อาเซียน – สองปีของการจัดตั้งประชาคม |
อาจกล่าวได้ว่า หลังการจัดตั้งมาเป็นเวลา 2 ปี ประชาคมอาเซียนได้บรรลุผลงานที่น่ายินดีใน 3 เสาหลักทั้งความมั่นคง – การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม – สังคม นี่คือความคิดเห็นของนายเหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศเวียดนามและหัวหน้า SOM ASEAN Vietnam โดยในความร่วมมือด้านการเมือง – ความมั่นคง จากเป้าหมายการสร้างสรรค์ประชาคมบนพื้นฐานของกฎระเบียบที่มุ่งสู่ประชาชน ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง กิจกรรมต่างๆในแผนปฏิบัติถึงปี 2025 ได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวางและมีประสิทธิภาพ ช่วยเพิ่มศักยภาพในการพึ่งพาตนเองของอาเซียน มีส่วนร่วมต่อการธำรงสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพในภูมิภาค ขยายความสัมพันธ์ต่างประเทศและเพิ่มทักษะความสามารถในด้านระเบียบการอาเซียน “ระเบียบการต่างๆที่อาเซียนเสนอและเป็นผู้แนะแนว เช่น ข้อคิดริเริ่มเกี่ยวกับความร่วมมือของการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกหรืออีเอเอส การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอาเซียนขยายวงหรือเอดีเอ็มเอ็ม + ได้รับการขยายทั้งในด้านขอบเขตและเนื้อหา ซึ่งสร้างความคุ้นเคยให้แก่การสนทนา ความร่วมมือและมุ่งสู่การสร้างสรรค์โครงสร้างของภูมิภาคที่ยั่งยืน โปร่งใสและคล่องตัว ส่งเสริมบทบาทเป็นศูนย์กลางของอาเซียน แม้ประสบอุปสรรคนานัปการแต่อาเซียนยังคงธำรงความสามัคคีและจุดยืนร่วมกันในปัญหาระดับภูมิภาคและโลกต่างๆ เช่น สถานการณ์ทะเลตะวันออก สถานการณ์บนคาบสมุทรเกาหลีและปัญหาการเมืองภายในของเมียนมาร์ เป็นต้น ธำรงการสนทนาเกี่ยวกับทะเลตะวันออก ซึ่งสามารถเห็นได้จากเอกสารฉบับต่างๆของอาเซียน โดยเฉพาะในปี 2017 อาเซียนและจีนได้บรรลุกรอบความตกลงว่าด้วยหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซี ซึ่งเป็นการเริ่มต้นระยะใหม่ของการเจรจาอย่างจริงจังในปี 2018”
การอนุมัติกรอบซีโอซีถือเป็นพื้นฐานทางนิตินัยให้แก่ขั้นตอนการเจรจาในระยะต่อไประหว่างทุกฝ่ายเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นรูปธรรมในซีโอซี กำหนดหลักปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกและเขตทะเลที่พิพาทกัน
ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนาม ( Photo สถานทูตไทยประจำเวียดนาม) |
ในด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือของอาเซียนก็ได้รับการปฏิบัติอย่างกว้างขวาง ผ่านการใช้มาตรการการค้าเสรี ผลักดันการเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจหุ้นส่วนต่างๆผ่านการปรับปรุงและยกระดับข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอที่ได้ลงนามไปแล้วและลงนามข้อตกลงเอฟทีเอฉบับใหม่ๆ เช่น ข้อตกลงเอฟทีเอกับฮ่องกง ประเทศจีน ผลักดันการเจรจาเอฟทีเอกับสหภาพยุโรปและพิจารณาการเจรจากับหุ้นส่วนอื่นๆ เป็นต้น ในสองปีที่ผ่านมา เงินลงทุนจาก 6 หุ้นส่วนที่เป็นเศรษฐกิจที่มีศักยภาพและพัฒนาคือ สาธารณรัฐเกาหลี จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดียและนิวซีแลนด์ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 11 บรรลุกว่า 4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ เศรษฐกิจของบรรดาประเทศอาเซียนยังคงมีเสถียรภาพต่อไปด้วยอัตราการขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 4.8 ต่อปี