ผลักดันความความร่วมมือพหุภาคีและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี

Hong Van - VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -เช้าวันที่ 27 มิถุนายน  นาย เหงวียนซวนฟุก นายกรัฐมนตรีเวียดนามพร้อมภริยาและคณะผู้แทนระดับสูงของเวียดนามได้เดินทางออกจากกรุงฮานอยไปเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลกหรือจี 20 และเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในระหว่างวันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคมตามคำเชิญของนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะ การเข้าร่วมการประชุมสุดยอดจี 20 เป็นการยืนยันถึงแนวทางการเป็นฝ่ายรุกในการผสมผสานเข้ากับกระแสโลกของเวียดนาม แสดงให้เห็นถึงการรับรองของประชาคมระหว่างประเทศต่อชื่อเสียงและสถานะของเวียดนามในการรักษาสันติภาพ ความมั่นคงและการพัฒนาในภูมิภาค

ผลักดันความความร่วมมือพหุภาคีและเสริมสร้างความสัมพันธ์ทวิภาคี - ảnh 1 นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกและภริยา (Photo: chinhphu.vn)

นี่ไม่ใช่เป็นครั้งแรกที่เวียดนามได้รับเชิญให้เข้าร่วมกิจกรรมที่สำคัญที่สุดของกลุ่มเศรษฐกิจที่พัฒนาและเพิ่งเกิดใหม่ชั้นนำของโลก โดยเมื่อปี 2010 เวียดนามได้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดจี 20 เป็นครั้งแรกในฐานะเป็นประธานหมุนเวียนอาเซียน  ส่วนในฐานะเป็นเจ้าภาพจัดปีเอเปก 2017 เวียดนามก็ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมสุดยอดจี 20 และกิจกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องในปีที่เยอรมนีเป็นประธานและในการประชุมสุดยอดจี 20 ครั้งนี้ เวียดนามเป็น 1 ใน 8 แขกรับเชิญพิเศษของประเทศเจ้าภาพญี่ปุ่น

การเป็นฝ่ายรุกในการมีส่วนร่วมเพื่อความร่วมมือพหุภาคี

  คาดว่า ในกรอบการประชุมสุดยอดจี 20 ครั้งนี้ จะมีการจัดการประชุมหารือ 4 นัดเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก การค้า การลงทุน การพัฒนานวัตกรรมและเศรษฐกิจดิจิตอล การพัฒนาอย่างยั่งยืน ปัญหางานทำ สตรี สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม พลังงานและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

ในฐานะเป็นแขกรับเชิญ เวียดนามจะเข้าร่วมการประชุมและการหารือต่างๆและแสดงความคิดเห็นต่อร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุม คาดว่า นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุก จะมีบทปราศรัยในการประชุมครบองค์ของกลุ่มจี 20 โดยจะแลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ ความคิดริเริ่มด้านความร่วมมือและความพยายามของเวียดนามในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจโลกเพื่อโลกที่สันติภาพ ความเจริญรุ่งเรืองและไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

นาย หวูห่งนาม เอกอัครราชทูตเวียดนามประจำญี่ปุ่นได้เผยว่า 3 ปัญหาหลักที่นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ชินโซ อาเบะให้ความสำคัญและจะได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมครั้งนี้คือ การปฏิรูปองค์การการค้าโลกหรือ WTO เศรษฐกิจดิจิตอลและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ สิ่งแวดล้อมทางทะเล ทั้งสามหัวข้อนี้ล้วนเกี่ยวข้องถึงผลประโยชน์ของเวียดนาม ซึ่งปัจจุบัน เวียดนามกำลังผลักดันแก้ไข 3 ปัญหาดังกล่าว เอกอัครราชทูต หวูห่งนาม ได้เผยว่า “สำหรับปัญหาการค้าเสรี เวียดนามเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าเป็นสมาชิก WTO ช้ากว่าหลายๆประเทศแต่เวียดนามได้เข้าร่วมอย่างแข็งขัน สองคือ นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกเป็นผู้ริเริ่มในการพัฒนาเศรษฐกิจ 4.0 แน่นอนว่า ในการประชุมครั้งนี้ นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกจะหารือเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจดิจิตอล   สามคือ เวียดนามเป็นประเทศริมฝั่งทะเล ดังนั้น ปัญหาขยะในทะเลก็คุกคามต่อเศรษฐกิจทางทะเลของเวียดนาม  นี่ล้วนเป็นปัญหาหลักของเวียดนามและผมเห็นว่า บทปราศรัยของนายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกจะกล่าวถึงหัวข้อเหล่านี้”

