นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เทเรซา เมย์ (Photo Daily Mail)
|
ตามกำหนดการ นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ จะเสนอข้อตกลง Brexit ฉบับแก้ไขให้ส.ส.รัฐสภาอังกฤษพิจารณาอนุมัติเป็นครั้งที่ 2 ก่อนหน้านี้ เมื่อเดือนมกราคม ข้อตกลง Brexit ไม่ได้รับการอนุมัติเนื่องจากได้รับเสียงคัดค้านสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ของอังกฤษ ซึ่งสาเหตุมาจากมาตรการ “แผนกั้นหลัง” หรือ “แบ็กสต็อป” ที่รัฐบาลอังกฤษและสหภาพยุโรปหรืออียูเห็นพ้องเพื่อไม่ให้กลับมาใช้การกำหนดพรมแดนแบบเข้มงวดหรือ Hard border ซึ่งหมายถึงการตั้งด่านตรวจคนเข้าเมืองและศุลกากรระหว่างไอร์แลนด์เหนือที่เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักรและประเทศไอร์แลนด์ ซึ่งอยู่ในอียู ส.ส.อังกฤษแสดงความประสงค์ว่า จะมีการปรับปรุงข้อตกลงฉบับแก้ไขเพื่อค้ำประกันว่า มาตรการดังกล่าวต้องมีวันสิ้นสุดอย่างแน่นอนแต่ก็เป็นการยากที่อียูจะเห็นพ้องต่อแนวทางดังกล่าว
อุปสรรคต่างๆจนถึงนาทีสุดท้าย
ก่อนวันลงคะแนน สมาชิกรัฐสภาอังกฤษที่ตั้งข้อสงสัยต่อยุโรปได้เตือนว่า จะลงคะแนนคัดค้านข้อตกลง Brexit โดยสมาชิกพรรคแรงงานของอังกฤษย้ำว่า นายกรัฐมนตรี เทเรซา เมย์ ต้องแสวงหามาตรการสร้างความเห็นพ้องในรัฐสภาเกี่ยวกับปัญหา Brexit มิฉะนั้น รัฐสภาจะเข้าไปแทรกแซงกระบวนการดังกล่าว และนาง เทเรซา เมย์ ก็ต้องรับมือกับแรงกดดันจากส.ส. พรรคอนุรักษ์นิยมที่ให้เธอลาออกจากตำแหน่งเพื่อแลกกับเสียงสนับสนุนของกลุ่มนี้ในการลงคะแนนสำคัญในวันที่ 12 มีนาคม
ในขณะเดียวกัน อังกฤษก็เตรียมความพร้อมให้แก่กรณีการออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีข้อตกลงใดๆ หนังสือพิมพ์ Financial Times ของอังกฤษรายงานว่า ธนาคารอังกฤษ BoE ได้เรียกร้องให้ธนาคารภายในประเทศบางแห่งเพิ่มทรัพย์สินที่มีสภาพคล่องสูงขึ้นเป็น 3 เท่าภายในเวลา 100 วันแทน 30 วันตามข้อกำหนดของสำนักงานตรวจสอบการเงินสังกัด BoE เพื่อสนับสนุนในกรณีที่อังกฤษถอนตัวจากอียูโดยไม่มีข้อตกลงฉบับใดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทวิภาคีหลัง Brexit ส่วนองค์การวิจัย New Financial ของอังกฤษรายงานว่า มีสถานประกอบการที่ประกอบธุรกิจด้านการเงินกว่า 270 แห่งได้ย้ายเงินทุนและทรัพย์สินประมาณ 1 ล้าน 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐพร้อมเจ้าหน้าที่พนักงานของตนจากอังกฤษไปยังประเทศสมาชิกอียูอื่นๆก่อน Brexit
ข้อตกลงสำคัญได้บรรลุในนาทีสุดท้าย
ในสภาวการณ์ที่ข้อตกลง Brexit ต้องเผชิญความยากลำบากต่างๆ นางเทเรซา เมย์ ได้พยายามหาทางออกผ่านวิธีการต่างๆโดยก่อนการลงคะแนน 1 วัน เธอได้โทรศัพท์คุยกับนาย ฌอง-โคลด ยุงเกอร์ประธานคณะกรรมการยุโรปโดยย้ำว่า การเจรจาเกี่ยวกับกระบวนการ Brexit ยังคงมีขึ้นต่อไป และเมื่อค่ำวันที่ 11 ที่ผ่านมา เธอได้เดินทางไปที่เมือง Strasbourg ประเทศฝรั่งเศสเพื่อพบปะโดยตรงกับนาย ฌอง-โคลด ยุงเกอร์และหัวหน้าคณะเจรจาเกี่ยวกับ Brexit ของอียู Michel Barnier ส่วนเมื่อวันที่ 8 และ 9 มีนาคม นาง เทเรซา เมย์ ได้เจรจาทางโทรศัพท์กับผู้นำอียูหลายท่านเพื่อพยายามแสวงหาการผ่อนปรนจากอียูเกี่ยวกับข้อตกลง Brexit จนได้รับการค้ำประกันจากอียูเกี่ยวกับ “การเปลี่ยนแปลงที่มีลักษณะทางนิตินัย” ให้แก่ข้อตกลง Brexit ก่อนการลงคะแนนในรัฐสภาอังกฤษไม่ถึง 24 ชั่วโมง โดยนายกรัฐมนตรีไอร์แลนด์ Leo Varadkar ลงนามเอกสารเพิ่มเติมให้แก่อังกฤษเพื่อแก้ไขปัญหาชายแดนระหว่างสาธารณรัฐไอร์แลนด์กับไอร์แลนด์เหนือที่ส.ส.อังกฤษกำลังกังวลและส.ส.อังกฤษจะพิจารณาข้อเสนอใหม่ๆก่อนที่จะลงคะแนนอนุมัติข้อตกลง Brexit เมื่อกล่าวถึงความคืบหน้านี้ นาย ฌอง-โคลด ยุงเกอร์ประธานคณะกรรมการยุโรป ได้ยืนยันว่า “ จะไม่มีโอกาสครั้งที่ 3 ในการพิจารณาเกี่ยวกับ Brexit ดังนั้นต้องร่วมกันช่วยให้อังกฤษถอนตัวจากอียูอย่างราบรื่น”
อาจกล่าวได้ว่า การลงคะแนนครั้งที่ 2 เกี่ยวกับข้อตกลง Brexit ในรัฐสภาอังกฤษในวันที่ 12 มีนาคมถือเป็นความท้าทายครั้งสุดท้ายที่นางเทเรซา เมย์ ต้องรับมือในสมัยที่เต็มไปด้วยความยากลำบากของตน แม้ได้ทำอย่างสุดความสามารถเพื่อบรรลุข้อตกลงที่เอื้อประโยชน์ให้แก่อังกฤษแต่สถานการณ์การเมืองในอังกฤษปัจจุบันก็ไม่สามารถยืนยันได้ว่า ความพยายามดังกล่าวของนางเทเรซา เมย์ ต่อ Brexit เพียงพอแล้วหรือไม่.