ประเทศอิยิปต์ 1ปีให้หลังจากวสันต์ฤดูอาหรับ

Chia sẻ
(VOVworld)- วันที่11กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวอิยิปต์ได้รำลึกครบรอบ1ปีวันโค่นล้มประธานาธิบดี ฮอสนีมูบารัก ด้วยการจัดยุทธนาการณ์ที่เรียกร้องให้สภากองกำลังติดอาวุธสูงสุดอียิปต์ทำการถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือน ถึงแม้เวลาได้ผ่านไปแล้ว1ปีแต่ความเปลี่ยนแปลงในด้านประชาธิปไตยยังคงไม่ได้ รับการปฏิบัติอย่างเด็ดขาดจนทำให้กระบวนการวสันต์แห่งอียิปต์ยังไม่ประสบ ความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

(VOVworld)- วันที่11กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ชาวอิยิปต์ได้รำลึกครบรอบ1ปีวันโค่นล้มประธานาธิบดี ฮอสนีมูบารัก ด้วยการจัดยุทธนาการณ์ที่เรียกร้องให้สภากองกำลังติดอาวุธสุงสุดอียิปต์ทำการถ่ายโอนอำนาจให้แก่รัฐบาลพลเรือน ถึงแม้เวลาได้ผ่านไปแล้ว1ปีแต่ความเปลี่ยนแปลงในด้านประชาธิปไตยยังคงไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างเด็ดขาดจนทำให้กระบวนการวสันต์แห่งอียิปต์ยังไม่ประสบความสำเร็จอย่างสมบูรณ์

ประเทศอิยิปต์ 1ปีให้หลังจากวสันต์ฤดูอาหรับ - ảnh 1
เหตุความรุนแรงที่สนามกีฬาในกรุงไคโร (Photo-Internet)

