( VOVworld )-
วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๐๑๓ ณ ประเทศอาเซอร์ไบจาน องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกได้รับรองศิลปะเพลงทำนองเดิ่นมาต่ายตื่อภาคใต้เวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งมนุษยชาติ อันเป็นการยืนยันคุณค่าของศิลปะแขนงนี้และเปิดระยะพัฒนาศิลปะพื้นเมืองอันโดดเด่นนี้ของเวียดนาม
|
การแสดงเพลงเดิ่นกาต่ายตื่อ ( vnexpress ) |
เพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อเป็นที่แพร่หลายในภาคใต้เวียดนาม ซึ่งคำว่าต่ายตื่อนั้นมีความหมายสองอย่างคือ ความอัจฉริยะและการร้องเพลงแบบสมัครเล่นโดยไม่เน้นหาเงินเลี้ยงชีพ พื้นฐานของเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อมาจากดนตรีเพนทาโทนิก ซึ่งพัฒนารุ่งเรืองราวศตวรรษที่ ๑๗ โดยการพัฒนาดนตรีชาววังเว้กับดนตรีพื้นเมืองภาคใต้อย่างกลมกลืน นายเหงวียนวันเติ๊น อดีตอธิบดีกรมและผู้อำนวยการสำนักงานตัวแทนกระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวประจำนครโฮจิมินห์เห็นว่าเอกลักษณ์อันโดดเด่นของเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่ออยู่ตรงที่ประวัตความเป็นมาและการพัฒนาของมันในคลังเพลงของชาวเวียดนามที่เข้าบุกเบิกภาคใต้ นายเติ๊นกล่าวว่า “ ประวัติความเป็นมาในการพัฒนาประเทศโดยเฉพาะการขยายอาณาเขตไปยังภาคใต้ของบรรพบุรุษนั้นถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ระยะหนึ่งของชาติที่สำคัญและก่อให้เกิดมรดกอันทรงคุณค่าต่างๆซึ่งในนั้นมีศิลปะการร้องเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อที่เป็นการสืบทอดและพัฒนาดนตรีพื้นเมืองของภาคเหนือและภาคใต้อย่างกลมกลืนเพราะว่า เพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อสามารถประยุกต์ใช้ดนตรีชาววังเว้เข้ากับความคิดสร้างสรรค์และการด้นสดๆของชาวภาคใต้ ทั้งนี้ได้สร้างความเป็นอมตะของศิลปะแขนงนี้แม้จะต้องผ่านกาลเวลาอย่างโชกโชนก็ตาม ”
ช่วงต้นศตวรรษที่ ๒๐ เพลงแนวเดิ่นกาต่ายตื่อได้กลายเป็นเพลงป็อปปูลาในภาคใต้เวียดนามโดยเฉพาะที่จังหวัดบากเลียว วิงห์ลอง ซาแด๊ก ลองอาน หมีทอและนครไซง่อนหรือนครโฮจิมินห์ปัจจุบัน ซึ่งปรมาจารย์ของเขตตะวันออกภาคใต้คือท่านเหงวียนกวางเด่ยหรือบาเด่ย ท่านเป็นราชครูดนตรีของราชวงศ์เว้แต่ย้ายไปอาศัยในเกิ่นเดื๊อกพร้อมกับศิลปินท่านอื่นๆเช่น กาวหวิ่งห์กือและกาวหวิ่งห์เดี๋ยว ส่วนหัวหน้าของกลุ่มนักร้องเดิ่นกาต่ายตื่อเขตตะวันตกภาคใต้คือท่านเจิ่นกวางเกวิ่นหรือกี๊เกวิ่นชาวเว้แต่เข้าไปอยู่ที่จังหวัดหวิงห์ลองโดยมีสมาชิกคือศิลปินเจิ่นกวางเหยียม เหงวียนเลียนฟองและเหงวียนตือบาพื้นเพที่จังหวัดกว่างนามภาคกลางประเทศ ซึ่งท่านเหล่านี้ได้เดินหน้าในการเรียบเรียงและแต่งเพลงแนวเดิ่นกาต่ายตื่อพร้อมสอนเพลงประเภทนี้ตามแนวของตัวเอง
