แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย

Minh Lý - VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) - ปัจจุบัน แนวโน้มการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในหมู่นักศึกษาจบใหม่หรือพนักงานบริษัทต่างๆในประเทศไทยนับวันเพิ่มมากขึ้น จนถึงเดือนมีนาคมปี 2016 ไทยมีบริษัทสตาร์ทอัพ 2 พันแห่ง รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้เงินทุนส่วนตัวและเงินทุนจากกลุ่ม Venture Capital  มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อกระตุ้นให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด

(VOVworld) - ปัจจุบัน แนวโน้มการทำธุรกิจสตาร์ทอัพในหมู่นักศึกษาจบใหม่หรือพนักงานบริษัทต่างๆในประเทศไทยนับวันเพิ่มมากขึ้น จนถึงเดือนมีนาคมปี 2016 ไทยมีบริษัทสตาร์ทอัพ 2 พันแห่ง รวมมูลค่า 10,000 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่ใช้เงินทุนส่วนตัวและเงินทุนจากกลุ่ม Venture Capital  มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและสร้างนวัตกรรมใหม่ๆเพื่อกระตุ้นให้บริษัทเติบโตอย่างก้าวกระโดด

แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย - ảnh 1
นาย ตรัย สัสตวัฒนา ซีอีโอของ Lawvender

ใน 2ปีมานี้ นาย ตรัย สัสตวัฒนา อายุ 28 ปี ทนายความอิสระและผู้อำนวยการมูลนิธิ ณภาฯ ในพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภาที่ให้ความช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส โดยเฉพาะสนับสนุนด้านงานทำให้แก่อดีตผู้ต้องขัง ซึ่งจากประสบการณ์ในการทำงานและเพื่อแก้ไขปัญหาการเข้าถึงกฎหมายของประชาชน รวมถึงการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการจัดทำสัญญาและการฟ้องร้องต่างๆ นาย ตรัย สัสตวัฒนาและเพื่อนอีก 4 คนได้ก่อตั้งสำนักงานที่ช่วยเชื่อมโยงระหว่างผู้ที่ต้องการบริการด้านกฎหมายกับทนายความเพื่อกระตุ้นให้คนมาหาทนายความมากขึ้น ส่วนทนายความสามารถทำงานได้มากขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น จนถึงขณะนี้ บริษัทของตรัย สัสตวัฒนา และเพื่อนได้ดำเนินงานมาเป็นเวลา 6 เดือนแล้วและมีพนักงาน 7 คน
“สตาร์ทอัพ ของผมชื่อ Lawvender คาดว่า เราจะสามารถ launchตัวอย่างเป็นทางการที่ lawender.com  ภายในปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนหน้า ตอนนี้ มีแบบ mail email ออนไลน์ messageหรือโทรมาก็มี ลูกค้ากลุ่มนี้เป็นกลุ่มแรกที่ช่วยในการทดสอบระบบของเราให้มันมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ เพราะเราต้องเริ่มจากการที่เราเก็บข้อมูลลูกค้าประเภทหนึ่งกับทนายความประเภทหนึ่งก่อน แล้วดูว่า พวกเขามีความเกี่ยวข้องกันยังไง เพราะเรามีการวิจัยเรื่องของกลุ่มคนอยู่แล้ว ทำให้เราสามารถเอามันมา match เข้าในระบบ เรามีพลัง เราทำงานตามแบบของเราแต่จุดหนึ่งก็ต้องยอมรับว่า เรื่องของ budget ก็เป็นสิ่งสำคัญ เราได้ออกงาน pitching เราก็ได้เงินมาและสมทบเงินทุนบ้าง”
เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Lawvenderได้รับรางวัลอันดับ 3 ในการประกวด “ออมสิน สุดยอดแนวคิดพลิกธุรกิจไทย”และได้รับเงินรางวัล 2 แสนบาท นอกจากนี้ ได้ติดหนึ่งใน 20  ทีมสตาร์ทอัพไทยที่คัดเลือกโดยบริษัทดีแทค
แนวโน้มการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพในประเทศไทย - ảnh 2
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวปราศัยในงาน startup thailand & digital thailand ภาคใต้ในระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน ณ จังหวัดภูเก็ต 

