( VOVworld )-วัด Doi หรือวัดมหาทุบและวัดมะโตก อยู่ห่างจากเมืองซอกจังภาคใต้ประเทศไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ ๓ กม.มีสถาปัตยกรรมอันโดดเด่นของพุทธศาสนาอนัมนิกายเขมร ซึ่งที่มาของชื่อวัดนั้นเพราะมีค้างคาวอาศัยอยู่จำนวนมากมาหลายปี แต่สิ่งที่น่าสนใจของวัด Doi นั้นคือ วงดนตรีเพนทาโทนิก
|
เครื่องดนตรี Pun Piet หรือฆ้องวงใหญ่
|
เพลงที่ท่านกำลังรับฟังอยู่ขณะนี้คือ เพลงบันไดเสียงเพนทาโทนิกที่บรรเลงโดยนักเรียนชนเผ่าเขมร ซึ่งผู้ที่มีอายุมากที่สุดของวงดนตรีคือ ๑๕ ปี ส่วนอายุน้อยที่สุดคือ ๖ ขวบ นายโด่มิงห์เยืองซึ่งเป็นผู้ที่มีอายุมากที่สุดของวงฯ นักเรียนม.๑ กำลังสอนเด็กๆเล่นดนตรีกล่าวว่า “ พวกผมมาที่นี่เพื่อเล่นดนตรีบริการนักท่องเที่ยวทุกๆวันเสาร์และอาทิตย์ ที่นี่มีครูสอนเล่นดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิก นี่คือเด็กที่เพิ่งฝึกใหม่ๆ ส่วนผู้ที่มีอายุมากกว่าเป็นกำลังหลักของแบนด์ เพลงเมื่อกี๊นี้คือเพลงเอิมตู ซึ่งเป็นเพลงเศร้ามักจะบรรเลงในงานศพ ”
นายเยืองเรียนการเล่นดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกได้ ๑ ปีและสามารถเล่นได้ดีอย่างชำนาญที่สุด เขามีความสามารถในด้านนี้มาก นายเยืองแนะนำเครื่องดนตรีที่ใช้ในวงเพนทาโทนิกของวัด Doi ว่า แบนด์ดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกจะใช้เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้ ทองแดง เหล็ก หนังและเครื่องดนตรีชนิดเป่า โดยหลักๆคือ กลองซามโฟหรือกลองทัดที่หน้ากลองทำจากหนังวัวเป็นเครื่องดนตรีประเภทตี เครื่องดนตรีRonek หรือระนาดเอก เครื่องดนตรีRonek Thungหรือ ระนาดทุ้ม เครื่องดนตรีChhlingหรือฉาบ แคนSrolayหรือปี่มอญ และเครื่องดนตรี Pun Piet หรือฆ้องวงใหญ่ แต่ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงฯ
|
เครื่องดนตรีRonek Thungหรือ ระนาดทุ้ม
|
แบนด์ดนตรีเพนทาโทนิกสามารถเล่นโน้ตได้อย่างสมบูรณ์และมีเสียงห่างกันที่แน่นอน ซึ่งไม่เพียงแต่สามารถใช้ในเพลงโบราณเท่านั้น หากยังใช้บรรเลงเพลงพื้นบ้านและเพลงสากลอีกด้วย แต่เด็กๆที่นี่สามารถเล่นในระดับพื้นฐานเท่านั้น เด็กชายเยืองวันนิงห์ ๑๒ ขวบ มาเรียนที่วัดคุยกับพวกเราด้วยความตื่นเต้นว่า “ หนูเรียนได้ ๒ สัปดาห์เท่านั้น และเพิ่งเรียนได้ ๓ บทเพลง มันยากมาก คืนหนึ่งฝึกเล่น ๑ ท่อน เช้าวันรุ่งขึ้นฝึกอีกท่อนหนึ่ง รวมเป็น ๑ บทเพลง ”
แบนด์ดนตรีเพนทาโทนิกผูกพันกับชีวิตประจำวันของชนเผ่าเขมร ความสุข ความทุกข์ของชาวบ้านซึ่งได้รับการถ่ายทอดออกมาจากตัวโน้ตของเพลงแต่ละบท ส่วนผู้เล่นเครื่องดนตรีเพนทาโทนิกนั้นไม่ใช่ศิลปินมืออาชีพ แต่เป็นเพียงเกษตรกรคนธรรมดาเท่านั้น และภาพเด็กนั่งเล่นดนตรีเพนทาโทนิกด้วยใจรักอย่างสนุกนั้นสะท้อนพลังชีวิตของศิลปะแขนงหนึ่งที่ได้รับการอนุรักษ์จากรุ่นสู่รุ่น นายเยืองเผยว่า “ เขาเรียนและสามารถเล่นเพลงเพนทาโทนิกได้กว่า ๕๐ บทแล้ว เด็กๆที่นี่ขยันเรียนและฝึก พวกเขามีความสามารถและเรียนได้ดี เมื่อเรียนเพลงบทหนึ่งได้สำเร็จ เพลงต่อไปก็จะง่ายขึ้น ”
|
กลองซามโฟหรือกลองทัด
|
ดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกผูกพันกับชนเผ่าเขมรมาตลอดตั้งแต่เกิดจนบั้นปลายของชีวิต มันสะท้อนความสุขและความทุกข์ของพวกเขา ทั้งนี้ทำให้ชาวเขมรตระหนักถึงการอนุรักษ์ดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกให้ชนรุ่นหลังสืบไป โดยวัดหลายแห่งของจังหวัดซอกจังได้จัดตั้งสโมสรดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกและเปิดการสอนดนตรีประเภทนี้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียนจากเด็กๆ ซึ่งพวกเขาจะเป็นผู้ที่จะหล่อเลี้ยงดนตรีบันไดเสียงเพนทาโทนิกของชนเผ่าเขมรให้ดังขึ้นตามหมู่บ้าน และตรอกซอกซอยตามจังหวะของชีวิตสมัยใหม่ให้อยู่นานเท่านาน./.
|
เครื่องดนตรีChhlingหรือฉาบ
|
|
เครื่องดนตรีประเภทตี เครื่องดนตรีRonek หรือระนาดเอก
|
|
ค้่างคาวอาศัยบนต้นไม้ภายในวัดจำนวนมาก |