กิงบั๊ก ถิ่นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและใฝ่การศึกษาหาความรู้

VOV5
Chia sẻ
( VOVWorld )- ทุกครั้งเมื่อเอ่ยถึงบั๊กนินห์คนเวียดนามมักจะนึกถึงคำว่ากิงบั๊กซึ่งเป็นชื่อของถิ่นอารยธรรมอันเก่าแก่ของภาคเหนือเวียดนามที่ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดบั๊กนินห์ พื้นที่ส่วนหนึ่งจังหวัดบั๊กยาง อำเภอดงแองและตำบลลองเบียนกรุงฮานอย  จังหวัดบั๊กนินห์ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักแพร่หลายไม่เฉพาะในเวียดนามเท่านั้น หากยังในต่างประเทศอีกด้วยเพราะเพลงพื้นเมืองทำนองกวานเหาะของที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  และยังมีประวัติศาสตร์ใฝ่การศึกษาหาความรู้ด้วย 


( VOVWorld )- ทุกครั้งเมื่อเอ่ยถึงบั๊กนินห์คนเวียดนามมักจะนึกถึงคำว่ากิงบั๊กซึ่งเป็นชื่อของถิ่นอารยธรรมอันเก่าแก่ของภาคเหนือเวียดนามที่ครอบคลุมพื้นที่ของจังหวัดบั๊กนินห์ พื้นที่ส่วนหนึ่งจังหวัดบั๊กยาง อำเภอดงแองและตำบลลองเบียนกรุงฮานอย  จังหวัดบั๊กนินห์ในปัจจุบันเป็นที่รู้จักแพร่หลายไม่เฉพาะในเวียดนามเท่านั้น หากยังในต่างประเทศอีกด้วยเพราะเพลงพื้นเมืองทำนองกวานเหาะของที่นี่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกวัฒนธรรมนามธรรมของมนุษยชาติจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก  และยังมีประวัติศาสตร์ใฝ่การศึกษาหาความรู้ด้วย 
กิงบั๊ก ถิ่นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและใฝ่การศึกษาหาความรู้ - ảnh 1

วันเมี้ยวบั๊กนินห์ที่จังหวัดบั๊กนินห์ภาคเหนือประเทศเวียดนามเป็นหนึ่งในสถานที่สามแห่งที่บูชาขงจื๊อและจารึกชื่อของจอหงวนกับผู้ที่จบการศึกษาอันดับหนึ่งสมัยศักดินา  ดังนั้นวันเมี้ยวบั๊กนินห์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการศึกษาใฝ่หาความรู้ของเขตกิงห์บั๊ก 

วันเมี้ยวบั๊กนินห์ตั้งอยู่ในกลางเมืองบั๊กนินห์ ซึ่งอยู่ห่างจากกรุงฮานอยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๓๐ กิโลเมตรและเป็นหนึ่งวันเมี้ยว ๖ แห่งของเวียดนามที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสะท้อนเกียรติแห่งการศึกษาใฝ่หาความรู้ผ่านระยะเวลาในการสร้างสรรค์และปกป้องประเทศของรัชกาลต่างๆ  นายเหงวียน ซุย เญิต หัวหน้าหน่วยบริหารโบราณสถานจังหวัดบั๊กนินห์เปิดเผยว่า สถานที่ตั้งวันเมี้ยวบั๊กนินห์เดิมอยู่ที่เชิงเขาโจว์ เซิน แต่เนื่องจากสถานที่บูชานี้เสื่อมโทรมตามกาลเวลา ดังนั้นจึงถูกก่อสร้างขึ้นใหม่ ณ สถานที่ในปัจจุบันที่ภูเขาฟุ้ก ดึ๊ก ตำบลด่าย ฟุ้ก เมืองบั๊ก นินห์ปีค.ศ. ๑๘๙๓ และก่อนที่จะก่อสร้างวันเมี้ยวแห่งใหม่ดังกล่าว  ปีค.ศ. ๑๘๘๙ ขุนนางโด่ จ่อง หวี ที่ดูแลด้านการศึกษาของจังหวัดบั๊ก นินห์ได้สั่งให้จารึกรายชื่อผู้ที่สอบติดอันดับหนึ่ง ๖๗๗ ท่านของเขตกิง บั๊กบนแผ่นศิลา ๑๒ แผ่น นายเญิตกล่าวว่า  วันเมี้ยวบั๊กนินห์ถูกซ่อมแซมปฏิสังขรณ์อีกครั้งเมื่อปีค.ศ.๑๙๒๘และได้มีการจารึกเกี่ยวกับกิจกรรมการปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น ความหมายของวันเมี๊ยวและบุคคลที่มีความสามารถและมีคุณสมบัติเพียบพร้อมบนแผ่นศิลาขนาด ๑๐ ตารางเมตร  ทั้งนี้และทั้งนั้นเพื่อยกย่องบุคคลเหล่านี้ ส่วนแผ่นศิลาทั้งหมดกลายเป็นมรดกที่หาค่ามิได้ของวันเมี๊ยวบั๊กนินห์  นายเญิตเผยต่อไปว่า “ จากคุณค่าทั้งหมดของวันเมี๊ยวบั๊กนินห์สามารถยืนยันได้ว่า สถานที่แห่งนี้เป็นเอกลัษณ์อันโดดเด่นเกี่ยวกับเกียรติประวัติการศึกษาใฝ่หาความรู้ของถิ่นบั๊กนินห์ ซึ่งมีผู้ที่สอบได้จอหงวนและดร.สมัยศักดินามากเป็นหนึ่งในสามของประเทศ