เสริมสร้างความร่วมมือทวิภาคี

  ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 ณ เมืองโอซากา นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกก็จะเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ ซึ่งการเยือนนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศกำลังพัฒนาอย่างรวดเร็ว ทั้งสองประเทศได้ฉลองครบรอบ 45 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อปี 2018และกำลังมีกลไกความร่วมมือที่สำคัญ เช่น คณะกรรมการความร่วมมือเวียดนาม-ญี่ปุ่น การสนทนาหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เวียดนาม-ญี่ปุ่นเกี่ยวกับการทูต ความมั่นคงและกลาโหม การสนทนาเกี่ยวกับนโยบายด้านกลาโหมเวียดนาม-ญี่ปุ่น คณะกรรมการผสมเกี่ยวกับการค้า พลังงานและอุตสาหกรรมและการสนทนาด้านการเกษตร เป็นต้น

สำหรับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศใน 5 เดือนแรกของปี 2019 อยู่ที่กว่า 1 หมื่น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2018 จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2019 ญี่ปุ่นมีโครงการลงทุนเอฟดีไอกว่า 4พันโครงการในเวียดนาม  รวมยอดเงินลงทุนจดทะเบียนอยู่ที่เกือบ 5 หมื่น 8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ อยู่อันดับ 2 ในจำนวน 116 ประเทศและดินแดนที่ลงทุนในเวียดนามมากที่สุด นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังร่วมมือกันในหลายด้าน เช่น การเกษตร การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความร่วมมือด้านแรงงาน การศึกษาและการท่องเที่ยว เป็นต้น นี่เป็นเงื่อนไขที่สำคัญเพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศในเวลาที่จะถึง เอกอัครราชทูต หวูห่งนามได้เผยว่า “ผมเห็นว่า ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่นจะพัฒนาอย่างรวดเร็วและเข้มแข็งมากขึ้นใน 2 มิติ หนึ่งคือ  ด้านการเมือง ญี่ปุ่นถือเวียดนามเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของกลุ่มจี 20 และมีส่วนร่วมต่อเวทีการเมืองและเศรษฐกิจโลก สองคือ ข้อตกลงหุ้นส่วนในทุกด้านและก้าวหน้าภาคพื้นแปซิฟิกหรือ CPTPP จะสร้างพื้นฐานที่มั่นคงให้แก่การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ ในเวลาที่จะถึง บรรดาสถานประกอบการเวียดนามจะปฏิบัติตามเงื่อนไขต่างๆของข้อตกลง CPTPPและเข้าร่วมมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างสองประเทศมากขึ้น”

การเข้าร่วมการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 20 และการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุก จะเป็นการยืนยันถึงแนวทางการต่างประเทศซึ่งที่ประชุมสมัชชาใหญ่พรรคสมัยที่ 12 ได้กำหนดไว้ การเป็นฝ่ายรุกในการเข้าร่วมและการส่งเสริมบทบาทในกลไกพหุภาคี ส่วนร่วมอย่างแข็งขันของเวียดนามในการแก้ไขปัญหาของโลก ส่วนการเยือนครั้งนี้จะมีส่วนร่วมผลักดันความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อย่างกว้างลึกระหว่างเวียดนามกับญี่ปุ่น.

Komentar