(VOVworld) – “วันฉายภาพยนตร์อาเซียน”ที่มีผู้กำกับรุ่นใหม่จากประเทศไทย กัมพูชา อินโดนีเซีย พม่าและเวียดนามเข้าร่วม ที่จัดขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อเร็วๆนี้ ได้สร้างความประทับใจอันดีงามให้แก่ผู้ชม อีกทั้งเป็นโอกาสดีเพื่อให้บรรดาผู้กำกับรุ่นใหม่อาเซียนพบปะแลกเปลี่ยนประสบการณ์และยกระดับความรู้ทางวิชาชีพ
|
ภาพยนตร์การเดินทางครั้งสุดท้ายของคุณฝุ่ง(Photo: VOV) |
ภาพยนตร์สารคดี๖เรื่องที่ฉายใน“วันฉายภาพยนตร์อาเซียน”คือ “จุดหมายที่ฉันจะไป”(Where I go )ของผู้กำกับชาวกัมพูชาเนียง กาวิก “ข้างหลังฉาก”(Bihind the screen)ของผู้กำกับAung Nwai Hthwayจากประเทศพม่า “เครื่องรับโทรทัศน์สีอื่น”(Another colour TV)ของผู้กำกับชาวอินโดนีเซียโยวิสตา อาตาจีดา และดีอานตีนี อาเดไล “คอนซีเด้อร์”(Consider ) ของผู้กำกับชาวไทยภาณุ แสงชูโต และภาพยนตร์สองเรื่องของเวียดนามคือ“ยอดเขาอามูซุง””(Mount A Musung ) ของผู้กำกับเลต๊วนแองและ“การเดินทางครั้งสุดท้ายของคุณฝุ่ง”( Madame Phungs Last journey ) ของผู้กำกับเหงวียนถิทั้ม ภาพยนตร์แต่ละเรื่องมีเนื้อหาและวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันแต่ต่างเสนอปัญหาที่ต้องครุ่นคิดในสังคมปัจจุบัน ภาพยนตร์“คอนซีเด้อร์”ของไทยได้เสนอเกี่ยวกับการผ่าตัดแปลงเพศผ่านมุมมองที่หลากหลายในสังคม ส่วนภาพยนตร์“เครื่องรับโทรทัศน์สีอื่น”ของอินโดนีเซียกล่าวถึงเงื่อนไขทางวัฒนธรรม เศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัวหนึ่งในชาญกรุงจาการ์ต้า โดยคุณแม่ซึ่งเป็นคนสำคัญถูกทิ้งให้อยู่ในบ้านคนเดียวกับเครื่องรับโทรทัศน์ คุณมินลอง นักศึกษามหาวิทยาลัยโปลีเทคนิกฮานอยกล่าวว่า“นี่เป็นภาพยนตร์ของผู้กำกับอาเซียนดังนั้นจึงมีเนื้อหาที่เข้าใจง่าย ภาพยนตร์ของกัมพูชากล่าวถึงปัญหาลูกครึ่งซึ่งช่วยให้ผมเข้าใจชาวกัมพูชาได้ส่วนหนึ่ง มีชาวกัมพูชาจำนวนหนึ่งกำลังประสบความเดือดร้อน ขอขอบคุณมาก แม้จะไม่ได้อยู่ในกัมพูชาแต่ภาพยนตร์ชุดนี้ช่วยให้ผมเข้าใจวิถีชีวิตของชาวกัมพูชา ภาพยนตร์แบบนี้ไม่ค่อยถูกฉายทางทีวี ภาพยนตร์สารคดีไม่สนุกสนานเหมือนภาพยนตร์บันเทิงแต่ได้สะท้อนข้อเท็จจริง และมีความเป็นมนุษย์ กิจกรรมลักษณะนี้ดีมากเพื่อแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและช่วยให้ประชาชนประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าใจกันยิ่งขึ้น”
|
ภาพยนตร์สารคดีช่วยให้ผู้ชมเข้าใจวิถีชีวิตของประชาชนประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างจริงจัง(Photo:Baomoi.com ) |
ไม่เพียงแต่เยาวชนชอบ“วันฉายภาพยนตร์อาเซียน”เท่านั้นหากผู้สูงอายุ ดังเช่นคุณหว่างเหี่ยนผู้ชมคนหนึ่งในกรุงฮานอยก็แสดงความดีใจที่ได้ชมภาพยนตร์ของบรรดาผู้กำกับอาเซียนรุ่นใหม่อีกด้วย เขากล่าวว่า“บรรดาผู้กำกับรุ่นใหม่มีมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์ มีความคิดสร้างสรรค์ และนำสิ่งแปลกใหม่มาให้แก่ผู้ชม ผมอยากให้มีการฉายภายนตร์แบบนี้ต่อไปเพื่อสร้างความเข้าใจชีวิตสังคมในทุกด้านของประเทศสมาชิกอาเซียน มีเพียงภาพยนตร์สารคดีเท่านั้นที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจวิถีชีวิตของประชาชนประเทศสมาชิกอาเซียนอย่างจริงจังเหมือนกำลังไปท่องเที่ยว”
“วันฉายภาพยนตร์อาเซียน”อยู่ในโครงการด๊อกเน็ตอาเซียนที่ได้รับการปฏิบัติตามแนวคิดของสถาบันเกอเธ่ตั้งแต่ปี๒๐๑๒โดยสหภาพยุโรปอุปถัมภ์เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้กำกับอาเซียนรุ่นใหม่ เช่น กัมพูชา อินโดนีเซีย ไทย เวียดนามพม่าและฟิลิปปินส์ ในกรอบโครงการยังมีการจัดการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญภาพยนตร์สารคดีนานาชาติและการสัมมนาเกี่ยวกับทักษะความสามารถของผู้กำกับภาพยนตร์รุ่นใหม่ซึ่งช่วยให้ผู้กำกับภายนตร์รุ่นใหม่ยกระดับทักษะความสามารถในการถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีและประชาสัมพันธ์ภาพยนตร์เหล่านี้ในระดับโลก นายเนียง กาวิก ผู้กำกับชาวกัมพูชากล่าวว่า“กิจกรรมนี้มีความหมายสำคัญซึ่งช่วยให้ผมสะสมประสบการณ์ ความรู้วิชาชีพ ศึกษาทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ แม้จะมาจากประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกันแต่กิจกรรมนี้ช่วยขยายความเข้าใจระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน”
“วันฉายภาพยนตร์อาเซียน”ได้รับการจัดขึ้นทุกๆ๒ปีโดยครั้งนี้เป็นครั้งที่๒แต่ก็ได้รับการต้อนรับจากผู้ชมเวียดนามและการขานรับจากผู้กำกับอาเซียนรุ่นใหม่อย่างเต็มที่ นี่ก็เป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อขยายความเข้าใจระหว่างประชาชนประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อมุ่งสู่การสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนภายในปี๒๐๑๕./.