รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา”

Chia sẻ
(VOVWORLD) -วันที่ 8 สิงหาคมเมื่อ50ปีก่อน อาเซียนได้รับการก่อตั้งด้วยสมาชิก5ประเทศ ภายหลังครึ่งศตวรรษแห่งการพัฒนา อาเซียนได้สร้างนิมิตหมายที่สำคัญต่างๆแห่งความร่วมมือทั้งในและนอกกลุ่มเพื่อยืนยันสถานะแห่งองค์การภูมิภาคที่เข้มแข็ง มีความเชื่อมโยงอย่างกว้างลึกและเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก
รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 1

ในโอกาสรำลึก50ปีวันก่อตั้งอาเซียน ทางรายการขอแนะนำรายการกระจายเสียงพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” โดยเราจะพูดถึงโอกาสที่อาเซียนสร้างไว้ให้กับประเทศต่างๆในกลุ่มและบทบาทและสถานะของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศ โดยเฉพาะโอกาสของเวียดนามนับตั้งแต่เป็นสมาชิกอาเซียน

การครบรอบ50ปีก็เป็นโอกาสให้เราได้ทบทวนกระบวนการพัฒนาต่างๆที่ผ่านมาและเสริมสร้างความมั่นใจให้แก่เส้นทางที่อาเซียนต้องเดินต่อไปในอนาคต ซึ่งก่อนอื่นขอเชิญท่านร่วมกับนักข่าวของวิทยุเวียดนามทบทวนนิมิตหมายที่สำคัญและมีความหมายต่างๆนับตั้งแต่วันก่อตั้งอาเซียน

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 2เมื่อ50ปีก่อนอาเซียนได้ก่อตั้งเริ่มด้วยสมาชิก5ประเทศ (anh tu lieu) 

1.   วันที่8สิงหาคมปี1967  อาเซียนได้รับการจัดตั้งบนพื้นฐานของแถลงการณ์กรุงเทพฯ  โดยมีเป้าหมายคือผลักดันความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ วัฒนธรรมและสังคมระหว่างประเทศสมาชิก การผสมผสานเข้ากับกระแสภูมิภาคและโลกอย่างกว้างลึก

2.   ปี1976 อาเซียนได้ออกปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพและมีความเป็นกลางหรือปฏิญญาบาหลีฉบับแรกโดยแสดงความตั้งใจเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคและส่งสาส์นมิตรภาพ ความร่วมมือเพื่อสันติภาพ ความมั่นคงร่วมของภูมิภาค  การแก้ไขการปะทะและการพิพาทผ่านการเจรจาอย่างสันติกับประเทศอื่นๆในภูมิภาคผ่านสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมืออาเซียนหรือ TAC

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 3ปี1976 อาเซียนได้ออกปฏิญญาว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพและมีความเป็นกลางหรือปฏิญญาบาหลีฉบับแรก (anh tu lieu) 

3.   ปี1992  อาเซียนได้ลงนามกรอบข้อตกลงเกี่ยวกับการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในเขตการค้าเสรีอาเซียนและออกแถลงการณ์เกี่ยวกับทะเลตะวันออกเกี่ยวกับหลักการแก้ไขการพิพาทในภูมิภาคอย่างสันติ

4.  ในช่วงปี1993-1994  อาเซียนเริ่มขยายความสัมพันธ์กับประเทศต่างๆ  ผลักดันการสนทนาด้านความมั่นคงในภูมิภาคผ่านการจัดตั้งฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือARFในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนครั้งที่26ที่จะมีขึ้นเมื่อเดือนกรกฎาคมปี1993  เมื่อปี1995 อาเซียนได้ลงนามสนธิสัญญาเกี่ยวกับภูมิภาคอาเซียนที่ปลอดอาวุธนิวเคลียร์  ขานรับขบวนการลดกำลังหลังสงครามเย็นและปฏิบัติแถลงการณ์ว่าด้วยเขตสันติภาพ เสรีภาพและความเป็นกลางหรือZOPFANเมื่อปี1971

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 4เวียดนามได้เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนปี1995ในการประชุมอาเซียนที่ประเทศบรูไน(anh tu lieu) 

5.   ในช่วงปี1995-1997   อาเซียนได้เริ่มกระบวนการขยายองค์การผ่านการรับเวียดนามเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อวันที่28กรกฎาคมปี1995 เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการเสร็จสิ้นการขยายองค์การที่ประกอบด้วย10ประเทศสมาชิก  อาเซียนได้อนุมัติวิสัยทัศน์อาเซียนปี2020ในเดือนธันวาคมปี1997  เมื่อปี1999 กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่10ของอาเซียน ซึ่งเป็นการเสร็จสิ้นเป้าหมายของอาเซียนคือกลายเป็นองค์การในภูมิภาคที่มี10ประเทศสมาชิก

