หนังสือเก่าสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน

Chia sẻ
( VOVworld )-งานขายหนังสือเก่าซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงฮานอยได้กลายเป็นจุดนัดพบของผู้อ่านที่ชอบหนังสือมือสองและนักสะสมหนังสือเก่าทั่วประเทศ  งานนี้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๐๑๔ และเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการจัดงานขายหนังสือเก่าขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ เป็นเวลา ๒ วัน ซึ่งมีผู้อ่านและบรรดาผู้ค้าหนังสือมือสองหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย

( VOVworld )-งานขายหนังสือเก่าซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงฮานอยได้กลายเป็นจุดนัดพบของผู้อ่านที่ชอบหนังสือมือสองและนักสะสมหนังสือเก่าทั่วประเทศ  งานนี้จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อปี ๒๐๑๔ และเมื่อเร็วๆนี้ได้มีการจัดงานขายหนังสือเก่าขึ้นเป็นครั้งที่ ๓ เป็นเวลา ๒ วัน ซึ่งมีผู้อ่านและบรรดาผู้ค้าหนังสือมือสองหลั่งไหลมาอย่างไม่ขาดสาย
หนังสือเก่าสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน - ảnh 1
วัยรุ่นสนใจหนังสือมือสอง

ปัจจุบัน ตลาดสิ่งพิมพ์และจำหน่ายหนังสือได้พัฒนาอย่างรวดเร็วเพื่อตอบสนองความต้องการของบรรดาผู้อ่าน  ซึ่งตลาดหนังสือมือสองก็มีแรงดึงดูดใจผู้อ่านไม่น้อยเลยทีเดียวและสามารถมีส่วนแบ่งการตลาดที่มั่นคง   นายเลวันเหิบ เจ้าของร้าน “ หนังสือมือสองห่าแถ่ง ”เผยว่า ลูกค้าที่มางานหลากเพศหลายวัยและหลายสาขาอาชีพไม่ว่าจะเป็นนักศึกษา นักวิจัยและวงการสะสมหนังสือมือสอง อาจกล่าวได้ว่า พวกเขาเป็นคนที่รักและเข้าใจคุณค่าของหนังสือ นายเหิบกล่าวว่า “  มีคนมางานหนังสือมือสองมากกว่างานหนังสือใหม่ มีการออกร้านหลายๆร้านและต่างมีลูกค้ามาอุดหนุนมากมาย  วัยรุ่นมาซื้อกันเยอะมากครับประมาณร้อยละ ๗๐-๘๐มาหาซื้อหนังสือทั้งเก่าและใหม่ พวกเขามีกำลังซื้อดีมาก  วัยรุ่นสนใจหนังสือเก่าที่แปลโดยคนรุ่นก่อนๆ  ส่วนหนังสือแปลโดยคนรุ่นใหม่นั้นมีความผิดพลาดเยอะมากเพราะผู้แปลยังไม่มีประสบการณ์ในชีวิตและความรู้ด้านวัฒนธรรมยังไม่แตกฉาน ”

หนังสือมือสองหน้าปกไม่สวยบางเล่มยังดูขี้เหร่ด้วย หนังสือเหล่านี้ถูกตีพิมพ์และจำหน่ายช่วงปีคริสตศักราช๑๙๔๐-๑๙๙๐ของศตวรรษที่ ๒๐ กระดาษที่ใช้เป็นสีน้ำตาลและตัวหนังสืออ่านยาก บางเล่มถูกฉีกขาดและไม่เหลือหน้าปก แต่ก็ยังได้รับความสนใจจากผู้อ่านเช่น นิยายเรื่อง “ เลมีเซราบล์ ” ของนักเขียนวิกตอร์ อูโกรวม ๔ เล่มที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์วรรณกรรม นวนิยายเรื่อง “ วัยเด็กที่ยากเข็ญ ”รวม ๓ เล่มของนักเขียนฝู่งก๊วานที่ตีพิมพ์ในปีค.ศ.๑๙๘๖  หนังสือ “ องค์ประกอบหมู่บ้านเวียดโบราณ ” ของนายตื่อจี หนังสือวรรณกรรม ประวัติศาสตร์และปรัชญาที่ตีพิมพ์ในยุครัฐอุปถัมภ์  ที่ได้รับความสนใจหาซื้อเช่นกัน  นายห่ามินห์เจี๊ยนเจ้าของร้านหนังสือมือสอง “ หนังสือเก่าเจี๊ยน ”กล่าวถึงเหตุผลที่มีคนมาหาซื้อหนังสือเก่าจำนวนมากว่า  “ หนังสือเก่าที่ถูกนำมาตีพิมพ์ใหม่มีการปรับปรุงตามที่สำนักพิมพ์กำหนดเช่น มีการกำหนดว่า หนังสือแต่ละเล่มต้องมีความหนาไม่เกิน ๕๐๐ หน้ากระดาษทำให้เนื้อหาบางตอนถูกตัดทิ้งและหนังสือไม่เหมือนต้นฉบับ  ดังนั้นลูกค้าจึงมาหาซื้อหนังสือมือสองที่ถือเป็นต้นฉบับ อีกสาเหตุคือ หนังสือที่ตีพิมพ์ในช่วงนั้นได้รับการผลิตอย่างละเอียด ผู้ที่สร้างสรรค์ผลงานนั้นก็ทนุถนอมผลงานของตน พวกเขาทำอย่างดีมากแม้กระทั่งงานเรียบเรียง ”

