แรงงานอินโดนีเซียก่อนการผสมผสานเข้ากับเออีซี

Trung Cường/VOV5
Chia sẻ
(VOVworld)กระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแส เศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังใกล้มาถึงอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพิจารณาและประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของ สถานประกอบการภายในประเทศซึ่งปัจจัยฝีมือและทักษะวิชาชีพของแรงงานคือปัญหา ใหญ่หลังจากเออีซีได้รับการจัดตั้งโดยประเทศอาเซียน รวมทั้งอินโดนีเซียที่เน้นให้ความสนใจอยู่เสมอเพราะอินโดนีเซียมีประชากร เป็นจำนวนมากและเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานเป็นจำนวนมากในภูมิภาค
(
VOVworld)กระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจอาเซียนที่กำลังใกล้มาถึงอย่างเต็มที่ ปัจจุบัน ประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังพิจารณาและประเมินขีดความสามารถในการแข่งขันของสถานประกอบการภายในประเทศซึ่งปัจจัยฝีมือและทักษะวิชาชีพของแรงงานคือปัญหาใหญ่หลังจากเออีซีได้รับการจัดตั้งโดยประเทศอาเซียน รวมทั้งอินโดนีเซียที่เน้นให้ความสนใจอยู่เสมอเพราะอินโดนีเซียมีประชากรเป็นจำนวนมากและเป็นประเทศที่ส่งออกแรงงานเป็นจำนวนมากในภูมิภาค

แรงงานอินโดนีเซียก่อนการผสมผสานเข้ากับเออีซี - ảnh 1

อินโดนีเซียเป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดของอาเซียนโดยมีประชากรกว่า 250 ล้านคนและเป็นประเทศที่มีสถานประกอบการมากที่สุดโดยมีกว่า 5 ล้านแห่ง ดังนั้น เมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีได้รับการจัดตั้งในปลายปีนี้ การขยายตลาดในภูมิภาคของสถานประกอบการอินโดนีเซียจะสร้างกระแสการลงทุนและการค้าขนาดใหญ่ในกลุ่ม
ถึงกระนั้น เพื่อปฏิบัติยุทธศาสตร์พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อใช้โอกาสจากเออีซี สถานประกอบการอินโดนีเซียต้องพยายามเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกับประเทศสมาชิกอื่นๆของอาเซียน ปัจจัยด้านบุคลากรและฝีมือแรงงานยังคงเป็นอุปสรรคใหญ่ต่ออินโดนีเซียในการขยายความร่วมมือด้านการค้ากับประเทศอาเซียน นี่ไม่เพียงแต่เป็นความท้าทายต่อสถานประกอบการเท่านั้น หากยังเป็นความวิตกกังวลของรัฐบาลอินโดนีเซียอีกด้วย นาง Wendy Ariyani อธิบดีกรมหุ้นส่วนอาเซียนสังกัดกระทรวงพาณิชย์อินโดนีเซียได้เผยว่า “ถ้าหากพวกเรามีทักษะวิชาชีพต่างๆ เช่น การบัญชีในแต่กลับไม่สามารถใช้ภาษาต่างประเทศได้อย่างคล่องแคล่ว พวกเราก็ไม่สามารถทำงานได้ ดังนั้นปัญหาบุคลากรต้องได้รับความสนใจเพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศที่สถานประกอบการให้ความสนใจประกอบธุรกิจ”
นี่ก็คือความคิดเห็นของนาง Judit Emma ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารของบริษัท Franchise ที่ประกอบธุรกิจในด้านการขยายแฟรนไชส์ในอินโดนีเซีย นาง Judit Emma ได้เผยว่า ปัจจุบัน บริษัทกำลังวางยุทธศาสตร์ขยายการประกอบธุรกิจไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค เช่นมาเลเซีย ฟิลิปปินส์และเวียดนามและเน้นถึงงานด้านบุคลากร “ปัญหาแรกคือปัญหาบุคลากร นั่นคือพนักงานที่มีฝีมือดีที่ได้รับการฝึกอบรม การประกอบธุรกิจของบริษัทได้รับการปฏิบัติตามสัญญา นอกจากนั้น พวกเราไม่เพียงแต่จัดสรรผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์เท่านั้นหากยังเน้นถึงคุณภาพและเครื่องหมายการค้าของผลิตภัณฑ์อีกด้วย”

แรงงานอินโดนีเซียก่อนการผสมผสานเข้ากับเออีซี - ảnh 2
แรงงานอินโดนีเซีย (Reuters)

เมื่อก่อน อินโดนีเซียเน้นส่งออกแรงงานไร้ฝีมือ เช่น แม่บ้าน กรรมกรและพยาบาลไปทำงานในต่างประเทศ ทุกปี อินโดนีเซียส่งออกแรงงานกว่า 5 แสนคนไปยังซาอุดิอาระเบีย มาเลเซียและไต้หวันซึ่งในนั้นมีแรงงานฝีมือดีไม่ถึงร้อยละ 1 แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันอินโดนีเซียวางเป้าหมายที่จะส่งออกแรงงานที่เรียนจบมหาวิทยาลัยและแรงงานฝีมือดีไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค โดยเฉพาะพยายามให้บรรลุร้อยละ 10 ภายในปี 2016และร้อยละ 20 ภายในปี 2020 นาย Bachrul Chairi อธิบดีกรมร่วมมือการค้าระหว่างประเทศสังกัดกระทรวงพาณิชน์อินโดนีเซียได้เผยว่า“อินโดนีเซียมีผลประโยชน์มากมายในการเข้าร่วมเออีซีเพราะพวกเราจะส่งออกแรงงานฝีมือดีไปยังประเทศสมาชิกอาเซียนเป็นจำนวนมาก เพื่อค้ำประกันความต้องการด้านแรงงาน ปัจจุบัน พวกเราได้กำหนด 8 แขนงอาชีพหลัก รวมทั้ง แพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปนิก ผู้เชี่ยวชาญด้านธนาคารและผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว หลังจากได้รับการฝึกอบรมและตอบสนองมาตรฐานของอาเซียน แรงงานเหล่านี้จะทำงานในต่างประเทศ”
โดยการเคลื่อนย้ายของแรงงานระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนหลังจากเปิดประชาคมในปลายปีนี้และการเข้าร่วมของแรงงานฝีมือดี อินโดนีเซียมีความพยายามที่จะกลายเป็นศูนย์กลางจัดสรรแรงงานชั้นนำให้แก่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหลังปี 2015.

Komentar