พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี2045

Thu Hoa
Chia sẻ
(VOVWORLD) - มติที่ 36 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ปี 2018ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045” ได้ยืนยันถึงสถานะและความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล กำหนดหน้าที่พัฒนาเวียดนามเป็นประเทศที่ร่ำรวยและเข้มแข็งทางทะเล โดยเวียดนามได้ประสบผลงานที่น่ายินดีในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลและในเวลาข้างหน้า จะปฏิบัติมาตรการเชิงก้าวกระโดดอย่างพร้อมเพรียงและมีความคิดสร้างสรรค์เพื่อปฏิบัติเป้าหมายของมติดังกล่าวให้ประสบความสำเร็จ
พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี2045  - ảnh 1รูปแบบการทำฟาร์มทะเลที่อ่าวเวินฟองในจังหวัดแค้งหว่า

เวียดนามมีศักยภาพและความได้เปรียบในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล โดยมีแนวชายฝั่งยาว 3,260 กิโลเมตร รวมเกาะเล็กเกาะใหญ่ประมาณ 3 พันเกาะ รวมถึงหมู่เกาะหว่างซา หรือพาราเซล และเจื่องซาหรือสเปรตลี่ ที่มีสถานะทางภูมิศาสตร์ที่สำคัญ อาณาเขตทางทะเลที่อยู่ภายใต้สิทธิอธิปไตยและอำนาจศาลของเวียดนามมีพื้นที่กว้างกว่า 1 ล้านตารางกิโลเมตรทอดยาวผ่าน 28 จังหวัดและนครริมฝั่งทะเล ซึ่งมติที่ 36 เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม ปี 2018ของการประชุมคณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 เกี่ยวกับ “ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี 2045” ได้ระบุเป้าหมายพัฒนาเวียดนามเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทางทะเล ถึงปี 2030 เศรษฐกิจทางทะเลจะมีส่วนร่วมคิดเป็นร้อยละ 10 ของจีดีพี เศรษฐกิจของ 28 จังหวัดและนครริมฝั่งทะเล บรรลุตั้งแต่ร้อยละ 65 – 70 ของจีดีพีทั้งประเทศ อุตสาหกรรมทางทะเลพัฒนาอย่างยั่งยืนตามมาตรฐานสากล เพิ่มการบริหารการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลควบคู่กับการอนุรักษ์และฟื้นฟูระบบนิเวศ 

ผลงานที่สำคัญของการปฏิบัติมติฯ 

ภายหลังการปฏิบัติมติที่ 36 คณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 มาเป็นเวลาเกือบ 5 ปี กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นได้พยายามชี้นำการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย โดยได้ประสบผลงานต่างๆที่น่ายินดี เช่น การเพาะเลี้ยงและใช้ประโยชน์จากสัตว์น้ำ การพัฒนาพลังงานหมุนเวียนและอุตสาหกรรมทางทะเล เขตเศรษฐกิจ นิคมอุตสาหกรรม มีการกำหนดพื้นที่ระบบนิเวศและชายฝั่ง เขตทะเลที่มีศักยภาพได้รับการลงทุนและใช้ประโยชน์ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพทางทะเลอย่างยั่งยืนได้รับการผลักดัน การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุน การป้องกันและรับมือภัยพิบัติ งานด้านกลาโหม ความมั่นคง การต่างประเทศและความร่วมมือระหว่างประเทศทางทะเลและมหาสมุทรได้รับการค้ำประกัน โดยเฉพาะจังหวัดและนครต่างๆได้สร้างสรรค์รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลที่สอดคล้องสถานการณ์ในท้องถิ่น นาย เจิ่นหว่านาม รองประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดแค้งหว่า ได้เผยว่า

ทางจังหวัดฯเน้นพัฒนาบริการและการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพสูง พัฒนานิคมอุตสาหกรรมและเขตเศรษฐกิจควบคู่กับการพัฒนาเขตริมฝั่งทะเล พลังงานหมุนเวียนและอุตสาหกรรมทางทะเลใหม่ การเพาะเลี้ยง ใช้ประโยชน์และแปรรูปสัตว์น้ำ การทําฟาร์มทะเลที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม บริการโลจิสติกส์ การประมง ท่าเรือ การขนส่งทางทะเลและการบิน เศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่งและจัดตั้งศูนย์วิจัยเทคโนโลยีทางทะเลระดับชาติ”

