บรรดารัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี 7 ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ (Photo: TTXVN) |
จากการประกาศยุทธศาสตร์ “อังกฤษสู่โลก” หรือ “โกลบอล บริเตน (Global Britain ) โดยเน้นถึงภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อังกฤษในฐานะประธานหมุนเวียนของกลุ่มจี 7 ได้แสดงให้เห็นถึงความเป็นอิสระจากอียูเมื่อทำการผลักดันการเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจี 7 กับอาเซียนในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศจี 7
บทบาทของอาเซียนที่นับวันสูงขึ้นบนเวทีโลก
การที่กลุ่มจี 7 เชิญรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี 7ได้แสดงให้เห็นถึงบทบาทที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของอาเซียนบนเวทีโลกทั้งในด้านเศรษฐกิจและภูมิศาสตร์การเมือง โดยอาเซียนไม่เพียงแต่มีเศรษฐกิจที่พัฒนาอย่างคล่องตัวและมีเสถียรภาพในหลายปีที่ผ่านมาเท่านั้นหากยังได้รับการพยากรณ์ว่า จะเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่มีการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเข้มแข็งในอนาคต จากการที่มีประชากรเกือบ 700 ล้านคน โดยจีดีพีอยู่ที่กว่า 2.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ อาเซียนเป็นตลาดที่กว้างใหญ่และมีศักยภาพ บทบาทของอาเซียนได้รับการเสริมสร้าง โดยเฉพาะในช่วงที่อยู่ร่วมกับโควิด -19 เพราะเศรษฐกิจรายใหญ่ของโลกได้เห็นถึงความต้องการที่เร่งด่วนของการเพิ่มความหลากหลายด้านห่วงโซ่อุปทานโลก หลีกเลี่ยงการพึ่งพา 1- 2 หุ้นส่วนเท่านั้นซึ่งอาเซียนตอบสนองความต้องการนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น ในด้านเศรษฐกิจ บทบาทของอาเซียนจึงได้รับการชื่นชมในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและนับวันยิ่งมีความสำคัญในสภาวการณ์ที่ประเทศต่างๆเริ่มปรับปรุงห่วงโซ่อุปทานเชิงยุทธศาสตร์
แต่อย่างไรก็ดี สิ่งที่สำคัญกว่าก็คือ การที่กลุ่มจี 7 ให้ความสำคัญต่ออาเซียนในช่วงนี้ก็มาจากเหตุผลด้านภูมิศาสตร์การเมือง ในสภาวการณ์ที่การแข่งขันระหว่างสหรัฐกับจีนนับวันดุเดือดมากขึ้น อาเซียนถือเป็นพื้นที่เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายแสดงอิทธิพล กลุ่มจี 7 โดยเฉพาะสหรัฐและอังกฤษต้องการปรับปรุงความสัมพันธ์กับอาเซียนเพื่อเป้าหมายภูมิศาสตร์การเมืองที่ใหญ่กว่าของตน นอกจากนี้ สหรัฐและอังกฤษต้องการหารือกับประเทศอาเซียนเกี่ยวกับการจัดตั้งพันธมิตรความมั่นคง AUKUS โดยช่วยเหลือออสเตรเลียในการต่อเรือดำน้ำพลังงานนิวเคลียร์ บรรดานักวิเคราะห์เห็นว่า การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี 7- อาเซียนครั้งนี้เป็นก้าวเดินแรกเพื่อให้กลุ่มจี 7 ได้รับการสนับสนุนจากอาเซียน หลังการประชุม รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ แอนโทนี บลิงเคน ได้เดินทางไปเยือนภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และคาดว่า ในต้นปี 2022 ประธานาธิบดีสหรัฐ โจไบเดน จะเชิญบรรดาผู้นำอาเซียนเข้าร่วมการประชุมสุดยอดที่ประเทศสหรัฐ ซึ่งเป็นสัญญาณที่ชัดเจนที่ยืนยันถึงความสำคัญที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของอาเซียนต่อกลุ่มจี 7
ข้อตกลงที่เป็นรูปธรรม