หนังสือมือสองมีข้อดีคือได้รับการตีพิมพ์อย่างดี การแปลถูกต้องสมบูรณ์ตลอดจนการเรียบเรียงละเอียดด้วย  ดังนั้นเมื่ออ่านหนังสือทำให้เรารู้สึกถึงคุณค่าของเนื้อหาและความประณีตในการตีพิมพ์และจำหน่าย   ทั้งนี้ทำให้ผู้อ่านมีความมั่นใจในหนังสือเก่าซึ่งต่างกับปัจจุบันที่หนังสือเพิ่งตีพิมพ์ใหม่ๆก็มีความผิดพลาดเยอะมากเช่น ความผิดพลาดในการตีพิมพ์ การสะกดคำตลอดจนการตัดบางช่วงบางตอนตามอำเภอใจของบรรณาธิการหรือสำนักพิมพ์  นายเหงวียนดาตตุ่ง นักศึกษามหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์เวียดนามที่รักหนังสือมือสองเปิดเผยว่า  “ ผมเรียนสายศิลป์จึงมักจะหาซื้อหนังสือของจิตรกร หนังสือวรรณกรรมของรัสเซียและฝรั่งเศส ซึ่งหายากมาก สิ่งที่ทำให้ผมชอบหนังสือเหล่านี้ก็เพราะว่า มันไม่ได้ตีพิมพ์อีกแล้วและหาทางอินเตอร์เน็ตก็ไม่มี หนังสือเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์จากสำนักพิมพ์ที่มีชื่อเสียงจึงไว้วางใจได้  ผมไม่ชอบอ่านหนังสือทางเว็บไซต์แต่ชอบอ่านหนังสือเก่ามากกว่า ”

หนังสือเก่าสร้างเสริมวัฒนธรรมการอ่าน - ảnh 2
หนังสือมือสองหลากหลายประเภท

การค้าขายหนังสือมือสองเกิดขึ้นที่ฮานอยนานแล้วแต่เป็นธุรกิจที่ไม่โด่งดัง แต่งานขายหนังสือมือสองได้กลายเป็นชีวิตและวัฒนธรรมใหม่สำหรับผู้ที่รักหนังสือ รู้จักถนอมมันและเรียนรู้ความรู้ที่ดีเลิศจากหนังสือ  อีกทั้งเป็นการกระตุ้นให้คนรุ่นใหม่อ่านหนังสือมากขึ้น  คุณฟานเวินแองที่ทำงานในสถาบันวิจัยสถาปัตยกรรม ณ กรุงฮานอยเล่าว่า เธอหาหนังสือมือสองประเภทศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและประวัติศาสตร์ คุณเวินแองกล่าวว่า  “ ดิฉันยังหาซื้อหนังสือเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมอีกด้วย ร้านหนังสือแต่ละแห่งมีหนังสือมากมายหลายประเภทแต่ยังมีหนังสือเฉพาะของร้าน  ร้านหนังสือมือสองห่าแถ่งมีการคัดเลือกประเภทหนังสืออย่างดี ส่วนแผงขายหนังสือบนฟุตบาทข้างถนนมีหนังสือหลากหลายประเภท  ผู้ที่สะสมหนังสือมักจะเลือกซื้อหนังสือโบราณที่มีคุณค่า ลูกค้ามางานไม่เพียงแต่หาหนังสือที่มีเนื้อหาดีๆเท่านั้น หากยังอยากหวนกลับสู่อดีต สำหรับนักศึกษาวิจัยนั้น พวกเขาต้องการหนังสือบางเล่มที่มีคุณค่าแห่งประวัติศาสตร์แต่ไม่ตีพิมพ์อีกแล้ว”

หนังสือให้ความรู้และสะท้อนความรู้สึกเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน ส่วนหนังสือมือสองสะท้อนอดีตก่อนโน้นซึ่งถือเป็นคลังความรู้ให้คนเราดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคต  งานขายหนังสือมือสองได้ช่วยส่งเสริมและพัฒนาวัฒนธรรมการอ่านหนังสือและเป็นแหล่งหนังสือที่มีค่าสำหรับผู้ที่รักหนังสือและสะสมหนังสือ .  

Komentar