บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆที่เข้าร่วมการประชุม (VNA) |
การประชุม AMM ครั้งที่ 56 คือการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศที่สำคัญของอาเซียน โดยนอกจากการประชุมระหว่าง 10 ประเทศอาเซียนแล้ว ยังมีการจัดการประชุมระหว่างอาเซียนกับหุ้นส่วนแต่ละราย การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน+3 การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของฟอรั่มเอเชียตะวันออกหรือ EAS และการประชุมระดับภูมิภาคอาเซียนหรือ ARF ในกรอบการประชุมอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 4 วัน ได้มีการจัดการประชุมเกือบ 20 นัดเพื่อหารือเกี่ยวกับความมั่นคง สันติภาพและความสามารถในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของภูมิภาค
เสริมสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองและการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นของอาเซียน
การเสริมสร้างความสามารถในการพึ่งตนเองและการปรับตัวอย่างยืดหยุ่นกับโอกาสและความท้าทายของอาเซียนคือเนื้อหาที่บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนได้เห็นพ้องเพื่อปฏิบัติในเวลาที่จะถึง โดยอาเซียนต้องเป็นผู้เดินหน้าในการกำหนดโครงสร้างภูมิภาคที่เปิดกว้าง โปร่งใส ครอบคลุมและอยู่บนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ โดยมีการเข้าร่วมอย่างเข้มแข็งและมีความรับผิดชอบของประเทศสมาชิก ตลอดจนหุ้นส่วนต่างๆ นาง Retno Masurdi รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซียได้แสดงความเห็นว่า
“อาเซียนสามารถยืนยันถึงบทบาทของตนได้ก็ต่อเมื่อได้รับความไว้วางใจ ซึ่งเพื่อบรรลุเป้าหมายนี้ ต้องยึดมั่นปฏิบัติตามกฎบัตรอาเซียน แสดงให้เห็นถึงความสามัคคีในการแก้ไขความท้าทายและพร้อมที่จะรับมือความท้าทายในอนาคต อาเซียนจะมีบทบาทสำคัญได้ก็ต่อเมื่อยังคงเป็นผู้นำในโครงสร้างระดับภูมิภาค อาเซียนจะไม่เป็นตัวแทนของการแข่งขันทางอำนาจ ประเทศต่างๆ ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาสันติภาพหรือ TAC ที่ได้รับการลงนามเมื่อปี 1976 ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน และอาเซียนจะต้องเป็นผู้เดินหน้าในการจัดทำโครงสร้างภูมิภาคที่ครอบคลุม”
เพื่อยกระดับทักษะความสามารถและความพร้อมในการรับมือของอาเซียน ประเทศสมาชิกของอาเซียนยังเห็นพ้องที่จะส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น ความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทาน การปรับเปลี่ยนสู่ยุคดิจิทัล ความมั่นคงด้านพลังงานและความมั่นคงทางอาหาร เป็นต้น
นอกจากนั้น นี่ยังเป็นครั้งแรกที่การประชุม AMM ครั้ง 56 และการประชุมต่างๆที่เกี่ยวข้องได้ปฏิบัติตามวิสัยทัศน์อาเซียนเกี่ยวกับอินโดแปซิฟิกหรือ AOIP ที่ได้รับการสอดแทรกในการเจรจากับประเทศหุ้นส่วน ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ระหว่างประเทศมีความผันผวนอย่างซับซ้อน ที่ประชุมดังกล่าวยังเน้นส่งเสริมให้ประเทศที่มีอาวุธนิวเคลียร์ไว้ในครอบครองลงนามพิธีสารของสนธิสัญญาปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปรับปรุงการแนะนำให้มีความสมบูรณ์เพื่อเร่งเสร็จสิ้นการเจรจาเกี่ยวกับหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็ว ที่น่าสนใจคือ ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนครั้งที่ 56 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมที่เรียกร้องให้สร้างสรรค์ทะเลตะวันออกให้เป็นเขตทะเลแห่งสันติภาพและความร่วมมือ
นาง Retno Masurdi รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย (ภาพ: กระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย) |
ประเทศหุ้นส่วนให้คำมั่นพร้อมร่วมมืออย่างจริงจังกับอาเซียน
บนเจตนารมณ์แห่งการสนทนาที่ตรงไปตรงมาและจริงจัง อาเซียนและหุ้นส่วนต่างๆได้หารือกันอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับปัญหาที่ต่างให้ความสนใจ ให้คำมั่นที่จะสนับสนุนบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียน พร้อมที่จะร่วมมืออย่างรอบด้าน จริงจังและยั่งยืน ซึ่งสิ่งนี้ได้รับการแสดงให้เห็นผ่านการอนุมัติเอกสารฉบับต่างๆ เช่น แถลงการณ์ความร่วมมือวิสัยทัศน์อาเซียน-นิวซีแลนด์เกี่ยวกับอินโดแปซิฟิก ภาคผนวกของแผนปฏิบัติการเพื่อปฏิบัติความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านอาเซียน-อินเดีย แถลงการณ์ร่วมฉลองครบรอบ 5 ปีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์อาเซียน-รัสเซีย (2018-2023) ในขณะเดียวกัน อาเซียนและจีนได้รับทราบความคืบหน้าในการเจรจาซีโอซีด้วยการอนุมัติเอกสารแนะนำส่งเสริมให้บรรลุซีโอซีอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพโดยเร็ว ทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกำหนดให้ปี 2024 เป็นปีแห่งการแลกเปลี่ยนระดับประชาชนระหว่างอาเซียนกับจีน ในโอกาสนี้ หุ้นส่วนหลายรายได้ประกาศความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาให้แก่ประเทศต่างๆ ในอาเซียน เช่น แผนการสนับสนุนเงินช่วยเหลือของออสเตรเลีย รวมมูลค่า 530 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อังกฤษเสนอโครงการร่วมมือที่สำคัญ รวมมูลค่าประมาณ 148 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 5 ปีข้างหน้า ส่วนสาธารณรัฐเกาหลีได้เผยว่า กำลังปฏิบัติตามคำมั่นที่ให้ไว้โดยจะเพิ่มเงินสมทบกองทุนความร่วมมืออาเซียน-สาธารณรัฐเกาหลีเป็น 2 เท่าจาก 16 ล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อปีที่แล้วขึ้นเป็น 32 ล้านดอลลาร์สหรัฐภายในปี 2027 และจัดงบกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐให้แก่โครงการความร่วมมือ
รัฐมนตรีของประเทศอาเซียน+3 ได้แก่ จีน สาธารณรัฐเกาหลีและญี่ปุ่นได้ย้ำถึงการธำรงและส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า การเงิน การป้องกันและรับมือการแพร่ระบาด ส่งเสริมความร่วมมือเพื่อค้ำประกันความมั่นคงทางอาหาร การเกษตรที่ยั่งยืน และปฏิบัติกองทุนสำรองข้าวฉุกเฉินอาเซียน+3 อย่างมีประสิทธิภาพ
ในสภาวการณ์ที่สถานการณ์ระหว่างประเทศมีความผันผวนอย่างซับซ้อน อาเซียนต้องเผชิญกับความท้าทายทั้งภายในและภายนอก แต่อย่างไรก็ตาม ด้วยกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาเป็นเวลา 56 ปี บวกกับความร่วมมือที่แน่นแฟ้นมากขึ้นกับหุ้นส่วนต่างๆ อาเซียนมีความเชื่อมั่นว่าจะสามารถฟันฝ่าความท้าทายและปรับตัวได้อย่างคล่องตัวเพื่อพัฒนา.