การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างหรือ MLC ครั้งที่ 7 ได้เสร็จสิ้นลง ณ เมืองพุกาม ประเทศเมียนมาร์ (Photo: Báo Thế giới và Việt Nam) |
ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างหรือMLC ได้รับการจัดตั้งเมื่อวันที่ 23 มีนาคมปี 2016 ในกว่า 10 กลไกความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง MLC มีความได้เปรียบและความหวังใหญ่ ซึ่งเป็นกลไกความร่วมมือที่มีการเข้าร่วมของ 6 ประเทศริมฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำล้านช้างคือเวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและจีน
ธำรงความร่วมมือ MLC อย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ
การประชุม MLC ครั้งที่ 7 ณ ประเทศเมียนมาร์เป็นการยืนยันส่วนร่วมที่แข็งขันของ MLCต่อความร่วมมือและการพัฒนาในภูมิภาค โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 มีความผันผวนซับซ้อน ที่ประชุมได้อนุมัติข่าวสารนิเทศและแถลงการณ์ร่วม 4 ฉบับเกี่ยวกับการผลักดันความร่วมมือด้านการเกษตร การป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ ศุลกากรและอำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้าและการพบปะสังสรรค์ระหว่างประเทศสมาชิก MLC
ในเวลาที่จะถึง ความร่วมมือ MLC จะเน้นถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น การฟื้นฟูและการพัฒนาเศรษฐกิจผ่านการผลักดันการเชื่อมโยง การค้า เศรษฐกิจดิจิทัล การผลิต ห่วงโซ่อุปทาน อำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้า การรับมือภัยธรรมชาติ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ การใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน เสริมสร้างความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะการเพิ่มขีดความสามารถในการควบคุม การป้องกันและรับมือโรคระบาด ทักษะความสามารถของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ผลักดันความร่วมมือด้านแพทย์แผนโบราณ การพบปะสังสรรค์ผ่านกิจกรรมทางวัฒนธรรม การท่องเที่ยว สื่อสาร การกีฬา การศึกษาและการพัฒนาแหล่งบุคลากร
ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ในภูมิภาคและโลกมีความผันผวนซับซ้อน ที่ประชุมได้ย้ำถึงหลักการร่วมมือที่มีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ มีความเสมอภาค การทาบทามระหว่างกัน การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การเคารพกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายสากล สอดคล้องกับข้อกำหนดและกฎหมายของแต่ละประเทศ บรรดารัฐมนตรี MLC ได้เห็นพ้องที่จะผลักดันความร่วมมือตามแนวทางการเสริมสร้างความสัมพันธ์ฉันท์เพื่อบ้านมิตรภาพ มีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ-สังคมของประเทศสมาชิก การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนและการปฏิบัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2030
ในหลายปีที่ผ่านมา อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงมีการเปลี่ยนแปลง ควบคู่กับการพัฒนาของประเทศสมาชิก อนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงกำลังต้องเผชิญกับความท้าทายใหญ่ด้านสิ่งแวดล้อม มาตรการด้านเศรษฐกิจและเทคนิคได้รับการเสนอ โครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆได้รับการปฏิบัติ บรรดาประเทศสมาชิกได้จัดตั้งศูนย์ความร่วมมือต่างๆ จัดฟอรั่มการสนทนาด้านนโยบาย โดยมีการเข้าร่วมของกระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆของประเทศสมาชิก
นับตั้งแต่การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 6 ในสภาวการณ์ที่การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้างบรรลุผลงานที่น่ายินดี โดยเฉพาะ การจัดฟอรั่มทรัพยากรน้ำแม่โขง-ล้านช้างครั้งที่ 2 การปฏิบัติแผนการวิจัยร่วมด้านอุตุนิยมวิทยา การป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติ การสัมมนาพันธมิตรเมืองท่องเที่ยว โครงการต่างๆที่ใช้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้างปี 2021 ที่ได้ลงนามและปฏิบัติ สิ่งที่น่าสนใจคือ มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างประเทศแม่โขงกับจีนในปี 2021 อยู่ที่เกือบ 4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 เมื่อเทียบกับปี 2020 แม้จะต้องเผชิญกับอุปสรรคเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19
การประชุมมีการเข้าร่วมของเวียดนาม กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ ไทยและจีน |
เวียดนามยืนยันการให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพต่อความร่วมมือ MLC
นับตั้งแต่ที่กลไก MLC ได้รับการจัดตั้ง เวียดนามได้ส่งเสริมให้ MLC ผลักดันความร่วมมือในการปกป้อง บริหาร ใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนและถือเป็นหนึ่งในเนื้อหาความร่วมมือหลักระหว่าง 6 ประเทศสมาชิก ในกระบวนการเข้าร่วม MLC เวียดนามได้เสนอความคิดริเริ่มต่างๆ เช่น การเปิดโทรศัพท์สายด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาฉุกเฉินที่เกิดขึ้นบนแม่น้ำโขง โดยได้รับการสนับสนุนจากประเทศต่างๆและได้รับการปฏิบัติ
ในการประชุมครั้งนี้ เวียดนามได้เสนอ 4 เนื้อหาความร่วมมือ ได้แก่ การผลักดันความร่วมมือด้านศุลกากรและอำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้าเพื่อแก้ไขความชะงักงันในการขนส่งสินค้าและการบริการ เพิ่มทักษะความสามารถในการผลิตและการสำรองพลังงานหมุนเวียน การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ การปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ผลักดันความร่วมมือการบริหารและการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะการผลักดันแผนการปฏิบัติความร่วมมือด้านทรัพยากรน้ำ MLC ในช่วงปี 2023-2027 ผลักดันการพบปะสังสรรค์ระดับประชาชนผ่านการฟื้นฟูและขยายกิจกรรมการท่องเที่ยว ความร่วมมือระหว่างทางการท้องถิ่น กิจกรรมทางวัฒนธรรม การกีฬา สื่อสาร การมอบอำนาจให้แก่สตรีและเยาวชน
การธำรงความร่วมมือเป็นความท้าทายต่อกลไกพหุภาคี โดยต้องการความพยายามของทุกประเทศสมาชิก การเน้นความร่วมมืออย่างจริงจังเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงในปัญหาหลักของอนุภูมิภาค โดยเฉพาะความมั่นคงด้านแหล่งน้ำ ผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนและสมดุลย์เป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจของเวียดนาม.