ประธานาธิบดี โจ ไบเดน (Dallas Morning News) |
ก่อนหน้านั้น จากการปฏิบัติแนวทาง "อเมริกากลับมาแล้ว" ประธานาธิบดี โจ ไบเดนได้ให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนเงินให้แก่โครงการแจกจ่ายวัคซีนขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO กลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ เสนอวงเงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะมีผลต่อทั้งเศรษฐกิจของสหรัฐและเศรษฐกิจโลก
การเปลี่ยนแปลงนโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐ
ประธานาธิบดีสหรัฐ โจ ไบเดน กำลังพิสูจน์ให้ประชาคมโลก โดยเฉพาะ พันธมิตรและหุ้นส่วนต่างๆเห็นว่า คำมั่นของตนในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งและนับตั้งแต่ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 20 มกราคมที่ผ่านมาได้รับการปฏิบัติจริง ไม่ใช่คำสัญญาลอยๆ หลักฐานที่เป็นรูปธรรมคือทางการของประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้นำสหรัฐกลับเข้าร่วมข้อตกลงปารีสเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างเป็นทางการ ขยายอายุของสนธิสัญญาลดอาวุธทางยุทธศาสตร์ฉบับใหม่หรือ New START กับรัสเซียเพิ่มอีก 5 ปี กลับเข้าร่วมสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในฐานะผู้สังเกตการณ์ เข้าร่วมและสนับสนุนเงินให้แก่องค์การอนามัยโลกอีกครั้ง พร้อมเจรจากับอิหร่านและสมาชิกที่เหลือของกลุ่มพี5+1 เพื่อกลับเข้าร่วมข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่าน JCPOA ยุติการสนับสนุนให้แก่กองทัพซาอุดิอาระเบียและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในการทำสงครามกับกลุ่มฮูธิในเยเมน
ที่น่าสนใจคือ นาย โจ ไบเดนได้แต่งตั้งอดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ จอห์น แคร์รี เป็นทูตพิเศษของประธานาธิบดีในด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่และเทียบเท่ากับตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี รัฐบาลชุดใหม่ของสหรัฐยังให้คำมั่นว่า จะสนับสนุนเงินจำนวน 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการ COVAX เพื่อจัดสรรวัคซีนป้องกันโควิด -19 ให้แก่ประเทศที่มีรายได้ปานกลางและยากจน
ในการกล่าวปราศรัยในการประชุมสุดยอดกลุ่มจี 7 และการประชุมด้านความมั่นคงมิวนิกผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้ระบุถึงคำมั่นของสหรัฐเกี่ยวกับการสนับสนุนพันธมิตรข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกว่า เป็นสิ่งที่ “ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้” และแสดงความเห็นว่า สหรัฐต้องพยายามเพื่อได้รับความไว้วางใจจากพันธมิตรถ้าหากต้องการเป็นผู้นำต่อไป และระบุถึงขั้นตอนที่เป็นรูปธรรมที่สหรัฐกำลังปฏิบัติเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในด้านความสัมพันธ์หลายๆอย่างกับหุ้นส่วนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก
ก่อนหน้านั้น ในการกล่าวปราศรัยอย่างเป็นทางการครั้งแรกของประธานาธิบดี โจ ไบเดน เกี่ยวกับนโยบายด้านการต่างประเทศในโอกาสเดินทางไปเยือนและแลกเปลี่ยนข้าราชการที่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ นาย โจ ไบเดน ได้ยืนยันว่า สหรัฐจะร่วมมือกับพันธมิตรและหุ้นส่วนอื่น ๆ อีกทั้งเปลี่ยนแปลงใหม่บทบาทของวอชิงตันในสถาบันระหว่างประเทศ คืนศักดิ์ศรีและอำนาจทางศีลธรรมของตน โดยเนื้อหาที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆในนโยบายด้านการต่างประเทศของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน คือการ "เยียวยา" ความสัมพันธ์กับพันธมิตรที่ได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรงภายใต้การนำของรัฐบาลชุดก่อน ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ยืนยันว่า ความสัมพันธ์พันธมิตรเป็นหนึ่งในสิ่งที่มีค่าที่สุดของอเมริกา และให้คำมั่นว่า วอชิงตันจะอยู่เคียงบ่าเคียงไหล่กับประเทศพันธมิตรและหุ้นส่วนต่างๆเพื่อร่วมกันแก้ไขความท้าทายร่วมของมนุษยชาติ
การจัดส่งวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ผ่านกลไก COVAX ให้แก่อัฟกานิสถานเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ (AP/KEYSTONE) |
สัญญาณที่น่ายินดี
ทุกขั้นตอนเบื้องต้นที่ทันท่วงทีของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน ได้รับการถือว่า จะส่งผลในเชิงบวกต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ อีกทั้งส่งเสริมให้ประเทศต่างๆเข้าร่วมความพยายามเพื่อแก้ไขความท้าทายทั้งในระดับภูมิภาคและโลก ขั้นตอนเหล่านั้นยังเป็นหลักฐานที่ชัดเจนของนโยบายด้านการต่างประเทศ "อเมริกากลับมาแล้ว" ของประธานาธิบดี โจ ไบเดน
นาย บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีอังกฤษและประธานกลุ่มจี 7 ปี 2021 ได้ยกย่องประธานาธิบดี โจ ไบเดน ว่า กำลังนำประเทศสหรัฐกลับสู่ความเป็นผู้นำโลก และแสดงความเห็นว่า ประเทศสหรัฐได้กลับมาเป็นผู้นำโลกได้อย่างน่าประหลาดใจและนั่นเป็นสิ่งที่ยอดเยี่ยม ส่วนนาง อังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีได้ประเมินว่า คำมั่นที่ประธานาธิบดี โจ ไบเดน ให้ไว้ในการประชุมสุดยอดกลุ่มจี7 และการประชุมความมั่นคงมิวนิกเป็นข้อความที่ชัดเจนว่า ลัทธิพหุภาคีได้รับการเสริมสร้างและจะเปิดโอกาสแห่งความร่วมมือมากขึ้นในกลุ่มจี7 ก่อนหน้านี้ นาย อันโตนิโอ กูเตอร์เรส เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติได้ชื่นชมการตัดสินใจของสหรัฐที่จะกลับเข้าร่วมสภาสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติในฐานะผู้สังเกตการณ์หลังจากถอนตัวออกจากองค์การนี้มาเป็นเวลา 3 ปี
ประเทศสหรัฐภายใต้สมัยของประธานาธิบดี โจ ไบเดน กำลังกลับคืนสู่ความเป็นผู้นำและเพิ่มอิทธิพลในแก้ไขความท้าทายระดับโลก ถึงแม้ท่าทีต่างๆเหล่านี้ยังแฝงไว้ซึ่งเป้าหมายทางการเมือง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ก้าวเดินของทางการประธานาธิบดี โจ ไบเดน เป็นสัญญาณในเชิงบวกซึ่งได้รับการสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ.