(VOVworld) – ความต้องการของหน่วยงานการบินอินโดนีเซียกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ นโยบายเปิดน่านฟ้าอาเซียน ที่คาดว่า จะได้รับการปฏิบัติภายในปี๒๐๑๕ เมื่อประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้ง ซึ่งจะสร้างบรรยากาศธุรกิจใหม่ที่มีความโปร่งใสมากขึ้น แต่ทว่าการแข่งขันก็จะมีความดุเดือดมากขึ้นเช่นกัน ดังนั้น อินโดนีเซียจึงต้องมียุทธศาสตร์พัฒนาใหม่เพื่อฟันฝ่าความท้าทายนี้และใช้โอกาสเพื่อการพัฒนา
|
อินโดนีเซียเตรียมพร้อมให้แก่นโยบายเปิดน่านฟ้าอาเซียน(Photo:giaothongvantai) |
เมื่อปี๒๐๑๒ สนามบินต่างๆของอินโดนีเซียต้องรองรับเที่ยวบิน๑ล้าน๕แสนเที่ยว เพิ่มขึ้นเป็น๒เท่า เมื่อเทียบกับปี๒๐๑๑ ซึ่งได้สร้างแรงกดดันต่อระบบขนส่งทางอากาศ ปัจจุบัน ทุกปี อินโดนีเซียขาดแคลนนักบินประมาณ๘๐๐คน แต่สามารถผลิตนักบินได้เพียง๒๐๐ถึง๒๕๐คนเท่านั้น นอกจากนี้ ระบบสนามบิน และการบริหารการจราจรทางอากาศก็ประสบปัญหาเพราะมีผู้โดยสารมากเกินไป ดังนั้นทุกเที่ยวบินจึงช้ากว่ากำหนดการบินอย่างน้อย๓๐นาที เพื่อแก้ไขปัญหานี้ รัฐบาลและบริษัทการบินของอินโดนีเซียได้ดำเนินมาตรการทั้งในระยะสั้นและระยะยาว บริษัทการบินหลายแห่งได้รับสมัครนักบินต่างชาติและรวมทั้ง นักบินของกองทัพด้วย นายEndic Trewedater ที่เคยฝึกอบรมเป็นนักบินของเครื่องบินรบซูคอยและปัจจุบันขับเครื่องบินโดยสาร กล่าวว่า “ความแตกต่างคือเครื่องแบบ ส่วนการบริการ ความรู้และความชำนาญเหมือนกัน เที่ยวบินโดยสารมีความซับซ้อนน้อยกว่าแบบฝึกในกองทัพ แต่มองโดยทั่วไปแล้วก็ เหมือนๆกัน ”
นอกจากนี้ เนื่องจากขาดแคลนสนามบิน ดังนั้น สนามบินทหารจึงถูกนำมาใช้ประโยชน์โดยสามารถรองรับเที่ยวบินได้๓๐เที่ยวบินต่อวัน รวมทั้งเที่ยวบินนานาชาติ เที่ยวบินทหารและการฝึกบินภาคปฏิบัติ และใน๓ปีที่จะถึง รัฐบาลอินโดนีเซียจะลงทุนระบบควบคุมการจราจรทางอากาศ คิดเป็นมูลค่า๒๕๐ล้านเหรียฐสหรัฐซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาเที่ยวบินออกล่าช้ากว่ากำหนดการบิน๓๐นาที ปัจจุบัน อินโดนีเซียมีสำนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศแห่งเดียวโดยดูแลเครื่องบิน๑๕๐ลำ รวมทั้งเครื่องบินโดยสารและเครื่องบินทหารซึ่งยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการใหม่ของหน่วยงานการบินอินโดนีเซีย นายอัมราน ผู้อำนวยการสำนักงานควบคุมการจราจรทางอากาศแอนาของอินโดนีเซียเผยว่า“ในปี๒๐๑๖ พวกเราจะควบคุมการจราจรทางอากาศตามระบบใหม่โดยตั้งเป้าไว้ว่า จะมี๓พันเที่ยวบินออกช้ากว่ากำหนดการบิน๑๕นาที หรือเป็นร้อยละ๓๐ของเที่ยวบินทั้งหมด และในปี๒๐๑๗ ทุกเที่ยวบินจะออกช้ากว่ากำหนดการบิน๒ ถึง๓นาที”
แม้ระบบสนามบินจะไม่สามารถรับรองจำนวนผู้โดยสารที่มีมากเกินไป แต่เที่ยวบินต่างๆของอินโดนีเซียก็ได้รับการชื่นชมว่า มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งเมื่อปี๒๐๑๑ มีอุบัติเหตุเครื่องบิน๓๒กรณี มาปี๒๐๑๒ลดลงเหลือเพียง๒๗กรณี ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ายินดี โดยเฉพาะ ในขณะที่จำนวนเที่ยวบินได้เพิ่มขึ้นเป็น๒เท่าในปีที่ผ่านมาจากการขยายแหล่งบุคลากร และยกระดับคุณภาพโครงสร้างพื้นฐาน อินโดนีเซียกำลังพยายามเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งที่เข้มแข็งในอาเซียน เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย เมื่อนโยบายเปิดน่านฟ้าอาเซียนได้รับการปฏิบัติภายในปี๑๐๑๕./.
Mạnh Cường/VOV5