นายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกกล่าวปราศรัยในการประชุมเกี่ยวกับการปกป้องและส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของเวียดนามเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอยเมื่อเร็วๆนี้ |
เวียดนามมีคลังมรดกวัฒนธรรมของชนเผ่าต่างๆที่หลากหลาย มีโบราณสถานระดับจังหวัดและนคร 1หมื่นแห่ง โบราณสถานระดับชาติเกือบ 3พัน 5 ร้อยแห่ง โบราณสถานพิเศษแห่งชาติ 95แห่งและมรดกวัฒนธรรมนามธรรมกว่า 6หมื่น 1พันรายการ จนถึงปัจจุบัน องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก้ ได้รับรองมรดก 8รายการของเวียดนามเป็นมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก พร้อมทั้งระบุมรดกวัฒนธรรมนามธรรม 12 รายการและมรดกด้านข้อมูล 7รายการของเวียดนามในบัญชีมรดกโลก
จากการมีมรดกวัฒนธรรมที่หลากหลาย หน่วยงานทุกระดับได้ผลักดันการอนุรักษ์ ใช้ประโยชน์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกต่างๆอย่างเข้มแข็งเพื่อมีส่วนร่วมพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วัฒนธรรมและสังคมในท้องถิ่นต่างๆ เมื่อปี 2017 เฉพาะมรดก 8รายการของเวียดนามที่ได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมและธรรมชาติของโลก ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยว 16ล้านคน ทำรายได้ 2.5ล้านล้านด่ง มรดกวัฒนธรรมนามธรรมหลายรายการถือเป็นจุดเด่นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวและมีส่วนร่วมสร้างสรรค์เครื่องหมายการค้าให้แก่มรดกเวียดนาม
ดนตรีชาววังได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมเมื่อปี ๒๐๐๓ (http://vietnamnet.vn) |
แต่อย่างไรก็ตาม การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมในเวียดนามเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวยังประสบอุปสรรคต่างๆ เช่น การวางแผนและการอนุรักษ์และพัฒนามรดกยังไม่ลงตัว โดยเมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวได้จัดการประชุม “อนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมเวียดนามเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน”เพื่อวางมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ในการนี้ นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้กล่าวถึงความสำคัญของการปกป้องและส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมของเวียดนามและยืนยันถึงความหมายสำคัญของการอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมในภารกิจการสร้างสรรค์และพิทักษ์รักษาปิตุภูมิ“มรดกคือสมบัติจากทั้งธรรมชาติและผลงานอันดีงามจากความคิดสร้างสรรค์ของบรรพบุรุษรุ่นแล้วรุ่นเล่า ซึ่งประชาชนทุกคนต้องตระหนักได้ดีว่า ผลงานอะไรก็สามารถทำได้ ยกเว้นมรดก ดังนั้น จึงห้ามทำลาย หรือ สร้างความเสียหายให้แก่มรดกเพื่อการพัฒนาเพราะการสูญเสียมรดกก็ถือเป็นการสูญเสียเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติ”
นายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกยังเผยว่า มรดกวัฒนธรรมมีลักษณะเหมือนวันวานที่ผ่านไปซึ่งจะถูกหลงลืม ดังนั้นหน่วยงานทุกระดับต้องผลักดันความคิดสร้างสรรค์และความคล่องตัวในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าของมรดกในปัจจุบัน“ต้องให้การศึกษาเกี่ยวกับมรดกเพื่อเสริมสร้างความภาคภูมิใจในประชาชาติและแสวงหามาตรการต่างๆที่เหมาะสม เช่น อัพเดทนโยบายและกฎหมาย กระจายอำนาจการบริหารให้แก่หน่วยงานต่างๆ ฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ เพื่อส่งเสริมคุณค่าของมรดก สร้างเครื่องหมายการค้าการท่องเที่ยวแห่งชาติเพื่อมีส่วนร่วมแก้ปัญหาความยากจนให้แก่ประชาชนและส่งเสริมการสร้างฐานะจากมรดก ซึ่งเพื่อให้มรดกมีส่วนร่วมต่อภารกิจการพัฒนาอย่างยั่งยืน ต้องฟื้นฟูมรดกเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่การพัฒนาด้านอื่นๆ"
อ่าวฮาลองได้รับการรับรองเป็นมรดกทางธรรมชาติของโลกด้านธรณีวิทยาและธรณีสัณฐาน (http://vietnamnet.vn) |
นายกรัฐมนตรีเหงวียนซวนฟุกยังเผยว่า เพื่ออนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องสร้างความสมดุลย์ระหว่างการอนุรักษ์มรดกกับการพัฒนาท่องเที่ยว ดังนั้น หน้าที่อันดับแรกที่หน่วยงานวัฒนธรรมต้องปฏิบัติคือ ต้องฟื้นฟูพลังชีวิตของมรดกและฝึกอบรมแหล่งบุคลากรที่มีคุณภาพสูงเพื่อปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว ซึ่งการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกไม่เพียงแต่เป็นความรับผิดชอบของรัฐเท่านั้น หากยังเป็นภารกิจของชุมชนและประชาชนทุกคน โดยรัฐจะสร้างกรอบทางนิตินัยและกลไกนโยบายเกี่ยวกับการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกเพื่อให้ประชาชนปฏิบัติ ซึ่งการส่งเสริมให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกคือแนวโน้มที่สำคัญและจำเป็น โดยนายกรัฐมนตรีได้ส่งสาส์นที่ว่า จงคืนมรดกให้แก่ชุมชนและต้องเริ่มงานด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกจากครอบครัว หมู่บ้าน โรงเรียนและสังคม
บนเจตนารมณ์ดังกล่าว นายกรัฐมนตรี เหงวียนซวนฟุกได้เสนอมาตรการที่เป็นรูปธรรมให้แก่กระทรวง หน่วยงานและท้องถิ่นต่างๆ เช่น การปรับปรุงกรอบกฎหมายให้มีความสมบูรณ์ ผลักดันการปกป้องมรดกทั้งรูปธรรมและนามธรรมที่ได้รับการรับรองจากยูเนสโก แบ่งอำนาจและกำหนดความรับผิดชอบในการบริหารมรดก ผลักดันการเข้าร่วมของประชาชนทุกภาคส่วนในการปกป้องและส่งเสริมคุณค่ามรดกวัฒนธรรมในเวียดนาม.