หลังการประกาศมติที่ 36 คณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 เวียดนามได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลบนพื้นฐานของการบริหารทะเล มหาสมุทร และชายฝั่งตามมาตรฐานสากล ขยายการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและความร่วมมือระหว่างประเทศในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล โดยรัฐบาลได้ประกาศใช้มติที่ 896 เมื่อวันที่ 26 มิถุนายนปี 2020 เกี่ยวกับ     “การอนุมัติโครงการเพิ่มทักษะและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการบริหารทรัพยากร สิ่งแวดล้อมทางทะเลและเกาะแก่งจนถึงปี 2030” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้นำการวิจัย เข้าถึงและประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการสร้างสรรค์เศรษฐกิจทางทะเล นอกจากนี้ ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทางทะเลและเกาะแก่งกับประเทศต่างๆและองค์การระหว่างประเทศ เช่น เยอรมนี สาธารณรัฐเกาหลี สวีเดน แคนาดา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF)และกองทุน Yeosu Foundation ของสาธารณรัฐเกาหลี ได้รับการผลักดัน เวียดนามได้ลงนามบันทึกช่วยจำเพื่อความเข้าใจเกี่ยวกับความร่วมมือกับองค์การต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือในการปฏิบัติโครงการผลักดันยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนในทะเลเอเชียตะวันออก ประสานงานในการจัดทำและปฏิบัติโครงการ “Reversing Environmental. Degradation Trends in the South China Sea and Gulf of Thailand”และโครงการร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยและสำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ในระดับท้องถิ่น ในหลายปีที่ผ่านมา ท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามได้ประเมินศักยภาพและคุณค่าของทรัพยากรที่สำคัญ พร้อมทั้งป้องกัน ตรวจสอบและแก้ไขปัญหามลพิษทางทะเล นาย เหงวียนท้ายหว่า รองผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจังหวัดฟู้เอียนได้เผยว่า

พวกเราได้มอบหมายหน้าที่ให้หน่วยงานเกษตรลดการทิ้งอวนและอุปกรณ์จับปลาในทะเลร้อยละ 50 ภายในปี 2025 ลดการใช้พลาสติกชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง รวมถึงการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกในเขตชุมชนและสถานที่ท่องเที่ยว เฝ้าติดตามและประเมินปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประจำ โดยเฉพาะปัญหาขยะพลาสติกเพื่อมีมาตรการแก้ไข”

พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืนจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์จนถึงปี2045  - ảnh 2หมู่บ้านประโมงหวิงหว่าในจังหวัดฟู้เอียน (TX Sông Cầu – Phú Yên)

แปรเป้ามหายต่างๆของมติที่ 36 คณะกรรมการกลางพรรคฯครั้งที่ 8 สมัยที่ 12 ให้เป็นรูปธรรม 

เวียดนามกำลังขยายการประชาสัมพันธ์เพื่อยกระดับจิตสำนึก สร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในสังคมเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเร่งปฏิบัติมติที่ 729เมื่อวันที่ 16 มิถุนายนปี 2022 ของนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับ “การอนุมัติแผนการประชาสัมพันธ์ทะเลและมหาสมุทรจนถึงปี 2030”เพื่อเปลี่ยนแปลงใหม่ความคิดเกี่ยวกับความสำคัญของการปฏิบัติมติที่ 36 ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เวียดนามได้ตั้งเป้าหมายว่า จะขยายการประชาสัมพันธ์ทั้งในระดับประเทศ จังหวัดและเขตเกี่ยวกับโอกาสพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน กำหนดบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ของการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลในการดึงดูดโครงการลงทุนต่างๆ ตรวจสอบและปรับปรุงเอกสารทางกฎหมาย โดยกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบและประสานงานกับท้องถิ่นในการตรวจสอบและประเมินสถานการณ์ เสนอให้ปรับปรุงและเพิ่มเติมข้อกำหนดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์เศรษฐกิจทางทะเลและเกาะแก่ง มีส่วนร่วมปฏิบัติมติที่ 36 อย่างสมบูรณ์และรอบด้าน ค้ำประกันแหล่งพลังสำหรับปฏิบัติมติที่ 36 อย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดยุทธศาสตร์การใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ดึงดูดเงินทุนทั้งภายในและต่างประเทศและใช้แหล่งพลังต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างยั่งยืน.

Komentar