ส่วนรายงานของบริษัท Tech Soft ระบุว่า เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 2 ของปี 2016 มีบริษัท สตาร์ทอัพที่ได้รับการลงทุน ซึ่งถือว่าเป็น สตาร์ทอัพที่ได้ประสบความสำเร็จมากกว่า 70 ราย มูลค่าการลงทุนคิดเป็นกว่า 4 พันล้านบาท สำหรับประเภทของธุรกิจสตาร์ทอัพ ที่มีการลงทุนจากกลุ่ม venture capital มากที่สุด 4 กลุ่มแรกก็คือกลุ่มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มการเงินและระบบชำระเงิน กลุ่มโลจิสติกและกลุ่มธุรกิจเกมส์ ส่วนผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ก่อตั้งสตาร์ตอัพในประเทศไทยจำนวน 30 รายเกี่ยวกับอุปสรรคของสตาร์ทอัพไทยที่จัดทำโดยสมาคมไทยผู้ประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Thai Venture Capital Association) หรือสมาคม VC ไทย เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาปรากฎว่า สตาร์ทอัพร้อยละ 76.70 ขาดบุคลากร  ร้อยละ 40 ประสบปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน และร้อยละ 33.30  ต้องการเงินทุน นายชาติชาย พยุหนาวีชัยผู้อำนวยการธนาคารออมสินได้เสนอมาตรการแก้ไขปัญหาเงินทุนของสตาร์ทอัพว่า
“เราสามารถให้กู้เป็นวงเงินกู้สำหรับเอสเอ็มอี สตาร์ทอัพได้ เราตั้งไว้ว่า ถ้าเป็นสตาร์ทอัพ รายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เราจะมีดอกเบี้ยพิเศษ ใน2ปีแรก เราให้ดอกเบี้ยแค่3.99% ในขณะเดียวกัน ออมสิน เรามีการตั้ง เขาเรียกว่าventure cap เรามีการตั้งกองทุนขึ้นมาอีก 2พันล้านบาทเพื่อที่จะร่วมทุนกับสตาร์ทอัพเหล่านี้รายละไม่เกิน 10ล้านบาท ดังนั้น ถ้าหากเป็น สตาร์ทอัพ ใหม่ๆเกิดขึ้น ออมสินก็สามารถเข้ามาช่วยด้านเงินกู้ได้10 ล้านบาท เงินทุนนี้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ย ถ้าเกิดธุรกิจที่ดี เราก็สามารถไปร่วมลงทุนได้”
นอกเหนือจากการปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษแล้ว ธนาคารออมสินได้ให้การสนับสนุนการพัฒนา นวัตกรรม พร้อมทั้งเปิดการฝึกอบรมด้านบัญชี การผลิตและการขายให้แก่บริษัทสตาร์ทอัพ รวมถึงได้จัดการประกวด “ออมสิน สุดยอดแนวคิดพลิกธุรกิจไทย”ที่มีเงินรางวัลมากถึง 1 ล้านบาทแก่บริษัทสตาร์ทอัพ
ส่วนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้ร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องและบริษัทเอกชนจัดงาน startup thailand & digital thailand ระดับภูมิภาค 2016 ที่ประกอบด้วย งาน startup thailand & digital thailand ภาคเหนือในระหว่างวันที่ 5 – 7 สิงหาคม ณ จังหวัดเชียงใหม่  งาน startup thailand & digital thailand ภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระหว่างวันที่ 26-28 สิงหาคม ณ จังหวัดขอนแก่นและงาน startup thailand & digital thailand ภาคใต้ในระหว่างวันที่ 16-18 กันยายน ณ จังหวัดภูเก็ต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยประสัมพันธ์บริษัทสตาร์ทอัพและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างบริษัทสตาร์ทอัพกับกลุ่ม Venture Capital  โดยในงาน "Startup Thailand 2016" ครั้งแรก ในระหว่างวันที่ 28 เมษายนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ณ กรุงเทพฯ มีธุรกิจสตาร์ทอัพไทยกว่า 180 รายเข้าร่วมและมีผู้เข้าชมงาน 3 หมื่น 6 พันคน ซึ่งถือเป็นงานสตาร์ทอัพที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย  นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายนที่ผ่านมา รัฐบาลไทยได้จัดตั้งคณะกรรมการสตาร์ทอัพแห่งชาติ หรือ วิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติเพื่อสนับสนุนการทำธุรกิจสตาร์ทอัพอย่างเต็มที่  ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เผยว่า
“ตั้งแต่การที่เรามีคณะกรรมการสตาร์ทอัพแห่งชาติ หรือ วิสาหกิจเริ่มต้นแห่งชาติ ซึ่งได้วางนโยบายทั้งในส่วนโครงสร้างพื้นฐาน การลดภาษีเพื่อสร้างแรงจูงใจ การสร้างสิ่งแวดล้อมเพื่ออำนวยให้แก่ระบบสตาร์ทอัพ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการไม่ทิ้งคนไว้ข้างหลังของนายกรัฐมนตรีเพราะฉะนั้นในรอบ 2 เดือนที่ผ่านมา เราได้นำเอางานสตาร์ทอัพออกสู่ภูมิภาคเพื่อให้สตาร์ทอัพในภูมิภาคได้มีโอกาสเช่นเดียวกับสตาร์ทอัพในส่วนกลาง”
สำหรับแนวทางการพัฒนาธุรกิจสตาร์ทอัพ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ให้คำมั่นว่า จะสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเศรษฐกิจทุกภาคส่วนโดยใช้กลไกประชารัฐเพื่อใช้ประโยชน์จากพลังทุกแหล่งในสังคม พร้อมทั้งทำการปรับปรุงระบบกฎหมายและผลักดันการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนสตาร์ทอัพพัฒนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของรัฐบาลไทยในการใช้ฐานเศรษฐกิจนี้เพื่อการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0 ที่เปลี่ยนจากการขับเคลื่อนประเทศด้วยภาคอุตสาหกรรมไปสู่การขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรม.

Komentar