6.  ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่8 ณ ประเทศกัมพูชา เมื่อเดือนพฤศจิกายนปี2002   นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้เสนอความคิดริเริ่มเกี่ยวกับการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี  เมื่อปี2003  อินโดนีเซียได้เสนอให้จัดตั้งประชาคมความมั่นคงเพื่อสร้างบรรยากาศที่สันติภาพ เสถียรภาพและการแก้ไขปัญหาการพิพาทอย่างสันติ  หลังจากนั้น เพื่อสร้างความสมดุลย์ในการพัฒนา อาเซียนได้เห็นพ้องที่จะจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรม

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 5รัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในพิธีประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนที่จาการ์ต้า เดือนธันวาคมปี2008 

7.   ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่8 อาเซียนและจีนได้ลงนามแถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีเพื่อแสวงหามาตรการแก้ไขปัญหาในทะเลตะวันออกอย่างสันติ

8.  ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่9 ณ เกาะบาหลี  ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนตุลาคมปี2003  อาเซียนได้ออกปฏิญญาบาหลีฉบับที่2  โดยยืนยันถึงความตั้งใจเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนบนสามเสาหลักคือประชาคมความมั่นคงหรือเอเอสซี ประชาคมเศรษฐกิจหรือเออีซีและประชาคมสังคมและวัฒนธรรมหรือเอเอสซีซี

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 6 นายกฯมาเลเซียมอบหนังสือรับรองประชาคมอาเซียนให้แก่เลขาธิการอาเซียน

9.  เมื่อวันที่20พฤสจิกายน ปี2007  กฎบัตรอาเซียนได้รับการลงนามและมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่15ธันวาคมปี2008  ซึ่งเป็นก้าวพัฒนาที่สำคัญที่สุดของอาเซียนนับตั้งแต่ได้รับการจัดตั้งและ  สร้างพื้นฐานทางนิตินัยเพื่อให้อาเซียนกลายเป็นประชาคมเดียว

10.        วันที่31ธันวาคมปี2015  ประชาคมอาเซียนเปิดตัวอย่างเป็นทางการ  อันเป็นการเปิดระยะใหม่แห่งความเชื่อมโยงของอาเซียน.

ด้วยประชากรกว่า620ล้านคน อาเซียนถือเป็นประชาคมที่มีวัฒนธรรมที่หลากหลายและเป็นเอกลักษณ์โดยยึดหลักเป้าหมายการพัฒนาเพื่อประชนและถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง ในกระแสนั้นพลเมืองอาเซียนเองมีความเข้าใจอย่างไรเกี่ยวกับอาเซียนโดยเฉพาะชาวเวียดนาม


รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 7

คุณเหงวียนหุ่ง 

คุณเหงวียนหุ่ง เจ้าของร้านขายของที่ระลึกเลขที่ 80 ถนนห่างกาย เขตหว่านเกี๊ยม กรุงฮานอย “ร้านของผมมีนักท่องเที่ยวชาวยุโรปมาอุดหนุนเป็นจำนวนมาก ส่วนนักท่องเที่ยวจากอาเซียนมีแต่นักท่องเที่ยวจากประเทศไทย เมื่อก่อน ผมพูดภาษาอังกฤษเพื่อแนะนำและขายสินค้าให้แก่นักท่องเที่ยว แต่ตอนนี้ ได้เรียนภาษาไทยนิดหน่อยเพื่อสามารถพูดคุยกับนักท่องเที่ยวจากประเทศไทยที่นับวันมาเยือนเวียดนามมากขึ้น”

 

  

 
รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 8 คุณ เจืองมิงดึ๊ก

 

 คุณ เจืองมิงดึ๊ก จากเครือบริษัทโทรคมนาคม Vinaphone ให้ข้อสังเกตว่า “ไม่รู้ว่า ตอนนี้ จำนวนประเทศอาเซียนมีเท่าไหร่ แต่รู้ว่า มีประเทศอะไรที่เข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ซึ่งในการแข่งขันฟุตบอลซีเกมส์ครั้งที่ 29 ณ ประเทศมาเลเซีย เราจะไปเชียร์บอลเวียดนามต่อไป”

 

 

 


รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 9

 

 คุณฟานเหวี่ยนมี อายุ 19ปี นักเรียนของศูนย์พัฒนาทักษะความสามารถด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์เวียดนาม “ประชาชนในประเทศอาเซียนไม่รู้จักภาพยนตร์ของประเทศภายในกลุ่มมากนัก หากรู้จักหนังฮอลลีวู้ด ตอนนี้ ในเวียดนาม มีการฉายหนังไทย ละครไทยและละครฟิลิปปินส์เท่านั้น ซึ่งถ้าหากมีการฉายภาพยนตร์ของประเทศอาเซียนอย่างกว้างขวาง ก็จะทำให้ประชาชนในประเทศอาเซียนมีความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมของประเทศภายในกลุ่ม”

