การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก: มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง

Huyen
Chia sẻ
(VOVWORLD) - นักวิชาการ นักวิจัยและนักการทูตต่างประเทศกว่า 500 คนกำลังเข้าร่วมการสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ 13  ณ กรุงฮานอย นับตั้งแต่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2009 จนถึงปัจจุบัน การสัมมนานี้ได้กลายเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ชี้ให้เห็นถึงต้นตอของความขัดแย้งในทะเลตะวันออก ส่งเสริมการเจรจา ควบคุมความขัดแย้ง  และให้ความสำคัญต่อกฎหมายระหว่างประเทศโดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างทะเลตะวันออกที่มีสันติภาพและมั่นคง
การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก: มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง - ảnh 1การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก: มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง

การสัมมนาครั้งนี้มีขึ้นในสภาวการณ์ที่พิเศษมากเมื่อสถานการณ์ทางการเมืองโลกมีการเคลื่อนไหวใหม่ โดยเฉพาะการแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนที่กำลังมีความชัดเจนมากขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อหลายภูมิภาค รวมถึงเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะทะเลตะวันออก

ทะเลตะวันออกใน "เกมส์ทางภูมิรัฐศาสตร์" ของประเทศมหาอำนาจ

ในเวลาที่ผ่านมา การแข่งขันเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างสหรัฐกับจีนได้ขยายไปยังหลายด้าน ตั้งแต่การเงิน  เศรษฐกิจ การเมืองไปจนถึงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ซึ่งมีความเสี่ยงที่อาจผลักดันให้ประเทศอื่นๆต้องเข้าร่วมจนอาจส่งผลกระทบในทางลบต่อระเบียบโลกในปัจจุบัน ในสภาวการณ์ดังกล่าว การที่ทะเลตะวันออกกลายเป็นจุดร้อนที่ตึงเครียดระหว่างสหรัฐกับจีนนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าแปลกใจ

จากการเป็นประเทศมหาอำนาจที่เพิ่งเกิดใหม่ด้วยศักยภาพทางการทหารและเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนา จีนถือทะเลตะวันออกเป็นพื้นที่เพื่อแสดงความแข็งแกร่ง และการควบคุมทะเลตะวันออกแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นก้าวแรกในการยืนยันว่าจีนคือประเทศมหาอำนาจชั้นนำของโลกในยุคใหม่และในขณะเดียวกันปักกิ่งก็ได้ระบุการควบคุมทะเลตะวันออกเป็นส่วนหนึ่งของการธำรงผลประโยชน์หลักของจีนมานานแล้ว ส่วนทางฝ่ายสหรัฐได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมากต่อการธำรงการปรากฎตัวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และกำหนดการธำรงความมั่นคงและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกเป็นผลประโยชน์ของตน ในสมัยของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ การรับรู้นี้เติบโตขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ใหญ่ขึ้นคืออินโด-แปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง สามารถเห็นได้ว่า สหรัฐและจีนมีความขัดแย้งเกี่ยวกับผลประโยชน์เกี่ยวกับวิธีการเข้าถึงพื้นที่ทะเลนี้ และความขัดแย้งนี้ก็เพิ่มขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง

การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก: มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่จริงจัง - ảnh 2นาย ฝ่ามกวางเหียว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวปราศรัยในการสัมมนา (qdnd.vn )

มีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและจริงจังเพื่อสันติภาพและความร่วมมือในทะเลตะวันออก

ในเกมส์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของการแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจ สถานการณ์ในทะเลตะวันออกมีความผันผวนอย่างซับซ้อนซึ่งประเทศริมฝั่งทะเลทะเลตะวันออกก็ได้รับผลกระทบโดยตรงจากความผันผวนดังกล่าว ในขณะที่ สิทธิและผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศริมฝั่งยังไม่ได้รับการเคารพอย่างเต็มที่

การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออก ถือเป็นเวทีที่มีประโยชน์โดยเวียดนามเป็นผู้ริเริ่ม และได้มีส่วนในการแสวงหาแนวทางแก้ไขและคลี่คลายความตึงเครียดในทะเลตะวันออก ผ่านการจัดการสัมมนา 13 ครั้ง ฟอรัมนี้นับวันได้รับความสนใจจากประชาคมระหว่างประเทศมากขึ้น ทั้งในและนอกภูมิภาค การสัมมนาได้เกาะติดสถานการณ์ที่เป็นจริงมากขึ้น อภิปรายหัวข้อที่เร่งด่วนด้วยการมีส่วนร่วมที่กว้างลึกมากขึ้นของนักวางนโยบายและผู้บังคับใช้นโยบาย มีบทบาทเชื่อมโยงช่องทางที่เป็นทางการและกึ่งทางการมากขึ้นเพื่อมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและจริงจังเพื่อสันติภาพและความร่วมมือในทะเลตะวันออก

การสัมมนานานาชาติเกี่ยวกับทะเลตะวันออกครั้งที่ 13 ได้ยืนยันความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ในการให้ความสำคัญต่อคุณค่าของกฎหมายที่มีอยู่ โดยเฉพาะ อนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982  นักวิชาการหลายคนได้ชื่นชมอนุสัญญาฉบับนี้โดยถือเป็น "กฎบัตรสีเขียว" ของมนุษยชาติที่สามารถสร้างกฎเกณฑ์ที่สำคัญสำหรับแต่ละประเทศเพื่อนำมาเป็นข้ออ้างอิงในการกำหนดเขตทะเลของตนให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของอนุสัญญา

ถึงแม้นักวิชาการจีนแสดงความเห็นว่า UNCLOS 1982 มีบางมาตราที่ยังไม่มีรายละเอียด และยัง "คลุมเครือ" อยู่ ดังนั้นประเทศอื่นๆ จึงฉกฉวยเพื่ออ้างคำเรียกร้องอย่างไม่สมเหตุสมผล แต่ความคิดเห็นนี้ถูกปฏิเสธทันที ตามความเห็นของบรรดาผู้เชี่ยวชาญ UNCLOS 1982 เป็นพื้นฐานเพื่อให้ประเทศต่างๆ แก้ไขข้อพิพาทในเขตทะเลที่ทับซ้อนและสร้างกลไกเพื่อให้ทุกฝ่ายแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างชัดเจนตามกฎหมายระหว่างประเทศ  ดังนั้นบรรดาผู้เชี่ยวชาญที่เข้าร่วมการสัมมนาก็ได้เรียกร้องให้ร่วมแรงร่วมใจเพื่อปกป้อง UNCLOS ปี 1982 และแก้ไขปัญหาความคลุมเครือในมาตรการบางข้อต่อไป โดยเฉพาะมาตราที่อาจถูกฉกฉวยเพื่อตีความอย่างไม่ถูกต้องเพื่อผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นอกจากนั้นความเป็นระเบียบเรียบร้อยทางทะเลที่อ้างอิงตาม UNCLOS ยังได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวางจากประชาคมระหว่างประเทศ ซึ่งทุกฝ่ายที่เป็นภาคีของ UNCLOS มีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม

ในสภาวการณ์ที่ทะเลตะวันออกยังคงมีความเสี่ยงจากความกังวลใหม่ การแข่งขันระหว่างประเทศมหาอำนาจและการปรากฎตัวของกลไกความร่วมมือใหม่ในภูมิภาคได้กำหนดปัญหาใหม่ให้แก่โครงสร้างภูมิภาค ดังนั้น การสัมมนาระหว่างประเทศเกี่ยวกับทะเลตะวันออกจะยังคงเป็นเวทีชั้นนำในภูมิภาคเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือและการพัฒนาในทะเลตะวันออกเพื่อมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงที่ จริงจัง ส่งเสริมการเจรจา มีส่วนร่วมต่อสันติภาพและความร่วมมือในทะเลตะวันออก./.

Komentar