การพบปะระหว่างภาพยนตร์สารคดีเวียดนามกับภาพยนตร์สารคดียุโรป

Ngoc Ha-Lan Anh
Chia sẻ
( VOVworld )-งานมหกรรมภาพยนตร์สารคดียุโรปและเวียดนามได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีภาพยนตร์เรื่องที่โดดเด่นได้ช่วยให้ผู้ชมได้สัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมของหลายประเทศ  ภาพยนตร์หลายเรื่องได้รับรางวัลจากงานมหกรรมนานาชาติซึ่งได้สะท้อนโลกอย่างซื่อสัตย์ มีข้อคิดเห็นใหม่ๆเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมและคุณค่าวัฒนธรรมของประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วมงาน


( VOVworld )-งานมหกรรมภาพยนตร์สารคดียุโรปและเวียดนามได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอยและนครโฮจิมินห์เมื่อไม่นานมานี้ โดยมีภาพยนตร์เรื่องที่โดดเด่นได้ช่วยให้ผู้ชมได้สัมผัสและเข้าใจวัฒนธรรมของหลายประเทศ  ภาพยนตร์หลายเรื่องได้รับรางวัลจากงานมหกรรมนานาชาติซึ่งได้สะท้อนโลกอย่างซื่อสัตย์ มีข้อคิดเห็นใหม่ๆเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงของสังคมและคุณค่าวัฒนธรรมของประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วมงาน

การพบปะระหว่างภาพยนตร์สารคดีเวียดนามกับภาพยนตร์สารคดียุโรป - ảnh 1
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง  " สอนหนังสือในเมฆหมอก "

ท่าน ปาตรีซีโอ กูซมานนักถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีรุ่นเดอะระดับโลกเคยเปรียบเทียบว่า “ ประเทศที่ไม่มีภาพยนตร์สารคดีเปรียบเสมือนครอบครัวหนึ่งที่มีไม่อัลบั้มภาพครอบครัว ” ซึ่งคำเปรียบเทียบนี้ได้สะท้อนจากภาพยนตร์สารคดีของเวียดนามที่ส่งเข้าร่วมงานมหกรรมภาพยนตร์สารคดียุโรป-เวียดนามครั้งที่ ๗ โดยภาพยนตร์เรื่อง “ เจื่องซา-เวียดนาม ”เป็นการยืนยันอธิปไตยของเวียดนามและความตั้งใจของประชาชนเวียดนามในการสร้างสรรค์และปกป้องทะเลและเกาะแก่งของประเทศ  ส่วนภาพยนตร์เรื่อง “ หยาดน้ำกลางมหาสมุทร ” มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตและภารกิจของพลเอกหวอเงวียนย้าป นายพลแห่งตำนานและพี่ใหญ่ของกองทัพประชาชนเวียดนามทีได้สร้างความประทับใจต่อผู้ชม  ภาพยนตร์เรื่อง “ บ้านนอก ”กล่าวถึงชนบท ชีวิตทางวัตถุและจิตใจของเกษตรกรในยุคแห่งเศรษฐกิจเชิงตลาด ส่วนภาพยนตร์เรื่อง “ แม่น้ำห่งมี ๑๒ สาย ” กล่าวถึงชีวิตทางจิตใจและวัฒนธรรมของคนเวียดตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ  ท่านฝ่ามถิ่เตวี้ยต ผู้อำนวยการบริษัทภาพยนตร์สารคดีวิทยาศาสตร์ส่วนกลางเปิดเผยว่า งานมหกรรมภาพยนตร์สารคดีครั้งนี้ไม่เพียงแต่เป็นการการพบปะระหว่างภาพยนตร์สารคดียุโรปและเวียดนามเท่านั้น หากยังเป็นการพบปะระหว่างผู้ถ่ายทำภาพยนตร์รุ่นต่างๆภายในประเทศอีกด้วย  ท่านฝ่ามถิ่เตวี้ยตกล่าวว่า   “ ดิฉันเห็นว่าไม่มีสไตล์เก่าในการถ่ายทำภาพยนตร์  ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์รุ่นต่างๆมีวิธีการถ่ายทำเป็นของตนเอง มีคนรุ่นใหม่และรุ่นอาวุโสส่งผลงานเข้าร่วม ซึ่งถือเป็นการพบปะระหว่างผู้ถ่ายทำภาพยนตร์ สิ่งที่สำคัญคือหัวเรื่องและวิธีการนำเสนอ  มีภาพยนตร์หลายผลงานที่ผลิตมานานที่เข้าร่วมงานเช่น ภาพยนตร์เรื่อง เสียงไวโอลินที่หมีลายที่ผลิตเมื่อปีค.ศ. ๑๙๙๘  ภาพยนตร์เรื่อง บ้านนอก ที่ผลิตเมื่อปี ๒๐๐๑และภาพยนตร์เรื่อง สิ่งที่หลงเหลืออยู่กับกาลเวลาที่ผลิตเมื่อปี ๒๐๐๕ แต่ก็มีภาพยนตร์ที่เพิ่งผลิตใหม่ๆเช่นเมื่อปีที่แล้ว  ทั้งนี้ทำให้ผู้ชมได้ชมภาพยนตร์ที่มีคุณภาพและมีสาระน่าสนใจ

ในขณะที่ภาพยนตร์เวียดนามกล่าวถึงปัญหาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคมและประชาชาติหนึ่ง ภาพยนตร์สารคดีของยุโรปกลับกล่าวถึงปัญหาส่วนตัวเช่น เพศ ครอบครัว เส้นทางค้นหาและค้นพบตัวเอง  ภาพยนตร์แต่ละเรื่องเป็นเรื่องราวส่วนตัว ชะตาชีวิตและเรื่องในใจของคนคนหนึ่ง อีกทั้งเป็นเรื่องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อความหลงไหลดนตรีพื้นบ้านของนักดนตรีคนหนึ่งในภาพยนตร์เรื่อง “ ลีลาแห่งภูมิลำเนา ” ของเยอรมนี หรือภาพยนตร์เรื่อง “ เป็นเด็กดี ” ของอิสราเอลและ “ เส้นแบ่งที่อ่อนไหว ” ของฝรั่งเศสที่กล่าวถึงเรื่องเพศ  ดร.อัลมูธ เมเยอร์-โซลลิสช์ หัวหน้าสถาบันเกอเธ่ประจำเวียดนามที่เป็นผู้จัดงานมหกรรมภาพยนตร์สารคดียุโรป-เวียดนามหลายครั้งเห็นว่า ภาพยนตร์ของยุโรปและเวียดนามในงานมหกรรมครั้งนี้มีความแตกต่างกัน ซึ่งได้สร้างการพบปะที่น่าสนใจระหว่างสไตล์ภาพยนตร์ของสองฝ่าย  “ มีการพบปะระหว่างสองฝ่าย หนึ่งคือ สไตล์การถ่ายทำภาพยนตร์เช่น ภาพยนตร์บางเรื่องมีคำแนะนำเนื้อหาของภาพยนตร์และยังมีภาพยนตร์ที่ไม่ได้มีคำแนะนำแต่ตัวละครจะเล่าเรื่องของตนเอง สองคือ หัวข้อภาพยนตร์คือการพบปะ หากภาพยนตร์ของเอเชียและเวียดนามมักจะกล่าวถึงหัวเรื่องที่มีลักษณะประชาชาติ หัวเรื่องเกี่ยวกับสังคม วัฒนธรรม คนและประเทศ แต่ภาพยนตร์ของยุโรปกลับเชิดชูอัตลักษณ์ของบุคคล กระบวนการแสวงหาและยืนยันอัตลักษณ์ดังกล่าว

ในหลายปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์สารคดีได้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในโลก การที่มีภาพยนตร์สารคดีที่โดดเด่นของโลกและเวียดนาม ๒๐ เรื่องได้นำมาฉายในงานมหกรรมภาพยนตร์สารคดีในครั้งนี้สะท้อนมุมมองและความรู้สึกที่แตกต่างกันเกี่ยวกับชีวิตในปัจจุบัน แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างผลงานและสไตล์การถ่ายทำของผู้กำกับชาวเวียดนามและยุโรป  ท่านอาร์เน เบอร์แคนสต๊อค ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดีที่มีชื่อเสียงชาวเยอรมันเห็นว่า  ความสังเกตที่เปิดใจและซื่อสัตย์เกี่ยวกับโลกในภาพยนตร์สารคดีจะช่วยให้ผู้ชมและนักถ่ายทำภาพยนตร์เวียดนามมีโอกาสศึกษาชีวิตทางวัฒนธรรมและความจริงที่หลากหลายผ่านภาพยนตร์  นายอาร์เนเปิดเผยว่า  “ ประเทศเวียดนามกำลังมีการเปลี่ยนแปลง ผมคิดว่าที่นี่เป็นสถานที่เหมาะสำหรับการสร้างภาพยนตร์สารคดีที่ดี  ภาพยนตร์สารคดีไม่จำเป็นต้องมีแค่การสัมภาษณ์ต่างๆแล้วนำมาตัดต่อแต่ขึ้นอยู่กับเป็นวิธีการพัฒนาเรื่องราวมากกว่า

ผ่านมา ๗ ครั้ง งานมหกรรมสารคดียุโรป-เวียดนามสามารถลดช่องว่างระหว่างภาพยนตร์สารคดีของเวียดนามกับโลกจนกลายเป็นจุดนัดพบทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจสำหรับผู้ชม โดยจำนวนผู้ชมเพิ่มขึ้นแต่ละปีซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ภาพยนตร์สารคดีได้รับความสนใจจากผู้ชมมากขึ้นเรื่อยๆ ./. 

Komentar