กิงบั๊ก ถิ่นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและใฝ่การศึกษาหาความรู้ - ảnh 2
แผ่นศิลาจารึกเกี่ยวกับความหมายของวันเมี้ยว

ปัจจุบัน โบราณสถานวันเมี๊ยวบั๊กนินห์ได้กลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมเชิงศึกษา เกียรติประวัติการศึกษาใฝ่หาความรู้และมีผู้สอบได้อันดับหนึ่งของประเทศจำนวนมาก  ซึ่งเป็นสถานที่ที่คณะนักเรียนของจังหวัดที่สอบได้รางวัลระดับชาติมาจุดธูปและรายงานผลการเรียน  นายหว่างฮุยเหลย สมาชิกคณะกรรมการดูแลเขตโบราณสถานวันเมี๊ยวบั๊กนินห์เปิดเผยว่า  “ เด็กๆมักจะมาที่นี่จุดธูปบูชาและอธิษฐานในช่วงต้นปีหรือก่อนการสอบเลื่อนชั้นเพื่อขอให้บรรดาปราชญ์ด้านการศึกษาเหล่านี้ให้กำลังใจและเด็กๆจะเรียนรู้ตัวอย่างการศึกษาเล่าเรียนเพื่อกลายเป็นผู้ที่มีประโยชน์ต่อชาติบ้านเมืองในภายภาคหน้า

นอกจากนี้ จังหวัดบั๊กนินห์ยังมีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งที่น่าสนใจเช่น ฮวงซุ้ยกษัตริย์กิง เซือง เวือง โบราณสถานศาลเจ้าบูชาหลาก ลอง กวนและพระนางเอิวเกอ กำแพงเก่าลิว เลิว ถนนตลาดและวัดวาอารามต่างๆ อีกทั้งมีหมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองและหมู่บ้านศิลปะพื้นเมืองต่างๆที่ขึ้นชื่อเช่น หมู่บ้านภาพพื้นเมืองดงโห่ หมู่บ้านร้องเพลงกาจู่แทงเตืองและหมู่บ้นหุ่นกระบอกน้ำบุ่ย ซ้า  ที่จังหวัดบั๊กนินห์ยังมีสถาปัตยกรรมหลายแห่งที่ผูกพันกับประวัติความเป็นมาและการพัฒนาพุทธศาสนาในเวียดนามเช่น วัดเยิว วัดบุ๊ต ท้าปหรือวัดนินห์ ฟุ้ก ตื่อ ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมทางพุทธศาสนาที่โดดเด่นโดยมีพระพุทธรูปและโบราณวัตถุอันล้ำค่าที่สะท้อนถึงความคิดสร้างสรรค์ของคนเวียดนามโบราณในด้านศิลปะสถาปัตยกรรมและประติมากรรม  นายเหงวียนหิวนาม เจ้าหน้าที่ดูแลด้านวัฒนธรรมของอำเภอถ่วน แถ่ง เปิดเผยว่า  “ นี่คือวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งในบั๊กนินห์ โดยภายในวัดยังเก็บรักษาสิ่งประติมากรรมที่โดดเด่นตั้งแต่ศตวรรษที่ ๑๗ โดยเฉพาะพระโพธิสัตว์พันมือและเจดีย์บ่าวเงียมหรือเจดีย์ท้าป บุ๊ต  แม้ต้องผ่านสงครามและเสื่อมโทรมตามกาลเวลา แต่วัดบุ๊ต ท้าปยังคงความโบราณไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้

กิงบั๊ก ถิ่นท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและใฝ่การศึกษาหาความรู้ - ảnh 3
วัดบุ๊ต ท้าป

ปัจจุบัน  จังหวัดบั๊กนินห์ยังคงอนุรักษ์อารยธรรมของเขตกิงบั๊กไว้ได้อย่างไม่เสื่อมคลาย ซึ่งสะท้อนจากเกียรติประวัติวัฒนธรรมและครรลองชีวิตของชาวบ้าน รวมถึงเกียรติประวัติใฝ่การศึกษาหาความรู้ของชาวบ้านที่ได้สืบต่อกันมารุ่นแล้วรุ่นเล่าจนมีผู้สอบติดดร.หลายร้อยท่าน ./.

 

Komentar