จังหวัดยาลายอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้อง

Nguyễn Thảo
Chia sẻ
(VOVWORLD) - ฆ้องคือเครื่องดนตรีพื้นเมืองที่สะท้อนเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆในเขตที่ราบสูงเตยเงวียน โดยบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติ ในเวลาที่ผ่านมา จังหวัดยาลายได้มีมาตรการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนอย่างมีประสิทธิภาพ
จังหวัดยาลายอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้อง - ảnh 1การแสดงฆ้องในพิธีรำลึกครบรอบ 15ปีที่บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเตยเงวียนได้รับการรับรองให้เป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายนปี 2020

ทีมฆ้องเด็ก Pleiku Roh ที่เขตเอียนโด๋ะ เมือง Pleiku กำลังฝึกตีฆ้องเพื่อแสดงในกิจกรรมต้อนรับปีใหม่ 2021ตามประเพณี  ทีมฆ้องเด็ก Pleiku Roh มีสมาชิก 17คน โดยศิลปินรุ่นใหม่ ซิวทึม เป็นครูสอนและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่สมาชิกทีม Pleiku Roh ศิลปินซิวทึมเผยว่า หลังจากแต่งงานและย้ายไปอยู่อาศัยที่เมือง Pleiku Roh เมื่อปี 2008 เขาได้เห็นว่า ในพื้นที่มีแค่ทีมฆ้องของผู้สูงวัยเพียงทีมเดียว จึงตั้งใจเปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่เยาวชนและเด็กในช่วงค่ำ  ต่อมา มีการจัดตั้งทีมฆ้องอีก 2ทีมสำหรับยุวชนและเยาวชน ซึ่งทำให้การแสดงฆ้องได้ปรากฎในทุกกิจกรรมของชุมชน เช่น งานแต่งงาน พิธีไหว้เจ้าขอพรให้ทารกครบเดือนและงานขึ้นบ้านใหม่ เป็นต้น

“คนรุ่นใหม่ในปัจจุบันติดอินเตอร์เน็ตและให้ความสนใจวัฒนธรรมจากต่างประเทศ โดยไม่สนใจวัฒนธรรมฆ้องมากนัก ผมเป็นศิลปินตีฆ้องและอยากสืบทอดศิลปะการตีฆ้องของบรรพบุรุษให้แก่คนรุ่นใหม่ ถ้าทำให้เข้าใจศิลปะแขนงนี้อย่างถ่องแท้ พวกเขาก็ชื่นชอบและเรียนการตีฆ้องได้เร็วมาก”

นาย Siu Rên กำนันผู้ใหญ่ของหมู่บ้าน  O ตำบล Ia O อำเภอ Ia Grai ได้เผยว่า ชนเผ่า Jrai ถือฆ้องเป็นมรดกของครอบครัวเนื่องจากไม่เพียงแต่เป็นเครื่องดนตรีเพื่อสร้างความสุข และผ่อนคลายความเหงาเท่านั้น หากยังแสดงให้เห็นถึงความอิ่มหนำของครอบครัวอีกด้วย ซึ่งแต่ละครอบครัวในหมู่บ้านต่างพยายามซื้อฆ้องอย่างน้อย 1 ชุดเพื่อแสดงในงานสำคัญๆ โดยไม่ต้องยืมจากเพื่อน พร้อมทั้งเผยว่า ครอบครัวเขามีฆ้อง 2ชุด โดยเฉพาะมี 1ชุดสำหรับผู้อาวุโสใช้แสดงในงานที่สำคัญๆ เช่น งานศพ งานเปอร์ทีหรืองานส่งดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่สุคติ ซึ่งเป็นโลกของหย่าง หรือก็คือโลกแห่งเทพเจ้าและพิธีแทงกระบือ เป็นต้น

“ผมได้ซื้อฆ้องชุดที่มีค่านี้หลังจากการเก็บเกี่ยวได้ผลดีเพื่อมอบให้ลูกหลานใช้แสดงในงานที่สำคัญๆ เช่น งานศพ งานเปอร์ที พิธีกรรมแทงกระบือและงานขึ้นบ้านใหม่ อีกทั้งเพื่ออนุรักษ์ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า ซึ่งต้องเก็บรักษาฆ้องชุดนี้เป็นอย่างดีและห้ามขายให้แก่คนอื่น”

จังหวัดยาลายอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้อง - ảnh 2นาย Siu Rên กำนันผู้ใหญ่ของหมู่บ้าน  O ตำบล Ia O อำเภอ Ia Grai 

จังหวัดยาลายเป็นท้องถิ่นที่เก็บรักษาฆ้องมากที่สุดในเขตที่ราบสูงเตยเงวียนคือรวมกว่า 5,600 ชุด นับจนถึงปี 2020  โดยเป็นฆ้องชุดโบราณที่มีค่า 930ชุด หน่วยงานวัฒนธรรมระดับอำเภอและเมืองในจังหวัดฯได้จัดการประกวดบรรเลงฆ้องประจำปีและการมอบฆ้องให้แก่หมู่บ้านต่างๆ ซึ่งช่วยสร้างบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องและส่งเสริมการอนุรักษ์ฆ้องของประชาชนชนกล่มน้อยเผ่าต่างๆ นาย เหงวียนซวนห่า หัวหน้าแผนกวัฒนธรรมและการสื่อสารเมือง Pleiku ได้เผยว่า“ทุกปี ทางการท้องถิ่นได้ซื้อฆ้องเพื่อมอบให้หมู่บ้านต่างๆไว้ใช้ฝึกตีฆ้อง ส่วนแผนกชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆได้เปิดชั้นเรียนสอนการตีฆ้องให้แก่คนรุ่นใหม่ โดยศิลปินอาวุโสเป็นครูสอน ซึ่งเด็กๆก็มีความชื่นชอบและเรียนตีฆ้องเก่งมาก”

หลังจากบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องได้รับการรับรองเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การยูเนสโก้ ในตลอด 15ปีที่ผ่านมา จังหวัดยาลายได้ปฏิบัติตามคำมั่นต่างๆอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การจัดงานเทศกาลฆ้องครั้งใหญ่และการยกย่องศิลปินตีฆ้อง เป็นต้น นาย เหงวียนดึ๊กหว่าง รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและการท่องเที่ยวจังหวัดยาลายได้เผยว่า“จังหวัดยายได้จัดงานเฟสติวัลฆ้องนานาชาติเมื่อปี 2009 งานเฟสติวัลฆ้องเตยเงวียนปี 2018และเสนอให้ท้องถิ่นต่างๆสอดแทรกการสอนการตีฆ้องในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนต่างๆ”

จังหวัดยาลายเน้นใช้ประโยชน์จากบรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องเพื่อพัฒนาการท่องเที่ยว เช่น พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน ผสานระหว่างงานเทศกาลกับมรดกทางธรรมชาติ เช่น งานเทศกาลดอกบัวตอง-ภูเขาไฟ Chư Đang Ya งานเทศกาลหญ้ามูลี่และงานวันวัฒนธรรมและกีฬาของชนกลุ่มน้อยเผ่าต่างๆ การแข่งเรือบนแม่น้ำ Pô Cô และงานมหกรรมวัฒนธรรมฆ้อง เป็นต้น ซึ่งทำให้จังหวัดยาลายเป็นจุดเด่นในการอนุรักษ์บรรยากาศวัฒนธรรมฆ้องของชนกลุ่มน้อยแห่งเขตที่ราบสูงเตยเงวียน.

Komentar