พัฒนาเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางให้มีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเลและสร้างความร่ำรวยจากทะเล

Vân +Bình
Chia sẻ
(VOVWORLD) - การพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลเพื่อให้เวียดนามกลายเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเลและมีความร่ำรวยจากทะเลเป็นนโยบายที่เสมอต้นเสมอปลายของผู้นำเวียดนาม ทัศนะนี้ถูกย้ำอีกครั้งในการประชุมปฏิบัติมติที่ 26 เกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมและค้ำประกันงานด้านกลาโหมและความมั่นของเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางจนถึงปี 2030 วิสัยทัศน์ถึงปี 2045 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ โดยเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางต้องมีความแข็งแกร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจทางทะเลและมีความร่ำรวยจากทะเล
พัฒนาเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางให้มีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเลและสร้างความร่ำรวยจากทะเล - ảnh 1มติที่ 26 ของกรมการเมืองพรรคกำหนดว่า จนถึงปี 2030 เขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเป็นเขตพัฒนาที่คล่องตัว รวดเร็ว ยั่งยืนและมีความแข็งแกร่งเกี่ยวกับเศรษฐกิจทางทะเล (VGP)

เขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางมี 14 จังหวัดและนครชายฝั่งทะเลสังกัดส่วนกลางตั้งแต่จังหวัดแทงฮว้า ไปจนถึงจังหวัดบิ่งถ่วน โดยมีพื้นที่คิดเป็นเกือบร้อยละ 29 ของประเทศ มีชายฝั่งยาวเกือบ 1,800 กม. คิดเป็นกว่าร้อยละ 55  ของชายฝั่งเวียดนามที่ยาว 3,260 กม.  อีกทั้งมีท่าเรือน้ำลึก เกาะ และหมู่เกาะสำคัญหลายแห่ง เช่น หว่างซาหรือพาราเซลล์และเจื่องซาหรือเสปรตลีย์ ลี้เซินและกู่ลาวจ่าว เป็นต้น

เนื้อหาของเศรษฐกิจทางทะเลถูกระบุอย่างชัดเจน

14 จังหวัดและนครในเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางเป็นท้องถิ่นที่ติดกับทะเล รวมทั้งทะเลตะวันออก ดังนั้น เศรษฐกิจทางทะเลจึงมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของภูมิภาคทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการค้ำประกันงานด้านกลาโหมและความมั่นคง

มติที่ 26 กำหนดเป้าหมายอย่างชัดเจนว่า จนถึงปี 2030 เขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางต้องเป็นเขตที่พัฒนาเศรษฐกิจทางทะเลอย่างคล่องตัว รวดเร็ว เข้มแข็งและยั่งยืนมากขึ้น มีโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจและสังคมที่พร้อมเพรียงและทันสมัย มีศูนย์กลางอุตสาหกรรม การบริการและความร่วมมือระหว่างประเทศขนาดใหญ่ของประเทศด้วยเขตเศรษฐกิจริมฝั่งทะเลและระบบตัวเมืองชายฝั่งทะเลที่ได้มาตรฐานระดับชาติและระดับภูมิภาค เป็นประตูสู่ทะเลของเขตเตยเงวียนและประเทศลาว

จนถึงปี 2045 เขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางจะเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและยั่งยืน มีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเล มีศูนย์อุตสาหกรรม บริการและความร่วมมือระหว่างประเทศที่สำคัญหลายแห่งในระดับเอเชีย โดยมีเขตเศรษฐกิจชายฝั่งที่ทันสมัย และระบบตัวเมืองชายฝั่งอัจฉริยะ ยั่งยืนและมีเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง

นาย เจิ่นต๊วนแอง หัวหน้าคณะกรรมการเศรษฐกิจส่วนกลางกล่าวว่า

“เนื้อหาของเศรษฐกิจทางทะเลถูกระบุอย่างชัดเจน โดยเขตที่ถูกกำหนดต้องเป็นเขตพัฒนาซึ่งอ้างอิงจากพื้นฐานของแหล่งทำประโยชน์ของเศรษฐกิจทางทะเล มีความเข้มแข็งและร่ำรวยจากทะเล โดยเฉพาะ การใช้ประโยชน์และส่งเสริมศักยภาพของเศรษฐกิจทางทะเลต้องมีความผูกพันกับการสร้างสรรค์และปรับปรุงระบบระเบียงเศรษฐกิจให้มีความสมบูรณ์เพื่อให้เวียดนามมีเขตเศรษฐกิจชายฝั่งที่พัฒนาอย่างแท้จริง”