ที่น่าสนใจคือด้านภาษี โดยอาเซียนได้วางกระบวนการยกเลิกการกีดกันทางการค้าและกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่ที่ร้อยละ 0-5 ผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA และข้อตกลงการค้าสินค้าอาเซียนหรือ ATIGA ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามได้เผยว่า “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเมื่อประชาคมเศรษฐกิจเกิดขึ้น การค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เวียดนาม การลงทุนที่เกิดขึ้นจากประเทศอาเซียนอยู่อันดับ topten มี 10 อันดับแรก มีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซียและไทย ถึง 3 อันดับที่อยู่ใน 10 อันดับต้น เขาเรียกว่า เป็นสิ่งบ่งชี้ที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันของระบบการผลิตในอาเซียนเข้าเป็นด้วยกัน โดยเฉพาะกับไทย จะเห็นว่า การค้าเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบัน การค้าขายระหว่างเวียดนามกับไทยไม่เหมือน 30 ปีก่อน ปัจจุบันมีการลงทุน การฝึกอบรมคนของแต่ละฝ่าย เวียดนามก็เริ่มไปลงทุนในประเทศไทยแล้ว มีบริษัท Vietjet ได้เข้าไปแล้ว ไปจดทะเบียนถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐและจ้างพนักงานไทยถึง 300 คน ซึ่งเป็นพัฒนาการที่น่าจับตามอง ที่ 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเราเห็นว่า มีเฉพาะฝ่ายไทยมาลงทุนที่นี่ ตอนนี้เราเห็นว่ามีการลงทุนจากทั้งสองฝ่าย”
จากการปฏิบัติคำขวัญ ประชาคมที่มุ่งสู่ประชาชน ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ความร่วมมือในด้านวัฒนธรรม – สังคมก็ได้ให้ความสนใจถึงประชาชนทุกชั้นชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงต่างๆ เช่น แรงงานอพยพ ผู้สูงอายุ เด็กพิการ เป็นต้น เมื่อปี 2017 บรรดาประเทศสมาชิกอาเซียนได้อนุมัติข้อตกลงฉบับต่างๆ เช่น จัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานด้านวิชาการภาครัฐ ค้ำประกันสิทธิของแรงงานอพยพในอาเซียนและข้อตกลงฉบับต่างๆเกี่ยวกับสตรี เยาวชนและคนพิการ ความร่วมมือในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ภัยธรรมชาติและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมก็ได้รับการส่งเสริม โดยเฉพาะการให้การช่วยเหลือมนุษยธรรมแก่ประชาชนมาราวีที่ฟิลิปปินส์และชาว Royka ที่เมียนมาร์ ควบคู่กันนั้น อาเซียนยังให้ความสนใจถึงกิจกรรมการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมภายในประชาคม เช่น การจัดงานมหกรรม “ ASEAN+ Children Festival 2017” เด็กหญิง Alexsa Ledistira ตัวแทนของคณะอินโดนีเซียเผยว่า “หนูได้มีโอกาสเจอเพื่อนๆและศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นองค์กรที่มีความร่วมมือ มีความเป็นเอกภาพและสามัคคีสูง เนื่องจากสามารถดึงดูดการเข้าร่วมแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของแต่ละประเทศสมาชิก”
ผลสำเร็จดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นว่า ความร่วมมืออาเซียนมีศักยภาพมาก สะท้อนการให้ความสนใจเป็นอันดับต้นๆต่อความเชื่อมโยงและการผสมผสาน ความร่วมมือฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อการพัฒนาจะเป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อให้อาเซียนบรรลุเป้าหมายต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้อาเซียนมีบทบาทสำคัญในนโยบายของหุ้นส่วนต่างๆ โดยเฉพาะประเทศมหาอำนาจ.