( VOVworld )- เวียดนามมีงานเทศกาลน้อยใหญ่ประมาณ ๘,๐๐๐ งานที่ถูกจัดขึ้นในทุกๆฤดูใบไม้ผลิตตั้งแต่เดือนอ้ายถึงเดือน ๔ ตามจันทรคติ และที่รู้จักแพร่หลายคือ เทศกาลนมัสการวิหารหุ่งจังหวัดฟู้เถาะ เทศกาลลิม เทศกาลบ่าชั้วคอจังหวัดบั๊กนินห์ เทศกาลวัดแกวจังหวัดท้ายบิ่นห์และเทศกาลเอียนตื๋อจังหวัดกว่างนินห์ ซึ่งงานเทศกาลได้กลายเป็นปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ขาดมิได้ในชีวิตของชาวเวียดนามตามหมู่บ้านต่างๆ
งานเทศกาลศาลเจ้ากษัตริย์เจิ่น
ฤดูเทศกาลได้กลับมาเยือนตามหมู่บ้านตำบลต่างๆของเวียดนาม บรรยากาศที่สนุกสนานและชื่นมื่นของงานเทศกาลได้ดึงดูดชาวเวียดนามและนักท่องเที่ยวต่างชาติให้มาเที่ยวอย่างไม่ขาดสาย โดยจิตใจล้วนมุ่งสู่ในสิ่งที่ดีงาม อธิษฐานขอให้ปีนี้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลและการทำมาหากินสะดวกสบาย นายหวูห่งถวต นักวิจัยของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เปิดเผยว่า งานเทศกาลทุกงานเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของชาวบ้านต่อเทวดาอารักษ์ในพื้นที่ “ พิธีกรรมต่างๆในงานเทศกาลจะประกอบด้วย พิธีบวงสรวง การแห่ การอ่านบทปราศรัยและถวายเครื่องเซ่นไหว้ อย่างไรก็ดี งานเทศกาลของแต่ละหมู่บ้านจะมีเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้สืบทอดกันมาหลายชั่วคนหรือเรียกว่าตุ๋กแห่ม ซึ่งหมายถึงข้อห้ามที่ไม่ควรปฏิบัติ อาทิเช่น ที่จังหวัดบั๊กยาง ในพิธีกรรมนั้น สิ่งที่ขาดมิได้คือ การถวายถั่วเขียวกวนแด่เทวดา ”
ชนเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนบูชาสุริยเทพอพอลโลที่แสดงสปีริตแห่งนักกีฬา ดังนั้นงานเทศกาลของพวกเขามักจะมีลักษณะแห่งความเลื่อมใสศรัทธาแต่มีความเป็นมนุษยชาติ ศ.โงดึ๊กถิ่ง กรรมการสภามรดกแห่งชาติกล่าวถึงความรู้สึกของตนเกี่ยวกับบทปราศรัยอาลัยกระบือว่า “ เมื่อผมได้รับเอกสารแปลเกี่ยวกับบทอาลัยกระบือ ผมกลั้นน้ำตาไม่อยู่เพราะความรักของคนต่อกระบือที่จะเป็นเครื่องสังเวยต่อเทวดา โดยมีความว่า วันนี้ขอให้เจ้ากินหญ้าครั้งสุดท้าย เจ้ารู้ไหม๊ว่า ตั้งแต่นี้ไปข้าจะไม่ได้ยินเสียงของเจ้าอีก หมู่บ้านเดี๋ยวนี้ไม่มีข้าวเพราะยังไม่มีสัตว์สังเวยแด่เทวดาจึงไม่บันดาลข้าวให้ ทางหมู่บ้านต้องถวายเจ้าเป็นสิ่งสังเวยเพื่อความอิ่มท้องของทุกคน”
เทศกาลปล่อยเรือประมงสู่ทะเล
เทศกาลแต่ละงานแม้จะเล็กหรือใหญ่และจัดในที่ราบหรือเขตเขาก็ล้วนสะท้อนความเป็นชุมชนซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่ดีงามของประชาชาติเวียดนามมาแต่โบราณ งานเทศกาลทุกงานต่างแฝงจิตใจแห่งการดื่มน้ำต้องรำลึกถึงแหล่งที่มาของน้ำ ดังนั้นมักจะย้อนอดีตท้าวถึงผลสำเร็จของบรรพบุรุษ เพื่อให้คนรุ่นใหม่เข้าใจเกี่ยวกับส่วนอุทิศของบรรพบุรุษและตระหนักถึงเกียรติประวัติของบ้านเกิดอย่างภาคภูมิ งานเทศกาลในเวียดนามส่วนใหญ่เป็นการย้อนอดีตเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์และรำลึกถึงคุณูปการของบรรพบุรุษในสงครามต่อต้านศัตรูผู้รุกราน ดังนั้น การละเล่นต่างๆภายในงานมีลักษณะที่แข็งแกร่งและสปีริตของนักกีฬา แต่การแสดงออกในแต่ละพื้นที่จะไม่เหมือนกัน นักวิจัยหวู ห่ง ถวต เปิดเผยว่า “ งานเทศกาลแต่ละงาน หมู่บ้านแต่ละแห่ง ศาลาประจำหมู่บ้านแต่ละแห่งและวัดแต่ละแห่งที่จัดงานเทศกาลจะแสดงสปีริตนักกีฬาไม่เหมือนกันและหลากหลายรูปแบบ บ้างแสดงออกผ่านการแข่งขันมวยปล้ำ บ้างก็แสดงออกผ่านขนบธรรมเนียมประเพณี ส่วนชาติพันธุ์ส่วนน้อยจะแสดงออกด้วยการแข่งขันยิงธนูและแข่งม้า ซึ่งลักษณะแห่งมารยาทของนักกีฬาแสดงออกชัดเจนคือ ความสามัคคีและยังแสดงออกถึงตัวบุคคลจากประเพณีต่างๆในการแข่งขันเช่น การแข่งขันมวยปล้ำ ยิงธนู การเล่นปิดตาควาหา ”
ชาวประมงเลือกปลาตัวสวยภายในงาน
ภายในงานชาวบ้านได้เข้าร่วมกิจกรรมที่คึกคักต่างๆเช่น การแห่ช้าง แห่วอ มวยปล้ำ การว่ายน้ำ การแข่งเรือมังกรและเรือไม้ใผ่ กิจกรรมกีฬาเหล่านี้ยังเป็นการส่งเสริมสุขภาพและเชิดชูจิตใจที่แข็งแกร่งของคนในชุมชนและส่วนรวม และยังมีการแข่งขันระหว่างสัตว์ต่างๆเช่น การชนไก่ ชนนก ปลากัด การชนช้าง วัวและกระบือที่ได้รับความสนใจจากผู้ร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง ขอยกตัวอย่างเทศกาลชนกระบือที่โด่เซิน เมืองท่าไฮฟองที่มีชื่อเสียงของภาคเหนือและได้รับความสนใจจากเกษตรกรและชาวประมงริมฝั่งทะเล
งานเทศกาลต่างๆยังสะท้อนจิตใจที่แข็งแกร่ง เป็นการเชิดชูจิตใจที่ต่อสู้อย่างกล้าหาญของคนเพื่อภารกิจที่ยิ่งใหญ่โดยเฉพาะเพื่อภารกิจปกป้องประเทศและความผาสุกของประชาชน งานเทศกาลต่างๆในพื้นที่ทุกแห่งของประเทศโดยเฉพาะงานเทศกาลฤดูใบไม้ผลิมีส่วนช่วยอนุรักษ์คุณค่าทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของชาติเวียดนาม ./.