ปฏิบัติมาตรการผลักดันการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างคล่องตัว |
ประเด็นต่างๆที่ได้รับการหยิบยกขึ้นมาหารือในการประชุมได้แสดงให้เห็นว่า สภาแห่งชาติเดินพร้อมกับรัฐบาลในการแสวงหามาตรการอย่างมีประสิทธิภาพและทันการณ์เพื่อช่วยแก้ไขอุปสรรคให้แก่ชมรมสถานประกอบการและความท้าทายในปัจจุบันและในปีต่อๆไป
ปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ แก้ไขการชะงักของห่วงโซ่การผลิต
การแพร่ระบาดของโรคโควิด –19 ได้ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อห่วงโซ่การผลิตและอาจยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี เพื่อแก้ไขปัญหานี้ บรรดาผู้แทนสภาแห่งชาติได้เห็นว่า นอกจากการดึงดูดแหล่งเงินลงทุนจากต่างประเทศและพัฒนาเศรษฐกิจภาคเอกชน ก็ต้องนึงถึงบทบาทหลักของเศรษฐกิจภาครัฐตามข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะ สถานประกอบการภาครัฐตามแนวทางลงทุนในด้านที่เศรษฐกิจภาคอื่นๆไม่สามารถลงทุนได้เนื่องจากไม่เกิดประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจหรือไม่คุ้มกับการเงินลงทุน เพื่อปฏิบัติเรื่องนี้ นาย หว่างกวางห่าม ผู้แทนสภาแห่งชาติได้เห็นว่า
“ ต้องประเมินสถานประกอบการภาครัฐจาก 2 มุมมอง หนึ่งคือ เพราะมีการขยายการลงทุนในด้านที่เศรษฐกิจภาคอื่นๆไม่ลงทุนเนื่องจากไม่คุ้มต่อการลงทุน ไม่เน้นถึงผลกำไร สองคือในการแปรสถานประกอบการภาครัฐให้เป็นบริษัทหุ้นส่วนและการถอนเงินลงทุนภาครัฐ ต้องถือการปรับปรุงรายชื่อด้านการลงทุน นอกจากการจัดเก็บรายได้เข้างบประมาณแผ่นดินแล้ว ต้องใช้เงินสำหรับการลงทุน ขยายสถานประกอบการภาครัฐ รวมทั้ง การจัดตั้งใหม่เพื่อประกอบธุรกิจในด้านที่เศรษฐกิจภาคอื่นๆไม่ลงทุน นี่คือปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขในการปรับปรุงโครงสร้างเศรษฐกิจ ฟื้นฟูห่วงโซ่การผลิตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนและยาวนาน”
ในช่วงต้นปี 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 รัฐบาลได้ประกาศนโยบายช่วยเหลือสถานประกอบการ ธุรกิจครัวเรือนและแรงงาน แต่อย่างไรก็ดี เพื่อผลักดันการปฏิบัตินโยบายนี้ ต้องเน้นแก้ไขอุปสรรคให้แก่สถานประกอบการเพราะสถานประกอบการเป็นปัจจัยหลักของเศรษฐกิจ นาย เหงวียนญือซอ ผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดบั๊กนิงได้เห็นว่า
“เพื่อผลักดันนโยบายด้านการเงินและงบประมาณ ต้องให้ความสนใจต่อนโยบายด้านการเงินเพื่อให้สถานประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุน ต้องมีวงเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและขยายเวลาการชำระเงินกู้ ผลักดันการปรับปรุงระเบียบราชการการ โดยเฉพาะ ในการประกอบธุรกิจเพื่อประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้แก่สถานประกอบการ มีนโยบายเฉพาะเพื่อดึงดูดสถานประกอบการเข้าร่วมการแปรรูปผลิตภัณฑ์การเกษตร”
เพิ่มทักษะความสามารถในการผลิตของประเทศ
เศรษฐกิจดิจิทัลเป็นความได้เปรียบในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคม ซึ่งถือเป็นมาตรการที่สำคัญเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด -19 นอกจากการเสร็จสิ้นการจัดทำกลไก รวมทั้งกลไกการบริหารที่สอดคล้องกับบรรยากาศการประกอบธุรกิจดิจิทัลและสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงใหม่นวัตกรรม เวียดนามต้องมีนโยบายและข้อกำหนดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล นาง เลทูห่า ผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดลาวกายได้เผยว่า
“เวียดนามต้องเป็นฝ่ายรุกในการเข้าร่วมกรอบทางนิตินัยในภูมิภาคและโลกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนา ให้ความช่วยเหลือสถานประกอบการในการถ่ายทอดและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใหม่ เน้นถึงนโยบายเกี่ยวกับการชำระเงินที่ปลอดภัย การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นอย่างพร้อมเพรียง เช่น การพัฒนาระบบอินเตอร์เน็ตที่เน้นสนับสนุนหน่วยงานเทคโนโลยีสารสนเทศ อิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม ความมั่นคงและความปลอดภัยทางอินเตอร์เน็ต อุตสาหกรรมการผลิตอัจฉริยะ การเงิน ธนาคาร การค้าอิเล็กทรอนิกส์ การท่องเที่ยวดิจิทัลและอุตสาหกรรมดิจิทัล”
เพื่อสร้างความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์และสร้างก้าวกระโดดเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ไม่ปล่อยให้ใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง นาย เหงวียนหงอกเฟือง ผู้แทนสภาแห่งชาติจังหวัดกว๋างบิ่งได้เสนอว่า
“รัฐบาล กระทรวงและหน่วยงานต่างๆต้องให้ความสนใจต่อการกำหนดแนวทางการดึงดูดการลงทุนให้แก่จังหวัดที่ยังคงประสบอุปสรรค เอื้อให้แก่จังหวัดต่างๆพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคม ยกระดับคุณภาพและประสิทธิภาพความร่วมมือด้านการลงทุนจากต่างประเทศจนถึงปี 2030 กำหนดหน่วยงานและด้านที่ได้รับความสนใจเป็นอันดับต้นๆเพื่อดึงดูดการลงทุน”
เวียดนามได้รับการชื่นชมจากประชาคมโลกในการรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ซึ่งสิ่งนี้มาจากความสามัคคีและความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์จากประชาชนทุกระดับ ซึ่งเวียดนามต้องส่งเสริมความตั้งใจในการฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยเร็ว.