( VOVworld )-
วันที่ ๒๔มิถุนายน ๒๐๑๕ ศ.นักวิจัยดนตรีพื้นบ้านเจิ่นวันเคได้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับสิริอายุ ๙๔ ปี ซึ่งสร้างความสูญเสียอันใหญ่หลวงให้แก่วงการดนตรีพื้นบ้านเวียดนามและวงการวิจัยดนตรีพื้นบ้านเวียดนาม ท่านหลงไหลในการอนุรักษ์วัฒนธรรมพื้นบ้านโดยได้ขึ้นเหนือล่องใต้เพื่อค้นหาดนตรีพื้นบ้านของประเทศจากนั้นได้เผยแพร่ให้เป็นที่รู้จักในทั่วโลก
ศ.เจิ่นวันเคถือเป็นนักวิจัยและนักอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านระดับปรมาจารย์ที่มีชื่อเสียงระดับโลกจากผลงานด้านดนตรีและมรดกที่ท่านทิ้งไว้ ท่านเป็นสมาชิกกิติมศักดิ์ของสภาดนตรีระหว่างประเทศแห่งองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติและเป็นชาวเวียดนามคนเดียวที่ได้ระบุชื่อในสารานุกรมดนตรีโลก ท่านได้ทุ่มเทตลอดชีวิตเพื่อภารกิจศึกษาวิจัยดนตรีพื้นบ้านของเวียดนาม
ศ.เจิ่นวันเคร่วมกับศ.โตหงอกแทงและศ.โตหวูได้ใช้เวลาส่วนใหญ่เพื่อศึกษาวิจัยเกี่ยวกับฆ้องเตยเงวียนจนทำให้ฆ้องเตยเงวียนได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก นักข่าวเหงวียนลิวเล่าว่า ในประเทศฝรั่งเศสที่แสนไกล ศ.เจิ่นวันเคได้ศึกษาวิจัยเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้านเวียดนามรวมทั้งฆ้องเตยเงวียนด้วย ท่านไม่เพียงแต่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยทางวิชาการที่มีคุณค่าหลายโครงการเท่านั้น หากยังเป็นแรงบันดาลใจและจุดเปลวเพลิงแห่งความภาคภูมิใจต่อวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาติ นักข่าวเหงวียนลิวกล่าว
“ มีครั้งหนึ่งที่ท่านกลับจากฝรั่งเศสและเดินทางไปยังอำเภอที่ห่างไกลของจังหวัดดั๊กลั๊ก เขตที่ราบสูงเตยเงวียนพร้อมกับนักวิจัยจำนวนหนึ่งเพื่อตรวจดูวงฆ้องอีกครั้ง ท่านได้ชี้ไปยังฆ้องใบใหญ่สุดในวงฆ้องเอเดแล้วบอกกับนายมาตเซซาผู้เชี่ยวชาญชาวฟิลิปปินส์ด้วยภาษาฝรั่งเศสว่า นี่คือเสียงดับเบิลเบสของวงฆ้องเอเดของพวกเรา ผมกับคนอื่นๆรู้สึกภาคภูมิใจมากเพราะเป็นคำเปรียบเทียบที่เรียบง่ายและถูกต้องที่สุด ”
ศ.เจิ่นวันเคเป็นคนแรกที่ได้เผยแพร่ความงามของดนตรีชาววังเว้ เพลงพื้นบ้านทำนองกวานเหาะบั๊กนินห์และเพลงทำนองกาจู่จนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ท่านเป็นตัวอย่างในการทำงานอย่างมีความรับผิดชอบและทุ่มเททุกอย่างเพื่อศิลปะพื้นบ้าน ท่านรักคนรุ่นใหม่เสมือนลูกศิษย์และได้ช่วยเหลือให้กำลังใจพวกเขาให้มีความรักและมั่นใจต่อการคงอยู่ตลอดกาลของดนตรีพื้นบ้าน ในหลายปีที่ผ่านมา แม้สุขภาพไม่อำนวยเพราะอายุสูงมากและการไปไหนมาไหนต้องใช้รถวิลล์แชร์แต่ศ.เจิ่นวันเคยังทุ่มเทช่วยเวลาที่เหลือในชีวิตของตนและความรู้ที่แตกฉานให้แก่ดนตรีพื้นบ้าน โดยยังคงเข้าร่วมรายการต่างๆหรือการพบปะพูดคุยเกี่ยวกับดนตรีพื้นบ้าน อีกทั้งยังทำงานจัดข้อมูลดนตรีพื้นบ้านให้เป็นระบบ ร.ศ.ดร.เหงวียนถิ่หมีเลียม รองผู้อำนวยการสถาบันดนตรีนครโฮจิมินห์เล่าว่า “ ในภารกิจวิจัยของตนได้รับการส่งเสริมให้กำลังใจจากคนรุ่นก่อนก็จะทำให้เรามีความรักงานมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงแต่ดิฉันเท่านั้น หากยังคนรุ่นใหม่ก็ได้รับความสุขเช่นกัน ท่านได้ให้กำลังใจคนรุ่นใหม่ในการศึกษาวิจัยทางวิชาการและวิจัยดนตรีพื้นบ้าน ”
ผู้ที่เคยได้พบปะพูดคุยกับศ.เจิ่นวันเคต่างมีความรู้สึกว่า ท่านเป็นคนมีเมตตาและจริงใจ ท่านเป็นศิลปินที่ปรีชาและมากความสามารถแต่มีความเป็นสามัญและใกล้ชิด มรดกที่ท่านทิ้งใว้ให้แก่ศิลปินรุ่นต่อๆไปคือคลังศิลปะอันทรงคุณค่าและหาค่ามิได้ คุณเหงวียนถ่าวเงวียน พิธีกรช่องจราจรของสถานีวิทยุเวียดนามเล่าว่า “ อาจารย์เป็นคนที่สมถะและเป็นคนใจดี ดิฉันเคยมีโอกาสทำงานร่วมกันท่านและได้เรียนรู้ความรู้มากมายเกี่ยวกับเพลงทำนองเดิ่นกาต่ายตื่อและได้เรียนรู้บทเรียนในชีวิตจากท่าน แม้ท่านได้จากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับ แต่สิ่งที่ท่านทิ้งไว้นั้น คนรุ่นใหม่จะเรียนรู้และส่งเสริมให้พัฒนาต่อไป ”
ความหลงไหลดนตรีพื้นบ้าน เสียงเพลงจากพิณซึง เจ่งและซออู้ตลอดจนลีลาทำนองเพลงกีมเตี่ยน ลิวถุ่ยและลองโห่โห่ยได้ซึมซับเข้าในจิตใจของผู้ที่ต้องอยู่ไกลบ้านเกิด ทั้งนี้ทำให้นักศึกษาด้านแพทย์ศาสตร์เจิ่นวันเคได้กลายเป็นคนเวียดนามคนแรกที่ได้รับปริญญาเอกสาขาดนตรี ณ ฝรั่งเศสและสร้างชื่อเจิ่นวันเคให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในวงการวิจัยดนตรีระหว่างประเทศ แม้ท่านได้ถึงแก่กรรมแล้ว แต่สำหรับผู้ที่รักและหลงไหลดนตรีพื้นบ้านเวียดนาม ศ.เจิ่นวันเคจึงถือเป็นปรมาจารย์และแรงบันดาลใจในความรักดนตรีพื้นบ้านของท่านจะสถิตอยู่ในดวงใจของพวกเราตลอดกาล ./.