กลุ่มจี 7 มีจีดีพีคิดเป็นร้อยละ 50 ของจีดีพีโลก ในจำนวนประเทศสมาชิกกลุ่มจี 7 ญี่ปุ่น ถือว่าเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศอาเซียน ดังนั้น การเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มจี 7 กับอาเซียนจึงมีเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อประสบผลสำเร็จ โดยก่อนอื่น อาเซียนเป็นทางเลือกที่ดีเพื่อให้กลุ่มจี 7 เพิ่มความหลากหลายของห่วงโซ่อุปทานเชิงยุทธศาสตร์เพื่อหลีกเลี่ยงการพึ่งพาบางหุ้นส่วนมากเกินไป อีกหนึ่งความร่วมมือที่มีศักยภาพระหว่างสองฝ่ายคือด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในการประชุมผู้นำกลุ่มจี 7เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2021 ณ ประเทศอังกฤษ กลุ่มจี 7 ได้ประกาศยุทธศาสตร์ “การสร้างโลกที่ดีกว่าเดิมขึ้นมาใหม่” โดยจะสงวนเงินลงทุนประมาณ 40 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เทคโนโลยี การบริหารอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ความโปร่งใสทางการเงิน ซึ่งยุทธศาสตร์นี้จะเป็นประโยชน์ต่ออาเซียนเพราะประเทศสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา ต้องการแหล่งเงินทุน เทคโนโลยีและทักษะความสามารถด้านธรรมาภิบาลที่ทันสมัย ดังนั้น ความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี 7 กับอาเซียนอาจเน้นด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุน การพัฒนาพลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียนเพื่อค้ำประกันการปฏิบัติคำมั่นต่างๆของอาเซียนเกี่ยวกับการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ในการประชุมครั้งนี้ กลุ่มจี 7ได้ผลักดันความร่วมมือด้านสาธารณสุขกับอาเซียน โดยเฉพาะในสภาวการณ์ที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ในเวลาที่ผ่านมา กลุ่มจี 7 ได้ให้คำมั่นที่จะช่วยเหลือด้านวัคซีนแก่ประเทศอาเซียน ส่วนในระยะยาว กลุ่มจี 7 อาจถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตวัคซีน การจัดตั้งศูนย์ผลิตวัคซีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และผลักดันความร่วมมือระหว่างศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคระบาด ตลอดจนเห็นพ้องที่จะลงทุนด้านเทคโนโลยีใหม่และการเปลี่ยนแปลงนวัตกรรมเพื่อสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การฟื้นฟูและการขยายตัว การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เศรษฐกิจแห่งสีเขียว การรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเทศต่างๆได้ย้ำถึงความสำคัญของความพยายามในการธำรงสันติภาพ เสถียรภาพ ความมั่นคง ความปลอดภัยและเสรีภาพในการเดินเรือและการบินในทะเลตะวันออก สนับสนุนการสนทนาและการสร้างความไว้วางใจ การใช้ความอดกลั้น การแก้ไขปัญหาการพิพาทด้วยสันติวิธีบนพื้นฐานของกฎหมายสากล รวมทั้งอนุสัญญาของสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982
เมื่อเดือนก่อน ในประกาศเชิญรัฐมนตรีต่างประเทศของ 21 ประเทศเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี 7 ณ เมืองลิเวอร์พูลในระหว่างวันที่ 10 -12 ธันวาคม รัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษ Liz Truss ก็ได้ชี้ชัดว่า ผ่านการประชุมนี้ อังกฤษอยากพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศและส่งเสริมให้ประเทศต่างๆที่มีเป้าหมายร่วมกันประสานงานบนพื้นฐานจุดแข็งของตน จากข้อตกลงที่ได้บรรลุในการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศกลุ่มจี 7 รวมทั้งแหล่งพลังที่หลากหลาย ความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี 7กับอาเซียนจะนับวันมีความแน่นแฟ้นและมีก้าวพัฒนาใหม่ในอนาคต.