พิธีรำลึกครบรอบ 25ปีอนุสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับกฎหมายทางทะเลปี 1982 มีผลบังคับใช้ |
หลังจากเป็นภาคี UNCLOS เมื่อปี 1994 เวียดนามได้เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆในกรอบกลไกการปฏิบัติ UNCLOS อย่างเข้มแข็ง เชิดชูความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ กำหนดประเด็นนี้เข้าในแนวทางการขยายความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศ การผสมผสานเข้ากับภูมิภาคและโลกให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมติที่ 36 ของคณะกรรมการกลางพรรคสมัยที่ 12 ปี 2018 คือ “เป็นฝ่ายรุกในการขยายความสัมพันธ์ด้านการต่างประเทศและความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ” โดยการขยายความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากศักยภาพทางทะเลอย่างเต็มที่ อีกทั้งแก้ไขความท้าทายต่างๆเพื่อสร้างบรรยากาศแห่งสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลตะวันออกเพื่อสนับสนุนภารกิจการสร้างสรรค์และพัฒนาประเทศ
ขยายความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศ
เวียดนามได้พัฒนาความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะขยายความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศอย่างเข้มแข็ง ปัจจุบัน เวียดนามได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 189 ประเทศ โดยได้พัฒนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในทุกด้านกับ 3 ประเทศ มีความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับ 13 ประเทศและความสัมพันธ์หุ้นส่วนในทุกด้านกับ 12 ประเทศ ที่น่าสนใจคือความสัมพันธ์หุ้นส่วนกับประเทศต่างๆ รวมถึงความร่วมมือทางทะเลได้สร้างพื้นฐานให้แก่ความร่วมมือและใช้ประโยชน์จากการสนับสนุนจากภายนอกเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศมีรูปแบบที่หลากหลายผ่านการเข้าร่วมสนธิสัญญาเกี่ยวกับทะเลระหว่างประเทศ โดยมีสนธิสัญญาระดับทวิภาคี 28 ฉบับและสนธิสัญญาระดับพหุภาคี 29 ฉบับ เวียดนามได้กระชับความร่วมมือกับประเทศที่มีศักยภาพทางทะเลเพื่อใช้ประโยชน์จากประสบการณ์ วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและเงินช่วยเหลือเพื่อจัดทำโครงการร่วมมือในการบริหารทะเลและเกาะแก่ง การวิจัยธรณีวิทยา ทรัพยากรณ์ทางทะเล การบริหารเขตทะเลและเขตริมฝั่งทะเลเวียดนามอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ เวียดนามยังได้จัดและเข้าร่วมการประชุมและการสัมมนาเชิงวิชาการในระดับนานาชาติ ฟอรั่มเกี่ยวกับทะเลและมหาสมุทร เช่น การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเล ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการฝึกอบรมแหล่งบุคลากร โดยเฉพาะเวียดนามได้เข้าร่วมและอนุมัติเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ รวมถึงข้อที่ 14 เกี่ยวกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทะเลและมหาสมุทรอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเสนอความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการจัดตั้งฟอรั่มความร่วมมือระหว่างกลุ่มจี7กับประเทศริมฝั่งทะเลในการรับมือการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ปัญหาน้ำทะเลหนุน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศทางทะเล
การแนะนำเรือของคณะปฏิบัติงานไปเยือนเกาะด๊าลาดในหมู่เกาะเจื่องซา (VNA) |
กระชับความร่วมมือระหว่างประเทศให้พัฒนาตามส่วนลึกและมีความหลากหลาย
สำหรับความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศของเวียดนามนั้นนับวันได้มีการขยายตัวอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเล เศรษฐกิจทางทะเล เช่น ปิโตรเลียม สัตว์น้ำ การท่องเที่ยวทะเลและเกาะแก่ง การขนส่งทางทะเล การให้บริการท่าเรือ การอนุรักษ์และการตรวจสอบทรัพยากร สิ่งแวดล้อมทางทะเล การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การดึงดูดเงินโอดีเอและแหล่งเงินทุนต่างๆในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน กิจการป้องกันและรับมือภัยธรรมชาติในตำบลริมฝั่งทะเล เสริมสร้างศักยภาพการป้องกันและรับมือภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในด้านสัตว์น้ำ เวียดนามได้ประสานงานกับประเทศต่างๆในการต่อต้านการจับปลาอย่างผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือ IUU โดยได้ลงนามสนธิสัญญาระหว่างประเทศ 4 ฉบับและข้อตกลงเกี่ยวกับการประมงและความร่วมมือทางทะเลกับประเทศต่างๆ เช่น มาเลเซีย เมียนมาร์ อินโดนีเซีย อียิปต์และรัสเซีย เป็นต้น รวม 17 ฉบับ ลงนามข้อตกลงเกี่ยวกับการจัดตั้งโทรศัพท์สายด่วนเพื่อแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมของเรือประมงและชาวประมงในทะเล เช่น ข้อตกลงกับออสเตรเลียเกี่ยวกับการต่อต้านการจับปลาอย่างผิดกฎหมาย ไม่รายงานและไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดหรือ IUU การเปิดโทรศัพท์สายด่วนระหว่างเวียดนามกับฟิลิปปินส์เมื่อปี 2015 และระหว่างเวียดนามกับจีนเมื่อปี 2013 เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆในการทำประมง นอกจากนี้ ท้องถิ่นต่างๆของเวียดนามได้ปฏิบัติโครงการร่วมมือกับหุ้นส่วนต่างชาติเพื่อยกระดับทักษะความสามารถและคุณภาพการเพาะเลี้ยง จัดซื้อและแปรรูปสัตว์น้ำ เวียดนามยังร่วมมือกับประเทศต่างๆในการพัฒนาการท่องเที่ยวทะเล การตรวจสอบและอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล การพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การค้ำประกันความมั่นคงและความปลอดภัยในทะเล
ทั้งนี้และทั้งนั้น แสดงให้เห็นว่า กิจกรรมความร่วมมือทางทะเลระหว่างประเทศของเวียดนามในหลายปีที่ผ่านมา ได้ช่วยระดมแหล่งพลังต่างๆเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเล สนับสนุนภารกิจการพัฒนาเป็นประเทศอุตสาหกรรมที่ทันสมัย อีกทั้งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจของเวียดนามในการปฏิบัติ UNCLOS อย่างสมบูรณ์ โดยเฉพาะเวียดนามได้ทำการต่อสู้และคัดค้านการกระทำของจีนในทะเลตะวันออกที่ละเมิด UNCLOS ด้วยสันติวิธี ซึ่งปฏิบัติการและความรับผิดชอบของเวียดนามได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมือง สัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับประเทศต่างๆ อีกทั้งแก้ไขปัญหาการพิพาททางทะเลเพื่อสร้างบรรยากาศที่สันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและโลก.