โบราณสถาน กำแพงแทงเจียมและการปรากฎของอักษรก๊วกหงือ

Dinh Thieu-Hoai Nam /VOV
Chia sẻ
(VOVWORLD) -โบราณสถานแห่งชาติ “กำแพงแทงเจียม”ที่ต.เดี๋ยนเฟือง เดี๋ยนบ่าน จ.กว๋างนาม เปรียบเสมือนเป็นเมืองเอกแห่งที่สอง เป็นศูนย์กลางทางการเมือง การทหาร เศรษฐกิจและวัฒนธรรมของเขตด่างจองหรือภาคกลางเวียดนาม ต่อจากเมืองฟู้ซวนที่จ.เถื่อเทียนเว้ ในสมัยพระเจ้าเหงวียน เวลาได้ผ่านไปกว่า400ปี “กำแพงแทงเจียม” ที่เลื่องลือในอดีตนั้นเหลือแต่ร่องรอย ดังนั้นทางการจังหวัดกว๋างนามได้วางแผนฟื้นฟูกิจการนี้ขึ้นมาใหม่เพื่อสร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งของกว๋างนาม
โบราณสถาน กำแพงแทงเจียมและการปรากฎของอักษรก๊วกหงือ - ảnh 1ซุ้มประตูเข้าหมู่บ้านตั้งอยู่ในโบราณสถาน กำแพงแทงเจียม

ตามข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ เมื่อปี1602 พระเจ้าเตียนเงวียนหว่างได้ก่อตั้งเขตกำแพงเมืองกว๋างนามหรือเรียกว่า กำแพงเเทงเจียม ที่ต.เกิ่วฮุก ต่อมาได้ย้ายไปที่ต.แทงเจียม อ.เดี๋ยนบ่าน ซึ่งในอดีต กำแพงเเทงเจียมถือเป็นเมืองเอกแห่งที่สองในสมัยพระเจ้าเหงวียนในภาคกลางเวียดนามช่วงปี1602-1833 ที่นี่เคยเป็นฐานทัพเรือที่เข้มแข็งที่สามารถต่อสู้กับกองเรือต่างชาติจากฮาลันดาและรบชนะการโจมตีครั้งใหญ่7ครั้งของกองทัพตริ๋ง  ตั้งแต่ปี1617-1625 ณ กำแพงเเทงเจียมแห่งนี้ นักบวชชาวโปรตุเกส ฟรานซิสโก เดอ ปีนา ได้มาเรียนภาษาโนมเวียดนามและเผยแผ่ศาสนาคริสต์เป็นภาษาโนมพร้อมทั้งสอนภาษาโนมให้แก่นักบวชอีกสองคนคือ อาเลกซานดรี เดอ โรดส์ ชาวฝรั่งเศสและ อันโตนิโอ ฟอนเต ชาวโปรตุเกส  เขายังเป็นผู้เขียนหลักสูตรการแปลภาษาโนมเวียดนามเป็นตัวอักษรลาตินและหนังสือสอนเกี่ยวกับ ไวยากรณ์เพื่อเป็นหลักสูตรในการศึกษากฎเกณฑ์ของภาษาเวียดนาม ดังนั้นนักวิจัยประวัติศาสตร์และวิทยาศาสตร์เวียดนามถือว่า กำแพงแทงเจียม ถือเป็นแหล่งกำเนิดของภาษาก๊วกหงือแห่งแรกของเวียดนาม

ปัจจุบันนี้ กำแพงแทงเจียม ที่โด่งดังในอดีตนั้นเสียหายไปเกือบหมดเหลือแต่ร่องรอยของสิ่งปลูกสร้างบางส่วนเช่น วัดฮึงลองและศาลาหมู่บ้านแทงเจียม เป็นต้น เมื่อเร็วๆนี้ทางการจังหวัดกว๋างนามได้วางแผนก่อสร้างฟื้นฟูโบราณสถานแห่งนี้บนพื้นที่เดิมรวม1หมื่น2พันตารางเมตรเพื่อเป็นการอนุรักษ์ประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่สำคัญช่วงหนึ่งของเวียดนาม โดยจะมีการก่อสร้างเขตวังชั้นใน ส่วนจัดแสดงวัตถุสิ่งของต่างๆ ศิลาจารึกของกำแพงแทงเจียมและสัญลักษณ์ของภาษาก๊วกหงือ รวมทั้งร่องรอยสถานที่สำคัญต่างๆอีก10แห่ง อันเป็นการมีส่วนร่วมยืนยันถึงสถานะและบทบาทของโบราณสถานแห่งนี้ในกระบวนการพัฒนาเขตภาคกลางเวียดนาม  นาย โห่ซวนติ่งห์ รองผู้อำนวยการสำนักงานวัฒนธรรม กีฬาและท่องเที่ยวจ.กว๋างนามเผยว่า “การอนุรักษ์และฟื้นฟูร่องรอยต่างๆของกำแพงแทงเจียมนั้นเป็นงานที่ยากเพราะไม่มีอะไรเหลืออยู่บนดิน เราต้องอาศัยเอกสารข้อมูลที่มีอยู่ ดังนั้นอันดับแรกที่ต้องทำคือตั้งศิลาจารึกของกำแพง สร้างตึกวางแสดงสิ่งของวัตถุต่างๆที่ขุดค้นได้ในชั้นใต้ดิน รวมทั้งอนุสาวรีย์เชิดชูภาษาก๊วกหงือ นักบวชชาวต่างชาติและชาวเวียดนามที่มีส่วนร่วมสำคัญในการคิดค้นและพัฒนาภาษาก๊วกหงือหรือภาษาเวียดนามในปัจจุบัน

โบราณสถาน กำแพงแทงเจียมและการปรากฎของอักษรก๊วกหงือ - ảnh 2ศิลาจารึกในหมู่บ้าน แทงเจียม (baoquangnam.vn) 

ส่วนนายเหงวียนซวนห่า  รองประธานคณะกรรมการประชาชนอ.เมืองเดี๋ยนบ่านจ.กว๋างนามเผยว่า ทางการท้องถิ่นจะพยายามอย่างเต็มที่เพื่อประสานงานในการฟื้นฟูเขตโบราณสถานกำแพงแทงเจียมนี้ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวกว๋างนาม “ปัจจุบัน กำแพงนี้เหลือแต่ร่องรอยเล็กน้อยในบางส่วนเท่านั้น ซึ่งเราได้วางแผนผังส่วนที่อยู่ในโครงการฟื้นฟูเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การก่อสร้างโครงสร้างจำลองของเขตชั้นในเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ช่วงหนึ่งของภาคกลางเวียดนาม

ในโอกาสรำลึก415ปีกำแพงแทงเจียมและรับมอบหนังสือประกาศเป็นเขตโบราณสถานแห่งชาติ ทางการท้องถิ่นได้จัดกิจกรรมวัฒนธรรมต่างๆบนพื้นที่ของเมืองเก่าเพื่อเป็นการส่งเสริมเชิดชูคุณค่าเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของกำแพงแทงเจียมรวมทั้งการให้กำเนิดภาษาเวียดนามเพื่อเป็นการแสดงความสำนึกในคุณูปการของบรรพบุรุษในการสร้างชาติ.

Komentar