ศิลปิน โงวันด๋าย จากหมู่บ้านจีจี๋ |
บ๊าดเอิม (Bat am) เป็นวงดนตรีพื้นเมืองที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวภาคเหนือเวียดนามที่มักจะแสดงในงานเทศกาลและพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าแห่งหมู่บ้านและพิธีศพ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 8 ประเภทที่ทำจากดิน ทองแดง ไม้ หิน หนัง ไผ่ น้ำเต้าและเครื่องสาย ได้แก่ เครื่องดนตรีซออู้ พิณโห่ ขลุ่ย พิณเหงวียด ตาม บ่งโบก แก๋งและเซงเตี่ยน
ในตลอด 60 ปีที่ผ่านมา ศิลปิน หวูกวางเหลียน อายุ 86 ปี ได้ทุ่มเทให้แก่การอนุรักษ์และสอนการเล่นชุดเครื่องดนตรีบ๊าดเอิมและการตีกลองเพื่อแสดงในงานเทศกาลต่างๆให้แก่คนรุ่นใหม่และประชาชนในหมู่บ้านจีจี๋ ตำบลจีจุง อำเภอฟู้เซวียน กรุงฮานอย ศิลปินหวูกวางเหลียน เผยว่า ดนตรีบ๊าดเอิมในอำเภอฟู้เซวียนได้รับการสร้างขึ้นจากศิลปะการแสดงดนตรีพระราชวังเว้ โดยคนรุ่นก่อนในหมู่บ้านฟู้เซวียนได้เดินทางไปยังกรุงเก่าเว้เพื่อเรียนรู้เมื่อหลายปีก่อน
“ หมู่บ้านของผมประกอบอาชีพการทำเสื้อเตย ซึ่งเป็นเสื้อกันฝนและแดดที่ผู้คนมักจะใช้ในอดีต ชาวบ้านนั่งเรือไปยังเมืองเว้ ซึ่งพวกเขาได้เข้าร่วมงานเทศกาลต่างๆที่เว้และชอบการแสดงดนตรีพระราชวัง หลังจากที่กลับบ้าน พวกเขาได้ทำขลุ่ยจากไผ่ เครื่องดนตรีโห่จากมะพร้าว ปัจจุบัน ผมยังคงเก็บรักษาเครื่องดนตรีนี้”
หลังจากที่ได้รับฟังการแสดงดนตรีพระราชวังหลายครั้ง คนรุ่นก่อนของหมู่บ้านฟู้เซวียนได้นำดนตรีนี้มาแสดงในพิธีเซ่นไหว้และงานเทศกาลต่างๆของหมู่บ้าน บนพื้นฐานของผลงานดนตรี “ลิวถวี-ซึ่งเป็นเพลงพระราชพิธีที่ถูกแสดงในงานเทศกาลต่างๆของชุมชน” ชาวบ้านจีจี๋ได้สร้างผลงานดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ชาวบ้านได้มีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างวงดนตรีบ๊าดเอิมที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรี 8 ประเภท สำหรับเล่นในพิธีกรรมต่าง ๆ งานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ ชาวบ้านจีจี๋ตำบลจีจุงจะแสดงชุดเครื่องดนตรีบ๊าดเอิมในศาลาประจำหมู่บ้าน ศิลปิน หวูกวางเหลียน ได้เผยว่า การควบคุมจังหวะของเครื่องดนตรีบ๊าดเอิมขึ้นอยู่กับการเป่าขลุ่ย
ศิลปิน หวูกวางเหลียน |
ในหลายปีที่ผ่านมา บรรดาศิลปินอำเภอฟู้เซวียน รวมทั้งหมู่บ้านจีจี๋ ตำบลจีจุง ได้เปิดชั้นเรียนฟรี นาย โงวันด๋าย สมาชิกกลุ่มดนตรีบ๊าดเอิมหมู่บ้านจีจี๋ ได้เผยว่า“ผมเรียนการเล่นเครื่องดนตรีจากครูเหลียนได้ 5-6 ปีแล้ว โดยสามารถเล่นเครื่องดนตรีเป็น 2 -3 อย่าง ตอนแรกต้องเรียนการเป่าขลุ่ยให้คล่อง และต้องใช้เวลา 2-3 ปีเพื่อเรียนการเล่นซออู้ ”
นาย หวูกวางหยุง นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมืองจากสถาบันวิจัยวัฒนธรรมสังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และสังคมเวียดนาม เผยว่า บรรดาศิลปินเป็นผู้ที่สืบทอดมรดกอันล้ำค่าของประชาชาติให้แก่คนรุ่นหลัง มีส่วนช่วยยกระดับจิตสำนึกของประชาชนเกี่ยวกับบทบาทที่สำคัญและความจำเป็นที่ต้องอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมเพื่อให้มรดกนี้คงอยู่ตลอดไป
“ผมดีใจมากๆที่ยังคงสานต่อและอนุรักษ์มรดก ท้องถิ่นต่างๆต้องให้ความสนใจมากขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนสานต่อ มีความเข้าใจเกี่ยวกับกลองที่ถูกแสดงในงานเทศกาลของท้องถิ่น เพราะนี่เป็นสิ่งที่ชาวท้องถิ่นต้องอนุรักษ์และสืบทอดให้แก่คนรุ่นหลัง”
เสียงกลองและผลงานดนตรีพระราชวังที่มีเอกลักษณ์ของหมู่บ้านชนบทในอำเภอฟู้เซวียน กรุงฮานอย ได้เชื่อมโยงระหว่างอดีตกับปัจจุบัน ปลูกฝังความภาคภูมิใจต่อปิตุภูมิ ประเทศ ส่งเสริมเกียรติประวัติวัฒนธรรมของประชาชาติ จากความทุ่มเท ความพยายามอนุรักษ์ของบรรดาศิลปิน ดนตรีบ๊าดเอิมและกลองพื้นเมืองยังคงได้รับการอนุรักษ์และส่งเสริมในชีวิตวัฒนธรรมปัจจุบัน.