 

 
รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 10 นาย เหงวียนดังจุง

นาย เหงวียนดังจุง รองอธิบดีกรมอาเซียนสังกัดกระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม “ประเทศอาเซียน รวมทั้งเวียดนามกำลังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดข้อมูลข่าวสารและองค์ความรู้ที่มีจำกัดเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน ซึ่งความสำเร็จของสถานประกอบการสตาร์ทอัพในประเทศอาเซียนจะมีส่วนช่วยเปลี่ยนแปลงจิตสำนึกเกี่ยวกับการผสมผสานให้แก่ทั้งสถานประกอบ ผู้บริหารภาครัฐและประชาชนและช่วยผลักดันการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและการพบปะสังสรรค์ระดับประชาชน ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ดีเมื่อสถานประกอบการสตาร์ทอัพเข้าร่วมกระบวนการผสมผสานในกลุ่มอาเซียน”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 11 คุณ หว่างมิงเฟือง

คุณ หว่างมิงเฟือง อายุ 32ปีจากบริษัทนำเที่ยว Atravelmate “ในหลายปีมานี้ ประเทศอาเซียนมีนโยบายเปิดกว้างด้านการท่องเที่ยว อีกทั้งมีการเปิดเส้นทางบินตรงระหว่างนครใหญ่ๆของเวียดนามกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ดังนั้น จำนวนนักท่องเที่ยวจากประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์ที่มาเที่ยวเวียดนามจึงเพิ่มมากขึ้น ส่วนประชาชนเวียดนามก็มีโอกาสไปเที่ยวประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ส่วนในการทำงานกับหุ้นส่วนต่างๆจากประเทศไทย ลาวและกัมพูชา ดิฉันสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ  โดยเฉพาะดิฉันชอบอาหารไทยเป็นพิเศษ”

 

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 12 คุณเหงวียนแอ๊งเยือง

   

 คุณเหงวียนแอ๊งเยือง อายุ 20ปี นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยทังลอง “เมื่อเทียบกับประเทศต่างๆ เช่น อังกฤษ สหรัฐและออสเตรเลีย การไปเรียนในประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนคืออีกทางเลือกที่ดี สำหรับเวลาการศึกษาเล่าเรียนในประเทศสิงคโปร์ก็เร็วกว่าที่เรียนในประเทศอังกฤษและออสเตรเลีย คุณภาพการเรียนการสอนก็นับว่าดีมากแล้ว หนูกำลังพิจารณาไปเรียนคณะการบริการและการจัดการโรงแรมระดับปริญญาโทที่ประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย หรือ ไทย”

  

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 13  นาง เหงวียนกวิ่งยาว

 

นาง เหงวียนกวิ่งยาว อายุ45ปี เป็นแม่บ้าน “การเปิดเสรีในกลุ่มอาเซียนอย่างนี้ดีมากๆ เพราะทำให้ประชาชนสามารถเลือกซื้อสินค้าที่มีคุณภาพดี ครอบครัวของดิฉันชอบซื้อสินค้าของไทยมาก เช่น ของใช้ในครัวเรือน สำหรับลูกอมและขนม ชอบซื้อของจากมาเลเซียและอินโดนีเซีย ส่วนผลไม้และหมูยอ จะซื้อของเวียดนามเนื่องจากมีรสชาติอร่อยและราคาที่เหมาะกับรายได้ของคนเวียดนาม”

 

 

  

อาจกล่าวได้ว่าใช่ว่าทุกคนจะมีความเข้าใจอย่างชัดเจนและลึกซึ้งเกี่ยวกับอาเซียนและประโยชน์ที่พลเมืองอาเซียนจะได้รับ นั่นก็เป็นเรื่องที่เราต้องยอมรับเพราะความหลากหลายของวัฒนธรรม ศาสนา ระดับการพัฒนาและระบบการเมือง ดังนั้นเพื่อสามารถพัฒนาอย่างเข้มแข็งมั่นคงเพื่อกลายเป็นภูมิภาคที่มีเสียงพูดและสถานะสำคัญในแผนที่โลกนั้นความเป็นเอกฉันท์คือปัจจัยหลักของอาเซียน