ก่อนหน้านั้น เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2022 รัฐบาลยังได้อนุมัติโครงการพัฒนากลุ่มเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางทะเลที่มีความผูกพันกับการก่อสร้างศูนย์เศรษฐกิจทางทะเลที่แข็งแกร่งจนถึงปี 2030 โครงการกำหนดว่า ต้องพัฒนากลุ่มเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางทะเลในเขตภาคกลางตอนบนกับเขตเศรษฐกิจหลักในริมฝั่งทะเลจังหวัดเหงะอาน – ห่าติ๋งห์ ควบคู่กับการสร้างศูนย์กลางเศรษฐกิจทางทะเลที่แข็งแกร่งระดับโลก พัฒนากลุ่มเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางทะเลในภาคกลางตอนกลางกับเขตเศรษฐกิจหลักในดานัง – เถื่อเทียนเว้ ควบคู่กับการสร้างศูนย์กลางเศรษฐกิจทางทะเลที่มีความแข็งแกร่งระดับโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พัฒนากลุ่มเชื่อมโยงอุตสาหกรรมเศรษฐกิจทางทะเลในเขตภาคกลางตอนใต้กับเขตเศรษฐกิจหลักในจังหวัดแค๊งหว่า – ฟู้เอียนตอนใต้ควบคู่กับการสร้างศูนย์กลางเศรษฐกิจทางทะเลที่แข็งแกร่งระดับโลกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับกลุ่มเชื่อมโยงเหล่านี้ โครงการกำหนดอุตสาหกรรมและด้านที่ให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อส่งเสริมความได้เปรียบของภูมิประเทศและทรัพยากรที่มีอยู่

พัฒนาเขตภาคกลางตอนบนและเขตริมฝั่งทะเลภาคกลางให้มีความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเลและสร้างความร่ำรวยจากทะเล - ảnh 2ท่าเรือ ซวนหายในตัวเมืองซงโก่ว จังหวัดฟู้เอียน (VNA)

การเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นต่างๆ

จากการตระหนักได้ดีถึงข้อได้เปรียบทางภูมิศาสตร์และศักยภาพที่หลากหลายในการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล ในเวลาที่ผ่านมา ท้องถิ่นหลายแห่งได้มีก้าวเดินที่เป็นรูปธรรม โดยที่จังหวัดกว๋างบิ่งห์ นอกจากเขตเศรษฐกิจห่อนลา ทางจังหวัดฯได้วางแผนการและดึงดูดการร้องลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมและเขตตัวเมืองริมฝั่งทะเลใหม่ๆ เช่น เขตนิคมอุตสาหกรรม กว๊านเห่าเขตตะวันตกภาคเหนือ กามเลียน เขตตัวเมืองเชิงนิเวศกวางฟู้ บ๋าวนิงห์และหายนิงห์ ตามแนวทางเข้าถึงรูปแบบเขตนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ

ที่จังหวัดแค๊งหว่า คาดว่า ปัจจุบัน ภาคเศรษฐกิจทางทะเลมีส่วนร่วมกว่าร้อยละ 80 ต่อ GRDP ของจังหวัด และรายได้จากการบริการ-การท่องเที่ยวคิดเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงในโครงสร้างเศรษฐกิจ ปัจจุบัน  เขตเศรษฐกิจหลัก 3 แห่งของจังหวัดแค๊งหว่ามีความผูกพันกับอ่าวทะเลที่มีชื่อเสียง 3 แห่ง ได้แก่ เวินฟอง  กามแรงและญาจาง นาย เหงียนเติ๊นตวน ประธานคณะกรรมการประชาชนจังหวัดแค๊งหว่ากล่าวว่า                   

“จังหวัดแค๊งหว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับโครงสร้างเศรษฐกิจในอีก 5 ปีข้างหน้าด้วยการก่อตั้งเขตนิคมอุตสาหกรรมที่ทันสมัย การพัฒนาการเกษตรที่มีคุณภาพสูงและผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวใหม่ๆ เขตเศรษฐกิจเวินฟองมีศักยภาพอีกมากมาย โดยมีพื้นที่ 150,000 เฮกตาร์ที่มีการวางผังอย่างชัดเจนและทันสมัย ซึ่งแน่นอนว่าจะกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าดึงดูดใจมาก นี่เป็นเขตเศรษฐกิจเปิดกว้างที่มีท่าเรือน้ำลึก เรายังมีอำเภอเกาะเจื่องซาด้วยเขตทะเลทำประมงอันกว้างใหญ่ แต่ในการพัฒนาอำเภอเกาะเกาะเจื่องซา เราควรเน้นพัฒนาเป็นเขตทะเลสำหรับการแสวงผลประโยชน์จากการทำประมง การแปรรูปและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”

ผู้บริหารจังหวัดฟู้เอียนกล่าวว่า เขตเศรษฐกิจฟู้เอียนตอนใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 8 เขตเศรษฐกิจชายฝั่งที่สำคัญของประเทศ ได้รับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานอย่างพร้อมเพรียง นอกจากท่าเรือหวุงโรที่ได้รับการลงทุนและยกระดับ ฟู้เอียนยังวางผังที่จะก่อสร้างท่าเรือน้ำลึก บ๋ายโก๊ก ที่สามารถรองรับเรือที่มีน้ำหนักถึง 50,000 ตัน

เพื่อส่งเสริมศักยภาพของทะเลอย่างมีประสิทธิภาพในศตวรรษที่ 21 เวียดนามจะใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบที่มีอยู่ ผสานกับการเป็นฝ่ายรุกของทางการปกครองท้องถิ่นในทุกระดับเพื่อมีส่วนร่วมสร้างความแข็งแกร่งในด้านเศรษฐกิจทางทะเลและความร่ำรวยจากทะเล.

Komentar