     เมื่อวันที่11กุมภาพันธ์ปี2011 ภายหลังเกิดเหตุการณ์เดินขบวนประท้วงที่มีขึ้นอย่างร้อนแรงในทั่วประเทศเพียง18วัน ประธานาธิบดีฮอสนี มูบารักก็ต้องลาออกจากตำแหน่งและลงจากอำนาจการปกครองประเทศที่ยาวนานกว่า30ปี จากนั้นสภากองกำลังติดอาวุธสุงสุดอียิปต์ก็ได้ขึ้นมาเป็นฝ่ายบริหารประเทศแต่เรื่องที่ไม่สำเร็จของการปฏิบัติขบวนการวสันต์แห่งอาหรับคือยุคเก่าได้ผ่านไปแล้วแต่ยุคใหม่ยังไม่สามารถเริ่มต้นได้อย่างจริงจัง  โดยถึงแม้จะมีการเลือกตั้งรัฐสภาแล้วแต่ก็ไม่สามารถสร้างความพอใจให้กับวงการการเมืองในอียิปต์ได้ ส่วนการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนมิถุนายนนี้และการที่สื่อต่างๆได้รับอนุญาตในการเคลื่อนไหวอย่างเสรีมากขึ้นแต่สภากองกำลังติดอาวุธสุงสุดอียิปต์ซึ่งรวมนายพล20คนภายใต้การนำของนายพลโมฮัมเหม็ด ฮุสเซน ทันทาวียังคงเป็นฝ่ายควบคุมรัฐบาลซึ่งได้ทำให้ประชามติสงสัยว่าฝ่ายทหารอยากมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศหลังการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยการจัดหาผู้ที่ลงสมัครรับเลือกตั้งที่จะเอื้อให้แก่แผนการดังกล่าว ในขณะเดียวกันสถานการณ์ภายในของอียิปต์ก็ไม่มีความเปลี่ยนแปลงมากนักเพราะแม้ว่าอดีตประธานาธิบดีมูบารักจะถูกดำเนินคดีในข้อหาปราบปรามผู้เดินขบวนประท้วงนั้น ขณะนี้ตำรวจอียิปต์ก็ยังใช้ความรุนแรงเพื่อสลายกลุ่มผู้ชุมนุมต่อไป และในการเลือกตั้งรัฐสภา ฝ่ายมุสลิมได้รับชนะอย่างท่วมท้นในขณะที่กองกำลังแกนนำของขบวนการลุกขึ้นต่อต้านเผด็จการเช่นนักศึกษา เยาวชนหรือกองกำลังฝ่ายขวาถือว่าเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ในเกมส์การเมืองหลังยุคของประธานาธิบดีมูบารัก ดังนั้นความปลิ้มปิติยินดีในเบื้องต้นเกี่ยวกับความสำเร็จของการลุกขึ้นเมื่อหนึ่งปีก่อนก็เปลี่ยนมาเป็นความเบื่อหน่ายเมื่อรัฐบาลพลเรือนยังไม่ก่อตัวขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและการใช้ความรุนแรงนับวันทวียิ่งขึ้น ซึ่งกระแสความผิดหวังดังกล่าวก็เสมือนไฟที่อาจจะลุกลามไปใหญ่และผลที่ตามมาเป็นตัวอย่างก็คือเหตุความรุนแรง ณ สนามกีฬาเมื่อวันที่1กุมภาพันธ์ที่ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต74คนและกว่า1พันคนได้รับบาดเจ็บ รวมไปถึงการปะทะระหว่างตำรวจและผู้ชุมนุมก็ยืดเยื้อในหลายท้องถิ่นและพวกเขาก็เป็นแฟนฟุตบอลของสโมสรฟุตบอลต่างๆในกรุงไคโรซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการเดินขบวนประท้วงเพื่อโค่นล้มประธานาธิบดีมูบารัก  แต่สภากองกำลังติดอาวุธสูงสุดอียิปต์กลับแสดงความเห็นว่า สถานการณ์ในอียิปต์นั้นเป็นผลจากการปฏิบัติเพทุบายที่มุ่งบ่อนทำลายประเทศของอิทธิพลทั้งภายในและต่างประเทศ  แต่สื่อต่างๆของอียิปต์รวมทั้งประชามติกลับไม่มีความเห็นเช่นนี้ โดยหนังสือพิมพ์ Al-Shorouq ได้ลงความเห็นของนักวิเคราะห์ วาเอล กวาดี ที่พูดถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่1เดือนนี้ว่า มิใช่เป็นการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีม Al-Masryและ Al-Ahly หากเป็นการแข่งขันทางการเมืองเพื่อต่อต้านการปฏิวัติ ส่วนหนังสือพิมพ์ Al-Tahrir ได้ลงบทวิเคราะห์ของนาย อิบนาฮิม มาเซอร์ ที่ย้ำว่าประชาชนอียิปต์เรียกร้องให้สภากองกำลังติดอาวุธสุงสุดอียิปต์ต้องลาออกเพราะไม่สามารถรักษาความมั่นคงภายในประเทศได้ นอกจากนั้นมีนักวิเคราะห์ทางการเมืองหลายคนยังกล่าวหาว่าผู้นำทางทหารในปัจจุบันจงใจก่อเหตุวุ่นวายเพื่อที่จะได้เป็นฝ่ายบริหารประเทศต่อไป ซึ่งสถานการณ์ที่ไร้เสถียรภาพทางการเมืองในอียิปต์อาจจะนำไปสู่ภาวะถดถอยใหม่ดังนั้นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ S&Pประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของอียิปต์ลง1ขั้น

            ชาวอียิปต์ได้รำลึก1ปีวันโค่นล้มประธานาธิบดีมูบารักด้วยการเดินขบวนของกรรมกรและนักศึกษาเนื่องจากผิดหวังต่อสถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่เป็นไปตามความปรารถนา และพวกเขาก็ได้ตั้งคำถามว่า อนาคตของประเทศจะเป็นอย่างไร กองทัพจะถอนตัวออกจากเวทีการเมืองหรือไม่ และฝ่ายมุสลิมที่ชนะในการเลือกตั้งรัฐสภาจะปฏิบัตินโยบายอย่างไรแล้วจะยอมรับกฎกติกาของประชาธิปไตยหรือไม่ถ้าหากได้ขึ้นบริหารประเทศ  ดังนั้น วสันต์แห่งอาหรับจึงถือเป็นแผนการที่ยังทำไม่สำเร็จ./.

Doan Trung-VOV5

Komentar