ความคิดที่ลึกซึ้งในการแต่งหนังสือของคนเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ

Phi Hà - VOV5
Chia sẻ
(VOVWORLD) -ในจำนวนนักเขียนเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ นอกจากนักเขียนที่แต่งหนังสือเป็นภาษาเวียดนามแล้วยังมีบางคนที่ได้ประสบความสำเร็จในการแต่งหนังสือเป็นภาษาท้องถิ่นและสร้างชื่อเสียงบนเวทีวรรณกรรมโลกอีกด้วย
ความคิดที่ลึกซึ้งในการแต่งหนังสือของคนเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ - ảnh 1นักแปล ย๊าปวันจุง 

เมื่อเอ่ยถึงปัจจัยสำคัญๆในการเขียนวรรณกรรมให้ไพเราะเพื่อดึงดูดใจผู้อ่านในทั่วโลก นักแปล ย๊าปวันจุง ผู้ที่ได้แปลวรรณกรรมฮังการี่หลายเล่มเป็นภาษาเวียดนามให้ข้อสังเกตุว่า “หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือต้องสะท้อนเอกลักษณ์ของประชาชาติ ซึ่งหมายถึงการพิสูจน์ให้ผู้อ่านรับรู้และเข้าถึงเอกลักษณ์ของประชาชาติตน” ซึ่งทุกชาติทุกวัฒนธรรมก็ต้องทำตามลักษณะนี้ “ในวงการวรรณกรรมโลกนั้นมีนักเขียนหลายคนที่ไม่ใช้ภาษาแม่ในการเขียนหนังสือแต่ก็ประสบความสำเร็จ อย่างเช่นนักเขียน Kazuo Ishiguro ที่ได้รับรางวัลโนเบลปี 2017 เป็นชาวอังกฤษเชื้อสายญี่ปุ่น เขาได้ย้ายมาอาศัยในอังกฤษตั้งแต่ 6 ขวบและได้เขียนวรรณกรรมเป็นภาษาอังกฤษ แน่นอนว่า เขาสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้ดีกว่าภาษาญี่ปุ่น เมื่อ 10 ปีก่อน ผมเคยแปลบทสัมภาษณ์เขาเป็นภาษาเวียดนาม เขาไม่ปฏิเสธแหล่งกำเนิดของตนที่เป็นคนเอเชีย และเขาก็ได้ยกย่องและให้ความเคารพถึงคุณค่าของประชาชาติญี่ปุ่นที่เขาได้สืบทอด”

ความคิดที่ลึกซึ้งในการแต่งหนังสือของคนเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ - ảnh 2ลินดาเล (Photo Internet) 

ลินดาเล นักเขียนหญิงชื่อดังของฝรั่งเศสที่มีผลงานเขียนหนังสือกว่า 20 เล่ม โดยหนังสือเรื่อง “คลื่นใต้น้ำ” เคยถูกเสนอให้รับรางวัล Goncourt ซึ่งเป็นรางวัลอันทรงเกียรติที่สุดของวงการวรรณกรรมฝรั่งเศส ลินดาเลเกิดที่ประเทศเวียดนามและไปอาศัยที่ฝรั่งเศสกับแม่ที่มีสัญชาติฝรั่งเศสในขณะที่คุณพ่อ ซึ่งเป็นคนเวียดนามยังอยู่อาศัยในเวียดนาม การพลัดพรากนี้ได้สร้างความปวดร้าวที่สะท้อนให้เห็นในหนังสือแต่ละหน้าของเธอ “ความทรงจำของดิฉันเกี่ยวกับวัยเด็กที่อาศัยในเวียดนาม มีความลึกซึ้งมากจนได้สะท้อนออกมาในหนังสือหลายเล่มของดิฉัน โดยเฉพาะหนังสือที่เขียนเกี่ยวกับคุณพ่อ เพราะวัยเด็กของดิฉันมีความผูกพันกับคุณพ่อและได้ทราบซึ้งในสิ่งที่ท่านได้สอนให้ดิฉัน”

