( VOVworld )-ประเพณีเก๊ตจ่าหรือประเพณีสถาปนาสายสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างหมู่บ้านต่างๆในผืนดินกิงบั๊กที่เป็นแหล่งวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของเวียดนามที่มีมาตั้งแต่โบราณและยังคงได้รับการอนุรักษ์สืบทอดมาจนถึงทุกวันนี้
|
พิธีเก๊ตจ่าระหว่างสองหมู่บ้าน
|
พื้นดินกิงบั๊กเป็นที่ตั้งราชธานีเก่า ๓ แห่งของประเทศเวียดนามในจังหวัดบั๊กยาง บั๊กนิงห์และเขตปริมณฑลของกรุงฮานอยที่มีประเพณีวัฒนธรรมอันเก่าแก่ของประเทศ หมู่บ้านในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงภาคเหนือเวียดนามักจะมีซุ้มประตูหมู่บ้านและทิวใผ่เป็นรั้วของหมู่บ้าน หมู่บ้านแต่ละแห่งมีประเพณีและจารีดของตนเองรวมทั้งประเพณีสถาปนาสายสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องระหว่างสองหมู่บ้านหรือเรียกตามภาษาเวียดนามว่า ประเพณีเก๊ตจ่า ในภาษาเวียดโบราณจ่าคือ พี่น้อง ส่วนเก๊ตคือ การสถาปนาความสัมพันธ์ ดังนั้นเก๊ตจ่ามีความหมายว่า สถาปนาสายสัมพันธ์พี่น้องแต่ไม่ใช่สายสัมพันธ์ระหว่างพี่และน้องด้วยกัน หากเป็นสายสัมพันธ์ระหว่างหมู่บ้านเพื่อช่วยเหลือกัน ซึ่งหมู่บ้านฟุกลิงห์และหมู่บ้านเฮืองเกิว จังหวัดบั๊กยางเป็นตัวอย่างในการสืบทอดประเพณีอันดีงามนี้แม้จะอยู่ห่างไกลกัน ๕ กิโลเมตร คุณลุงต่าดังถิ่ง ผู้อาวุโสของหมู่บ้านเล่าให้ฟังว่า “ ตามการบอกเล่ากันมาปากต่อปาก สมัยศักดินาชุมชนที่อาศัย ณ ที่นี่บางตามาก เพื่อทำการผลิต ช่วยเหลือกันยามยาก ต่อต้านภัยธรรมชาติและศัตรู หมู่บ้านสองแห่งนี้ได้สร้างสายสัมพันธ์กันอย่างเหนียวแน่น ซึ่งก็คือประเพณีเก๊ตจ่านั่นเอง ”
ชาวบ้านฟุกลิงห์และเฮืองเกิวไม่เคยรู้เลยว่า ประเพณีเก๊ตจ่ามีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เรื่องราวความช่วยเหลือและน้ำใจของชาวบ้านทั้งสองแห่งที่มีต่อกันยังคงสถิตอยู่ในใจของพวกเขาตลอดมา โดยช่วงปี ๘๐ ของศตวรรษที่ ๑๙ ชาวบ้านฟุกลิงห์กำหนดจะก่อสร้างถนนสู่หมู่บ้านและไม่เคยบอกเรื่องนี้กับชาวบ้านเฮืองเกิว พอรุ่งเช้าได้พบกรวดหินวางเป็นกองพอที่จะก่อสร้างถนนให้เสร็จ คุณต่า วัน ถุ่ย ชาวบ้านฟุกลิงห์เล่าว่า “ บ้านพี่เฮืองเกิวช่วยขนกรวดหินมา โดยขนมาในยามดึกดังนั้นชาวบ้านจึงไม่รู้เรื่องเลย พอรุ่งเช้าเห็นกรวดหินเป็นกองกระจัดกระจายตั้งแต่ศาลาประจำหมู่บ้านเข้าไปข้างใน ชาวบ้านทุกคนไม่รู้ว่าหมู่บ้านพี่ขนกรวดหินมาที่นี่ได้อย่างไร ”
นี่คือความช่วยเหลือแบบปิดทองหลังพระของชาวบ้านเฮืองเกิว ที่ชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านต้องช่วยเหลือกันตามประเพณีเก๊ตจ่า นายหว่างวันหลิก ประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลเฮืองเกิวเปิดเผยว่า “ เมื่อก่อนนี้ การทำนา วิดน้ำนั้นต้องใช้ชนางและชงโลง ชาวบ้านทั้งสองหมู่บ้านได้ช่วยกันทำ บ้างวิดน้ำ บ้างไถนาและบ้างดำต้นกล้า ”
|
งานเทศกาลโดยมีการเข้าร่วมของหมู่บ้านเก๊ตจ่าสองแห่ง |
ศาลเจ้าของหมู่บ้านเฮืองเกิวเป็นสถาปัตยกรรมสวยที่ก่อสร้างมานับร้อยปีและเสื่อมโทรมลงตามกาลเวลา ชาวบ้านจึงวางแผนบูรณะปฏิสังขร และสิ่งที่อัศจรรย์ใจได้มาเยือนจากชาวบ้านฟุกลิง นั่นคือพวกเขาได้ขนกระเบื้องหลังคามาช่วยเหลือ อีกทั้งส่งคนมาช่วยงานบูรณะปฏิสังขรด้วย นายโงวันเกี่ยน ชาวบ้านฟุกลิงเล่าให้ฟังว่า “ เมื่อได้ข่าวหมู่บ้านพี่เฮืองเกิวบูรณะศาลเจ้า ชาวฟุกลิงทุกคนไม่ว่าจะเป็นคนแก่หรือเด็กต่างอาสาขนส่งกระเบื้องด้วยรถจักรยานส่วนตัว การขนส่งนั้นแล้วแต่แรงของแต่ละบ้าน ”
ประเพณีเก๊ตจ่าไม่เพียงแต่เป็นการช่วยเหลือกันอย่างสมัครใจเท่านั้น หากยังมีการไปมาเยี่ยมเยือนและแบ่งเบาความทุกข์ยากกันเพราะสายสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างคนในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ปัจจุบัน เขตที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงภาคเหนือเวียดนามมีหลายหมู่บ้านยังคงรักษาประเพณีเก๊ตจ่าหรือประเพณีสถาปนาสายสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้องกันอย่างเหนียวแน่นเช่น หมู่บ้านหว่างมายกับหมู่บ้านมายหวู จังหวัดบั๊กยางและหมู่บ้านเจิวโหล่กับหมู่บ้านกิมหลู อำเภอซอกเซิน กรุงฮานอย ทั้งนี้สะท้อนวัฒนธรรมอันดีงามของชาวหมู่บ้านเขตที่ราบแม่น้ำแดงของเวียดนาม ./.