุมต่างๆของอาเซียนและเป็นหัวข้อหลักในการประชุมหารือต่างๆระหว่างบรรดาผู้นำอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆในเวลาที่ผ่านมา ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งนี้ อาเซียนตระหนักได้ดีต่อความต้องการในการประสานงานการปฏิบัติ การวางมาตรการของแต่ละประเทศและมาตรการระดับภูมิภาค

จุดเด่นของการประชุมครั้งนี้คือการสนทนาระหว่างบรรดาผู้นำกับกลุ่มและองค์การต่างๆเกี่ยวกับปัญหาที่ได้รับความสนใจในกระบวนการสร้างสรรค์ประชาคม คาดว่า การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 42 จะอนุมัติเอกสารที่สำคัญทั้งในสามเสาหลักได้แก่การเมือง-ความมั่นคง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม-สังคมของประชาคมอาเซียน ซึ่งเอกสารต่างๆดังกล่าวได้เกาะติดประเด็นที่อาเซียนให้ความสนใจในปีนี้คือการรักษาเสถียรภาพทางการเงิน ความมั่นคงด้านพลังงาน การผลักดันการฟื้นฟูและการขยายตัวในภูมิภาค นอกจากระเบียบวาระการประชุมเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศแล้ว การประชุมยังหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมมุมมองอาเซียนต่ออินโด-แปซิฟิก  ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเดินเรือ การเชื่อมโยงและเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ธำรงบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน

ในปีประธานอาเซียน 2023 การขยายตัวเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนให้ความสนใจพิเศษ  อินโดนีเซียมีความตั้งใจที่จะพัฒนาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งการขยายตัวด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและโลก ผ่านเป้าหมายที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในปี 2023 อินโดนีเซียพร้อมบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนเสริมสร้างบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการรับมือความท้าทายต่างๆ พัฒนาอาเซียนให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งการเติบโตในภูมิภาคและโลก

ปัจจุบัน อาเซียนนับวันดึงดูดความสนใจจากหุ้นส่วนต่างๆที่มีความประสงค์ที่จะยกระดับความสัมพันธ์และเข้าร่วมกลไกที่อาเซียนเป็นผู้นำ สถานะของอาเซียนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและโลกนับวันยิ่งได้รับการยกระดับ  อาเซียนถือเป็นองค์การระดับภูมิภาคที่ประสบความสำเร็จแห่งที่สองในโลกรองจากสหภาพยุโรปหรืออียู ปัจจุบัน  96 ประเทศได้แต่งตั้งเอกอัครราชทูตประจำอาเซียน  ในขณะที่อาเซียนได้สถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับ 11 ประเทศ รวมทั้ง 2 ประเทศที่มีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านและ 8 ประเทศที่มีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ บรรดาประเทศมหาอำนาจนอกภูมิภาคให้ความสำคัญและชื่นชมบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนและถือการกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียนเป็นหนึ่งในประเด็นที่สำคัญในยุทธศาสตร์อินโด-แปซิฟิก นอกจากนี้ อาเซียนยังเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายข้อตกลงการค้าเสรีในภูมิภาค เป็นพลังขับเคลื่อนเพื่อผลักดันความร่วมมือ การเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจในภูมิภาคและอนุภูมิภาค โดยเฉพาะการลงนามข้อตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจในทุกด้านในภูมิภาคหรือ RCEP เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี 2020

ในสภาวการณ์ดังกล่าว   เลขาธิการอาเซียน เกา กิม ฮวน  ได้ย้ำว่า อาเซียนจะส่งเสริมความร่วมมือเพื่อค้ำประกันความดึงดูดของอาเซียนต่อหุ้นส่วนและคู่เจรจา โดยเฉพาะอาเซียนให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อการธำรงสันติภาพ เสถียรภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ซึ่งมีความหมายที่สำคัญพิเศษต่ออาเซียน จากการผลักดันการสนทนา การสร้างความไว้วางใจ ความพยายามสร้างสรรค์โครงสร้างภูมิภาคที่เปิดเผย โปร่งใสและบนพื้นฐานของกฎหมาย มุ่งสู่การสร้างสรรค์บรรยากาศที่สันติภาพ เสถียรภาพและพัฒนา อาเซียนได้บรรลุความสำเร็จในกระบวนการพัฒนาในตลอดเกือบ 56 ปีที่ผ่านมา อาเซียนนับวันยกระดับภาพลักษณ์และสถานะ ส่งเสริมบทบาทและเสียงพูดในภูมิภาคและโลกเนื่องจากมีวิธีการเข้าถึงที่สมดุลและเป็นเอกลักษณ์ โดยเฉพาะความสามัคคี การรับมืออุปสรรคและความท้าทายต่างๆของยุคสมัยอย่างมีประสิทธิภาพ.

Komentar