|
นักดนตรีบรรเลงเพลงเดิ่นกาต่ายตื่อ ( thanhhienonline ) |
เอกลักษณ์พิเศษของเพลงเดิ่นกาต่ายตื่อคือการร้องด้นสดๆที่คล้ายกับการเล่นดนตรีแจ๊ซของสหรัฐอเมริกา โดยนักร้องร้องตามเพลงพื้นเมืองดั้งเดิมแต่มีการด้นสดๆตามจังหวะของโน๊ตหลัก ทั้งนี้ทำให้สามารถแต่งบทเพลงได้หลายๆบทที่มีความหลากหลาย แต่เป็นที่รู้จักกันดีคือ เพลง ๒๐ บทที่มีทำนองของภาคเหนือและภาคใต้ และเพลงที่รู้จักแพร่หลายคือ หยาโก่หว่ายลาง( Da co hoai lang )
หรือคิดถึงสามีเมื่อได้ยินเสียงกลองยามดึก แต่งโดยนักประพันธ์ดนตรีกาววันเหลิ่ว จังหวัดบากเลียวเมื่อปีค.ศ. ๑๙๑๗
องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติได้ชื่นชมศิลปะเดิ่นกาต่ายตื่อภาคใต้เวียดนามเพราะมันถูกเผยแพร่สู่คนแล้วรุ่นเล่าในชีวิตของชุมชนอย่างกว้างขวางผ่านหลักสูตรการสอนอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการตาม ๒๑ จังหวัด อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เดิ่นกาต่ายตื่อได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติคือ ได้รับการพัฒนาผ่านการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับชนชาติอื่นๆอันเป็นการสะท้อนถึงการพัฒนาอย่างกลมกลืนและเคารพวัฒนธรรมของกัน นายเหงวียนวันเติ๊นยืนยันว่า “ การที่องค์การยูเนสโกให้การรับรองเพลงเดิ่นกาต่ายตื่อเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเป็นการรับทราบไม่เพียงแต่คุณค่าของมรดกที่มีเอกลักษณ์ มีอิทธิพลอย่างกว้างขวางในเขตภาคใต้เท่านั้น หากยังเป็นเงื่อนไขเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ของมันในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม ”
|
นักวิจัยบุ่ยจ่องเฮวี้ยวกำลังบันทึกเพลงเดิ่นกาต่ายตื่อ ( VOV )
|
เพลงเดิ่นกาต่ายตื่อกำเนิดขึ้นมากว่า ๑๐๐ ปี แต่มันยังมีพลังชีวิตในสังคมภาคใต้มาจนถึงปัจจุบัน ไม่ว่าจะในครอบครัว งานแต่งงาน งานทำบุญให้บรรพบุรุษที่เสียชีวิต วันคล้ายวันเกิด งานเทศกาลต่างๆ การพบปะของเพื่อนๆและในช่วงเวลาว่างจากการทำนา โดยนักดนตรีจะเล่นซึง ซออู้ เจ้ง พิณน้ำเต้าหรือพิณสายเดียว ขลุ่ยและกีตาร์สดๆหรือเล่นให้ร้องอย่างเชี่ยวชาญและมีเทคนิกดีมาก ส่วนทำนองนั้นมีความหลากหลายสะท้อนจิตใจในทุกระดับชั้น การที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาตินั้นจะทำให้เพลงเดิ่นกาต่ายตื่อซึ่งเป็นเพลงโบราณประเภทหนึ่งของเวียดนามที่มีผู้ชมและผู้ฟังตลอดจนผู้ร้องมากเป็นอันดับหนึ่งจะสามารถพัฒนาแพร่หลายในสังคมอีกมาก ./.