เวียดนามเข้าร่วมฟอรั่มสตรี สันติภาพและการพัฒนา |
การจัดทำและปรับปรุงกรอบกฎหมาย นโยบายเกี่ยวกับความเสมอทางเพศและสอดแทรกประเด็นความเสมอภาคทางเพศในโครงการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมคือสิ่งที่พรรคและรัฐเวียดนามเน้นปฏิบัติเพื่ออำนวยความสะดวกให้สตรีสามารถเข้าถึงและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆของชีวิตสังคมได้อย่างหลากหลาย
ผลงานที่สำคัญเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ
จุดเด่นในการปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศในเวียดนามคือการปรับปรุงกรอบกฎหมายและนโยบายเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศ โดยได้จัดทำและประกาศใช้เอกสารกฎหมายเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศและการไม่เลือกปฏิบัติตามกฎหมายความเสมอภาคทางเพศปี 2006 และอนุสัญญายุติการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ รวมทั้งประกาศใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศระยะปี 2011-2020 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความรู้ ลดช่องว่างทางเพศ ยกระดับสถานะของสตรี ปฏิบัติความคิดริเริ่มในภูมิภาคและโลกเพื่อผลักดันการปกป้องสิทธิของสตรีและการต่อต้านการเลือกปฏิบัติต่อสตรี เวียดนามได้เสร็จสิ้นเป้าหมายความเสมอภาคทางเพศและยกระดับสถานะของสตรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 3 เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษก่อนกำหนดในปี 2015 ซึ่งทำให้เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่ลดช่องว่างทางเพศได้อย่างรวดเร็วในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
ในทางเป็นจริง เวียดนามมีประชากรร้อยละ 50 เป็นสตรีและมีแรงงานสตรีคิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของแรงงานทั้งหมด ซึ่งกำลังเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในชุมชนมากขึ้น โดยอัตราผู้แทนสภาแห่งชาติสมัยที่ 14 วาระปี 2016 – 2021 ที่เป็นสตรีอยู่ที่ร้อยละ 26.8 ทำให้เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราผู้แทนสภาแห่งชาติที่เป็นสตรีมากเป็นอันดับต้นๆของโลก นอกจากนั้นยังมีสตรีอีกจำนวนหนึ่งที่ดำรงตำแหน่งสำคัญๆทั้งในระดับส่วนกลางและท้องถิ่น เช่น สมาชิกกรมการเมืองพรรค ประธานสภาแห่งชาติ รองประธานสภาแห่งชาติ รองประธานประเทศ รัฐมนตรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง หัวหน้าสำนักงานและหน่วยงานต่างๆ ซึ่งมีส่วนร่วมแก้ไขปัญหาที่สำคัญๆ ส่วนจำนวนนักธุรกิจที่เป็นสตรีชนกลุ่มน้อยก็เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในด้านการศึกษา สาธารณสุขและการดูแลสุขภาพให้แก่ประชาชน บทบาทของสตรีชนกลุ่มน้อยก็นับวันได้รับการส่งเสริม ปัจจุบัน อัตราสตรีที่รู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 92 เด็กหญิงที่อยู่อาศัยในเขตทุรกันดาร เขตชนกลุ่มน้อยร้อยละ 80 ได้ไปโรงเรียนตามเกณฑ์อายุ อัตรานักศึกษาหญิงอยู่ที่กว่าร้อยละ 50 ส่วนอัตราสตรีที่จบปริญญาโทและปริญญาเอกอยู่ที่กว่าร้อยละ 30 และร้อยละ 17 ตามลำดับ ทั้งนี้แสดงให้เห็นว่า ช่องว่างทางเพศใน 8 ด้านของชีวิตทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมที่ถูกระบุในกฎหมายความเสมอภาคทางเพศปี 2006 ของเวียดนามได้ลดลงอย่างน่ายินดี นอกจากนี้ เวียดนามได้บรรลุเป้าหมายต่างๆในยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศระยะปี 2011 - 2020 โดยเฉพาะเป้าหมายด้านเศรษฐกิจ แรงงานและงานทำ
อัตราสตรีที่รู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 92 |
ปฏิบัติความเสมอทางเพศและมอบสิทธิต่อสตรีต่อไป
ถึงแม้ได้บรรลุผลงานต่างๆ แต่การปฏิบัติความเสมอภาคทางเพศในเวียดนามยังคงต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายต่างๆเนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก การพัฒนาการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 ภัยธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากร ซึ่งทำให้เวียดนามต้องจัดทำนโยบายและมีปฏิบัติการที่เป็นรูปธรรมเพื่อส่งเสริมผลงานที่ได้บรรลุและแก้ไขปัญหาทางเพศใหม่ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเวียดนามกำลังจัดทำและยื่นเสนอให้นายกรัฐมนตรีประกาศใช้ยุทธศาสตร์แห่งชาติเกี่ยวกับความเสมอภาคทางเพศระยะปี 2021 - 2030 ที่สอดคล้องกับกฎหมายความเสมอภาคทางเพศและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติและเวียดนาม อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบหรือCEDAW และคำมั่นระหว่างประเทศต่างๆ เวียดนามยังสอดแทรกประเด็นความเสมอภาคทางเพศและสิทธิของสตรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 17 เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนในโครงการเป้าหมายพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อเป็นพื้นฐานให้แก่การพัฒนาประเทศเวียดนามที่มีสันติภาพ เจริญรุ่งเรือง พัฒนาในทุกด้านและยั่งยืน สิ่งที่น่าสนใจคือในปี 2019 เวียดนามได้อนุมัติประมวลกฎหมายแรงงานที่ให้สิทธิพิเศษ 11 ข้อแก่แรงงานสตรี ซึ่งช่วยเพิ่มกลไกและนโยบายที่ส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศในเวียดนามให้สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ ปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าถึงการปกป้องแรงงานสตรีในปัจจุบันเป็นการเข้าถึงการส่งเสริมความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งช่วยให้เวียดนามอยู่แถวหน้าในภูมิภาคในด้านการให้ความเคารพสิทธิขั้นพื้นฐานของแรงงานสตรีที่สอดคล้องกับอนุสัญญาระหว่างประเทศและข้อตกลงการค้าเสรีฉบับใหม่ที่เวียดนามเป็นสมาชิก
นอกจากการปรับปรุงนโยบายและกฎหมาย เวียดนามยังส่งเสริมการให้การศึกษาเพื่อยกระดับความรู้และจิตสำนึกให้แก่ผู้บริหารหน่วยงานทุกระดับ ครอบครัวและประชาชนทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสตรีเกี่ยวกับสิทธิของสตรี ขยายความร่วมมือระหว่างประเทศและแสวงหาแหล่งพลังต่างๆเพื่อค้ำประกันความเสมอภาคทางเพศและการมอบสิทธิต่อสตรี
การส่งเสริมและพัฒนาสตรีในทุกด้านคือหนึ่งในเป้าหมายของการปฏิวัติเวียดนาม โดยเวียดนามได้มีแนวทาง นโยบายและประสบผลงานต่างๆในการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้สตรีได้พัฒนา ซึ่งประชาคมโลกได้รับการรับทราบและชื่นชมในหลายปีที่ผ่านมา และในเวลาข้างหน้า เวียดนามจะสานต่อผลสำเร็จดังกล่าวและพยายามบรรลุผลงานที่ยิ่งใหญ่ในด้านนี้มากขึ้น.