การที่เธอได้เขียนวรรณกรรมเป็นภาษาฝรั่งเศสโดยไม่ได้ใช้ภาษาเวียดนามถือเป็นหนึ่งในความทรมานใจของเธอในตลอดเวลาที่ผ่านมาดังที่เธอได้บอกว่า “ ดิฉันต้องเลือกระหว่างความซื่อสัตย์กับวัฒนธรรมตะวันออกที่คุณพ่อเป็นตัวแทนกับวัฒนธรรมและสังคมตะวันตกที่คุณแม่เป็นตัวอย่าง”

มีนักเขียนหญิงอีกคนที่เราอยากพูดถึงคือคุณ กิมทวี๊ ชาวแคนาดาเชื้อสายเวียดนามได้เขียนนวนิยายเรื่องแรกที่ใช้ชื่อเรื่อง “รู” เป็นภาษาฝรั่งเศส ตีพิมพ์โดยสำนักพิพม์ Libre Expression ซึ่งได้รับราง “ผู้สำเร็จราชการ” สาขาวรรกรรมของแคนาดาปี 2010 รางวัล Grand Prix RTL/2010 รางวัล Grand Prix du Salon du Livre de Montreal 2010 และมีลิขสิทธิ์ใน 11 ประเทศ ส่วนหนังสือเล่มที่ 2 คือ “ Atoi” ที่เธอเขียนกับคุณ Pascal Janovjak นักเขียนชาวสวิสเซอร์แลนด์ ซึ่งตีพิมพ์ในแคนาดา

ความคิดที่ลึกซึ้งในการแต่งหนังสือของคนเวียดนามที่อาศัยในต่างประเทศ - ảnh 3นักเขียน กิมทวี๊ (Photo Internet) 

นักเขียน กิมทวี๊เผยว่า ในฐานะนักเขียนเชื้อสายเวียดนามที่อาศัยในแคนาดาและแต่งหนังสือเป็นภาษาฝรั่งเศส เธอมีความสุขที่ได้ใช้หลายภาษา และการใช้หลายภาษาได้ส่งผลดีต่อแนวทางการเขียนหนังสือของเธอ ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลช่วยให้หนังสือเรื่อง “รู” มีความแตกต่างกับหนังสือเล่มอื่นๆ ที่แม้จะเขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสแต่สะท้อนภาพลักษณ์และลีลาเป็นแบบเวียดนาม” “ดิฉันคิดว่า ลีลาของเรื่องก็สำคัญเหมือนเนื้อหา จึงได้พยายามสะท้อนผ่านหนังสือเรื่อง “รู” แต่ฉันไม่ใช่กวีและไม่สามารถแต่งบทกวี แต่ละคำที่เลือกใช้ก็มีความสำคัญเป็นอย่างมากเพราะไม่เพียงแต่ดีสำหรับเนื้อเรื่องเท่านั้น หากมีคุณภาพ สีสัน ลีลาและกลิ่นอายของคำนั้นๆด้วย”

นอกจากนี้แล้วในวงการนักเขียนที่แต่งหนังสือเป็นภาษาอังกฤษที่มีเชื้อสายเวียดนามยังมีหลายคนที่สามารถสร้างชื่อเสียง เช่น เหงียนแทงเหวียด Monique Truong และหลายแทงห่า เป็นต้น ซึ่งนักแปลย๊าปวันจุงให้ข้อสังเกตุว่า “นักเขียนเหล่านี้ล้วนเป็นผู้ที่มีความสามารถพิเศษ แม้อาจจะมีการปฏิเสธรากเง่าถิ่นกำเนิดแต่ความเป็นประชาชาตินั้นยังถูกสะท้อนให้เห็นในงานเขียนต่างๆเพราะความเป็นเอกลักษณ์ของประชาชาตินั้นได้ฝังลึกอยู่ในใจของพวกเขามาโดยธรรมชาติ”.

Komentar