อนุรักษ์และพัฒนาศิลปะพื้นบ้าน

Chia sẻ

เวียดนามมีวัฒนธรรมหลายพันปี มีศิลปะพื้นบ้านที่หลากหลาย โดยเฉพาะ ศิลปะการแสดงบนเวทีที่มีเอกลักษณ์ เช่น ละครแจ่ว ละคร CảiLương ละคร Tuồng เป็นต้น ที่ได้ผูกพันธ์กับชีวิตทางจิตใจของชาวเวียดนามทุกรุ่น แต่ปัจจุบัน ในสภาวการณ์ของการพัฒนาตามลู่ทางที่ทันสมัย ทำให้ศิลปะพื้นบ้านดังกล่าวถูกลืมเลือนไป ฉนั้นการอนุรักษ์และพัฒนามรดกศิลปะพื้นบ้านเหล่านั้นควรได้รับการปฏิบัติอย่างเร่งด่วน

       ในหลายปีที่ผ่านมา แม้จะมีนักศึกษาวิจัยวัฒนธรรมและนักเขียนบทละครมากมายที่พยายามสร้างผลงานใหม่ๆให้สอดคล้องกับการพัฒนาของยุคสมัยโดยได้สอดแทรกศิลปะสมัยใหม่เข้าในบทละครเพื่อดึงดูดใจผู้ชมก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีประสิทธิผลมากนัก ดังนั้น การจัดการประชุมสัมนาในหัวข้อ “มาตรการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะพื้นบ้านการแสดงบนเวที” ณ กรุงฮานอยเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้ถือได้ว่า เป็นโอกาสดีเพื่อให้นักวิชาการในด้านนี้ได้แสดงความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปะพื้นบ้านการแสดงบนเวทีและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องมีสถาบันพิพิทธภัณฑ์ศิลปะการแสดงบนเวที นาย HàĐứcMinh ผู้อำนวยการโรงละครแจ่วเวียดนามกล่าวว่าควรมีพิพิทธภัณฑ์เพื่อเก็บรักษาสิ่งของวัตถุและอุปกรณ์การแสดง รวมทั้ง ชุดแต่งกายของนักแสดงบทละครพื้นบ้าน เพราะคณะศีลปะพื้นบ้านต่างๆไม่มีเงื่อนไขพอที่จะรักษาสิ่งของเหล่านั้นให้ดีได้
       นอกจากการให้ความสำคัญต่อการเก็บรักษาวัตถุสิ่งของและอุปกรณ์การแสดงแล้ว ผู้แทนที่เข้าร่วมการสัมนายังให้ความสนใจต่อการอนุรักษ์ด้านดนตรี บทเพลงและการรำประกอบด้วยและเห็นว่า การนี้จะทำได้ก็โดยต้องอาศัยความร่ววมือของศิลปีนผู้อาวุโส ทำการฝึกสอนและถ่ายทอดอาชีพให้รุ่นเยาว์สืบทอดต่อไป รวมทั้ง การถ่ายทำวีดีโอคลิ๊ปบทแสดงต่างๆไว้หรือเรียบเรียงเป็นหนังสือเรื่อง นาย HoàngVănHùng รองผู้อำนวยการโรงละคร CảiLương ส่วนกลางเผยว่าผมเห็นว่า ต้องขอความร่วมมือจากบรรดาศีลปีนผู้อาวุโส เพราะพวกเขามีความรู้อย่างลึกซึ้งและมีความสามารถเป็นพิเศษ อีกทั้งได้ใช้ชีวิตคลุกคลีกับศิลปะพื้นบ้านการแสดงนี้มานานมาก เช่น ในปัจจุบัน ถ้าอยากจะแสดงละคร CảiLương เรื่อง สองพี่น้อง KiềuNguyệtNga ก็ต้องมีความรู้ลึกเกี่ยวกับบทประพันธ์และการร้องรำประกอบ รวมทั้ง การแต่งกายและเครื่องประดับอย่างถูกต้องและครบชุด
       สิ่งที่สำคัญอีกอย่างก็คือ ต้องมีคนดูและให้ความสนใจโดยต้องทำการประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางและจัดงานมหกรรมเพื่อมีการพบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนประสบการณซึ่งกันและกันระหว่างคณะศีลปะต่างๆทั่วประเทศ รวมทั้ง การบรรจุศิลปะพื้นบ้านเข้าในการเรียนการสอนและจัดการแสดงภาคปฏิบัติในโรงเรียนด้วย ดังที่นาย HàĐứcMinh ผู้จัดการโรงละครแจ่วเวียดนามได้กล่าวว่าแม้จะมีการบรรจุศิลปะพื้นบ้านอย่างเช่น ละครแจ่วและละคร Tuồng เข้าในการเรียนการสอนก็ตาม แต่ยังน้อยอยู่ต้องทำให้มากกว่าและทำเป็นประจำซึ่งจะเป็นการสร้างผู้ชมในทุกรุ่นและอาจจะค้นพบผู้มีเชาว์ความสามารถในด้านนี้
        ในสภาวการณ์ที่เศรษฐกิจสังคมมีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง รวมทั้ง ด้านศิลปะวัฒนธรรมสมัยใหม่ก็พัฒนาเป็นเงาตามตัว ฉนั้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปะพื้นบ้านที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ ศิลปีนเวียดนามต้องพัฒนาคุณภาพการแสดงยิ่งๆขึ้นเพื่อช่วยให้ชนรุ่นเยาว์ไม่หลงลืมศิลปะพื้นบ้านการแสดงบนเวทีดังกล่าว./.

Komentar