(Khmer Times) |
ปี 2021 เป็นปีรำลึกครบรอบ 25 ปีการก่อตั้งอาเซม ซึ่งเป็นกลไกสนทนาที่ใหญ่ที่สุดที่เชื่อมโยงประเทศในเอเชียกับยุโรป ภายหลัง 2 ทศวรรษครึ่งของการดำเนินงาน ความร่วมมือได้รับความสนใจจากประเทศสมาชิกอาเซมมากขึ้น โดยเฉพาะความร่วมมือด้านวัฒนธรรม-สังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ
เส้นทาง 25 ปีแห่งการพัฒนา
ฟอรั่มความร่วมมือเอเชีย-ยุโรปก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนมีนาคมปี 1996 ตามความคิดริเริ่มของสิงคโปร์และฝรั่งเศส โดยได้รับการสนับสนุนอย่างเข้มแข็งจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาเซียน รวมทั้งเวียดนาม นี่เป็นฟอรั่มสนทนาอย่างไม่เป็นทางการระหว่างบรรดาผู้นำของประเทศสมาชิกอาเซม ผู้นำของสหภาพยุโรปหรืออียูและคณะเลขาธิการอาเซียน เป้าหมายของอาเซมคือการสร้าง "ความสัมพันธ์หุ้นส่วนใหม่ในทุกด้านระหว่างเอเชียกับยุโรปเพื่อการเติบโตที่เข้มแข็งมากขึ้น" และ "ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างประชาชนของสองทวีปและสถาปนาการสนทนาที่ใกล้ชิดระหว่างหุ้นส่วนอย่างเท่าเทียมกัน” กิจกรรมการสนทนาและร่วมมือผ่านอาเซมได้ดำเนินไปอย่างเท่าเทียมกันบนสามเสาหลัก ได้แก่ การสนทนาทางการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงิน ความร่วมมือทางสังคมวัฒนธรรมและด้านอื่นๆ
ภายหลัง 25 ปี จนถึงขณะนี้ อาเซมมีสมาชิกเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับช่วงเริ่มก่อตั้ง จาก 26 ประเทศสมาชิกเป็น 53 ประเทศ กลายเป็นกลไกการสนทนาและร่วมมือที่ใหญ่ที่สุดระหว่างสองทวีป ปัจจุบัน อาเซมมีประชากรคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 มูลค่าการค้าร้อยละ 55 รายได้จากการท่องเที่ยวร้อยละ 75 และจีดีพีร้อยละ 65 ของโลก กลไกการสนทนาพิเศษนี้กำลังมีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการส่งเสริมแนวโน้มความร่วมมือและความเชื่อมโยงในหลายระดับเพื่อสันติภาพและการพัฒนาในภูมิภาคและทั่วโลก
นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงชิ้ง (VNA) |
ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือเพื่อการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน
จากการผันผวนที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและซับซ้อนของสถานการณ์โลก ประเทศสมาชิกได้เห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมืออาเซมให้พัฒนาขึ้นสู่ขั้นสูงใหม่เพื่อยกระดับประสิทธิภาพของการดำเนินงาน ให้ความสำคัญต่อลัทธิพหุภาคี ส่งเสริมความสัมพันธ์หุ้นส่วนเอเชีย - ยุโรปและบทบาทของอาเซมในที่กำลังเป็นรูปเป็นร่าง เนื้อหาความร่วมมือของอาเซมนับวันได้รับการขยาย เน้นปฏิบัติเป้าหมายพัฒนาอย่างยั่งยืนและรับมือความท้าทายระดับโลก โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติ การจัดการทรัพยากรน้ำ ความมั่นคงด้านพลังงาน ความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงทางไซเบอร์ การส่งเสริมการพัฒนาที่ครอบคลุม การดำเนินการนวัตกรรม การสนับสนุนสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ยกระดับความสามารถในการปรับตัวเข้ากับการปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ในการประชุมอาเซมครั้งที่ 13 บรรดาผู้นำได้เน้นอภิปรายเนื้อหาสำคัญเกี่ยวกับความร่วมมือ การเชื่อมโยงและการพัฒนา เช่น ความสำเร็จ ความท้าทายและการกำหนดแนวทางความร่วมมืออาเซม การฟื้นฟูลัทธิพหุภาคีเพื่อสันติภาพและความมั่นคงของโลก เสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคีตามกฎหมาย การพัฒนาและการเติบโตอย่างยั่งยืนและครอบคลุม การเชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาระดับภูมิภาคและโลกที่กำลังเกิดขึ้น โดยเฉพาะ ที่ประชุมได้อนุมัติเอกสารสำคัญ 3 ฉบับ ซึ่งรวมถึงแถลงการณ์ของประธานเกี่ยวกับการเสริมสร้างลัทธิพหุภาคีเพื่อการเติบโตร่วมกัน แถลงการณ์พนมเปญเกี่ยวกับโรคโควิด-19 และการฟื้นฟูของเศรษฐกิจ การกำหนดแนวทางความร่วมมือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงอาเซม
ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนของหนึ่งในประเทศสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีส่วนร่วมอย่างมีประสิทธิภาพในกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาของอาเซม นายกรัฐมนตรีเวียดนาม ฝ่ามมิงชิ้ง ได้กล่าวสุนทรพจน์สำคัญในการประชุมโดยย้ำถึงบทบาทที่สำคัญของความร่วมมืออาเซมในเวลาที่จะถึง ยืนยันอีกครั้งถึงทัศนะที่เสมอต้นเสมอปลายของของเวียดนามต่อปัญหาสำคัญๆที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพ เสถียรภาพและการพัฒนาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองร่วมกันของภูมิภาคและโลก.