(VOVworld) – ประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปี 2015 ซึ่งทำให้สถานประกอบการอาเซียนกำลังมีทั้งโอกาสและความท้าทายมากมาย ในหลายปีที่ผ่านมา เพื่อให้การช่วยเหลือสถานประกอบการภายในประเทศเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจภูมิภาค รัฐบาลของประเทศสมาชิกอาเซียนได้ปฏิบัติโครงการ นโยบายและกิจกรรมให้การช่วยเหลือสถานประกอบการของตน รวมทั้งอินโดนีเซีย
ฟอรั่มการค้าและการลงทุนเวียดนาม-อินโดนีเซีย
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2015 (baomoi.com)
|
ในกลุ่มอาเซียน อินโดนีเซียเป็นประเทศใหญ่และมีประชากรมากที่สุด รวมกว่า 250 ล้านคน อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มีจำนวนสถานประกอบการมากที่สุดคือกว่า 4 แสนแห่งโดยมีผลิตภัณฑ์ที่มีจุดแข็งมากมาย เช่นสัตว์น้ำ ไม้ วัตถุดิบผลิตรองเท้า น้ำมัน เคมีภัณฑ์และเภสัชภัณฑ์ การจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปลายปี 2015 คือพื้นฐานเพื่อให้สถานประกอบการอินโดนีเซียแนะนำผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพไปยังประเทศต่างๆในภูมิภาค นาง Santi ตัวแทนบริษัท Lugas Farmaceutical ที่ผลิตและส่งออกเภสัชภัณฑ์อินโดนีเซียได้แสดงความเห็นว่า “การค้าขายจะเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น นอกจากนั้น ความต้องการด้านสินค้าของพลเมืองอาเซียนจะมีความหลากหลายและเข้มแข็งมากขึ้น พวกเราเชื่อมั่นว่า หลังจากจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี กลุ่มสถานประกอบการจะมีเงื่อนไขที่สะดวกมากขึ้นในการทำระเบียบราชการ แน่นอนว่า ทุกประเทศจะมีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน แต่พวกเรายังคงมีความคาดหวังว่า ประชาคมเศรษฐกิจเออีซีจะนำมาซึ่งผลประโยชน์มากมายให้แก่สถานประกอบการ”
เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สถานประกอบการส่งออกสินค้า เมื่อปี 2015 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศนโยบายด้านเศรษฐกิจ 5 ประเด็นโดยนโยบายที่ 4 ที่ได้รับการปฏิบัติตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2015 ได้เน้นถึงการผลักดันการจัดสรรวงเงินกู้ด้วยดอกเบี้ยต่ำ คือร้อยละ 12 ต่อปีและเอื้ออำนวยให้แก่สถานประกอบการในด้านระเบียบราชการ นอกจากนั้น ผ่านสำนักงานตัวแทนประจำประเทศสมาชิกอาเซียน รัฐบาลอินโดนีเซียได้ส่งเสริมให้สถานประกอบการผลักดันการพบปะสังสรรค์ วิจัยและศึกษาตลาดภายในประเทศ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางและให้การช่วยเหลือด้านข้อมูลแก่สถานประกอบการเกี่ยวกับตลาดที่มีศักยภาพในภูมิภาค รวมทั้งเวียดนาม นาย Sadikin อุปทูตดูแลปัญหาเศรษฐกิจของสถานทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามได้แสดงความเห็นว่า “พวกเรามีข้อเสนอแนะและแสวงหามาตรการเพื่อให้สถานประกอบการสามารถสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ด้านการค้าและการลงทุน พวกเขาจะพบปะและเรียนรู้กัน พวกเราแสวงหาสถานประกอบการเวียดนามที่มีศักยภาพเพื่อร่วมมือกับสถานประกอบการอินโดนีเซีย หลังจากนั้นจะเลือกและแสวงหาสถานประกอบการที่สอดคล้องที่สุดในด้านที่สถานประกอบการอินโดนีเซียต้องการ”
เพื่อนำผลิตภัณฑ์ของตนไปยังตลาดอื่น การได้รับการช่วยเหลือจากรัฐบาลและสำนักงานตัวแทนประจำต่างประเทศคือสิ่งที่จำเป็นซึ่งจะสร้างความไว้วางใจและช่วยให้สถานประกอบการเข้าถึงสถานประกอบการต่างประเทศได้ง่ายมากขึ้น นาง Santi ตัวแทนบริษัท Lugas Farmaceutical ได้เผยว่า “สถานประกอบการได้รับการสนับสนุนและการช่วยเหลือส่งออกสินค้าจากรัฐบาลอยู่เสมอ รัฐบาลอินโดนีเซียยังสร้างโอกาสเพื่อแสวงหาหุ้นส่วนให้แก่พวกเรา เช่นการจัดงานแสดงสินค้า ณ เวียดนามซึ่ง ณ ที่นี่ พวกเราได้จัดบูธแสดงสินค้าและได้แนะนำหุ้นส่วนที่มีศักยภาพ นอกจากนั้น พวกเรายังได้รับการช่วยเหลือในการทำระเบียบราชการและส่งออกสินค้าไปยังเวียดนามซึ่งถ้าหากพวกเราต้องทำเองก็จะประสบอุปสรรค์และความเสี่ยงมากมาย”
ชาวเวียดนามให้ความสนใจถึงสินค้าอินโดนีเซียในงานแสดงสินค้าอินโดนีเซีย ณ กรุงฮานอย
|
ในภูมิภาคอาเซียน เวียดนามเป็นตลาดที่เต็มไปด้วยศักยภาพและน่าสนใจ เวียดนามมีเงื่อนไขที่สะดวกและสอดคล้องต่อการพัฒนาและประกอบธุรกิจ เช่นมีประชากรเป็นจำนวนมาก มีกำลังซื้อในระดับสูง ค่าจ้างแรงงานอยู่ในระดับต่ำ แรงงานมีฝีมือดีและขยันหมั่นเพียรซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการอินโดนีเซียเป็นอย่างมาก
ไม่เพียงแต่ผู้ประกอบการเท่านั้น หากทั้งรัฐบาลอินโดนีเซียยังเห็นว่า เวียดนามเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในการแลกเปลี่ยนการค้าต่างประเทศของตน นี่คือคำยืนยันของนาย Dede Ruswandi ตัวแทนของกระทรวงอุตสาหกรรมอินโดนีเซียในโอกาสเดินทางมาเยือนเวียดนามเมื่อเร็วๆนี้ “รัฐบาลอินโดนีเซียมีความประสงค์ที่จะร่วมมือกับเวียดนามในกลุ่มสถานประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมและมุ่งสู่สถานประกอบการขนาดใหญ่ พวกเราเชื่อมั่นว่า ความสัมพันธ์ร่วมมือนั้นจะพัฒนามากขึ้นในอนาคต ปัจจุบัน ผู้ประกอบการอินโดนีเซียให้ความสนใจถึงตลาดเวียดนามมากขึ้น พวกเราเชื่อมั่นว่า ผู้ประกอบการเหล่านี้จะประสบความสำเร็จ”
สามารถเห็นได้ว่า การช่วยเหลือของรัฐบาลอินโดนีเซียได้นำมาผลประโยชน์โดยตรงมาให้แก่สถานประกอบการอินโดนีเซีย จากความร่วมมือกับหุ้นส่วนใหม่ๆ ผู้ประกอบการอินโดนีเซียจะก้าวรุดหน้าไปอย่างเข้มแข็งมากขึ้นในการเจาะตลาดในภูมิภาคเพื่อมีส่วนร่วมสร้างตลาดร่วมอาเซียนที่คล่องตัวและพัฒนาอย่างยั่งยืน.