บนพื้นฐานของความเป็นเอกฉันท์นั้น อาเซียนได้ผลักดันการปฏิบัติกลไกความร่วมมือในกลุ่มและนอกกลุ่มอย่างเข้มแข็งอย่างเช่น การประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนหรือ เอเอ็มเอ็ม การประชุมอาเซียนกับหุ้นส่วนต่างๆหรืออาเซียน+ ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ อาฟตา และฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือ เออาเอฟ เป็นต้น ตลอดจนได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาการเมืองความมั่นคงต่างๆของโลกด้วยแนวทางที่สันติและให้ความเคารพมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ซึ่งเมื่อเสียงพูดและสถานะของอาเซียนมีน้ำหนักบนเวทีโลกก็จะนำผลประโยชน์มากมายมาให้แก่ประเทศสมาชิกรวมทั้งเวียดนาม ลำดับต่อไปขอเชิญท่านฟังบทความที่ภาพหัวว่า “อาเซียนยืนยันบทบาทเป็นแกนหลักในกระบวนการสนทนาและร่วมมือเพื่อสันติภาพในภูมิภาค”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 14ผู้นำอาเซียนเข้าร่วมการประชุมระดับสูงครั้งที่ 30 ณ กรุงมะนิลา (Photo: Reuters)

จากการเป็นภูมิภาคที่มีความแตกต่างกันในด้านวัฒนธรรม ศาสนา ระดับการพัฒนา โดยเฉพาะระบอบการเมือง ปัจจุบันนี้ อาเซียนได้กลายเป็นองค์การร่วมมืออย่างรอบด้านระดับภูมิภาคโดยมีสมาชิก 10 ประเทศ ดำเนินงานบนหลักการ “ทาบทามความคิดเห็นและเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์” ผลสำเร็จสูงสุดในด้านความมั่นคงและการเมือง ของอาเซียนในครึ่งศตวรรษที่ผ่านมาคือสามารถธำรงความมีเสถียรภาพและสันติภาพในภูมิภาคและยืนยันบทบาทการเป็นศูนย์กลางที่มีส่วนร่วมเป็นอย่างมากต่อความมั่นคงและปัญหาพหุภาคีต่างๆของภูมิภาค นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนเผยว่า "บทเรียนที่สำคัญของอาเซียนในตลอด 50 ปีที่ผ่านมาคือความท้าทายด้านมั่นคงที่นับวันซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้นซึ่งจะไม่มีประเทศไหนสามารถแก้ไขได้โดยลำพัง นับตั้งแต่ที่ได้รับการก่อตั้ง อาเซียนได้กลายเป็นองค์การที่สำคัญของภูมิภาคและน่าไว้วางใจบนเวทีโลก ซึ่งมีบทบาทสำคัญในสภาวการณ์ของการสร้างยุทธศาสตร์ภูมิภาคผ่านการสร้างสรรค์ภูมิภาคที่เปิดเผยและรอบด้าน”

ปัจจุบัน หลายประเทศมหาอำนาจได้ให้ความสนใจเป็นพิเศษถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สร้างกระแสการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การเมืองโดยมีอาเซียนเป็นศูนย์กลาง สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือทีเอซีที่อาเซียนเป็นผู้ริเริ่มเมื่อปี 1976 ได้ดึงดูดการเข้าร่วมของประเทศนอกกลุ่ม นายเลเลืองมิงห์ย้ำอีกว่า “สนธิสัญญาฉบับนี้เป็นกฎระเบียบขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับกลไกความร่วมมือและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆในภูมิภาค ปัจจุบันนี้ สนธิสัญญาฉบับนี้มีสมาชิก 35 ประเทศและจำนวนสมาชิกนอกภูมิภาคในสนธิสัญญาได้เพิ่มขึ้นในเวลาที่ผ่านมา เช่น อินเดีย จีนและสหรัฐ ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นสากลของหลักการการคงอยู่อย่างสันติและความร่วมมือมิตรภาพระหว่างบรรดาประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 15 การประชุมอาเซียน+สาธารณรัฐเกาหลี ที่ฟิลิปปินส์

นอกจากนี้ อาเซียนยังสร้างสรรค์ความสัมพันธ์ในหลายด้านกับ 12 หุ้นส่วนสำคัญระดับโลกผ่านกรอบความร่วมมืออาเซียน + 1 พร้อมทั้งเป็นผู้คิดริเริ่มและมีบทบาทเป็นแกนนำในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคในเอเชีย – แปซิฟิก เช่น อาเซียน +3 การประชุมระดับสูงเอเชียตะวันออกหรือ อีเอเอสและฟอรั่มภูมิภาคอาเซียนหรือเออาร์เอฟ ตลอดจนยังเป็นปัจจัยสำคัญในกรอบความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างภูมิภาคอื่นๆ เช่น การประชุมเอเชีย – ยุโรปหรืออาเซมและฟอรั่มความร่วมมือเอเชียตะวันออก –  ลาตินอเมริกาหรือเอ็ฟอีเอแอลเอซี ในการประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศหุ้นส่วน อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ จอห์น แคร์รีย์ได้ยืนยันว่า “สหรัฐนับวันให้ความสำคัญต่อความสัมพันธ์กับเอเชียและอาเซียนเป็นองค์การที่มีอิทธิพลเป็นอย่างมากอีกทั้งเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค นี่คือเหตุผลที่สหรัฐสถาปนาความสัมพันธ์หุ้นส่วนยุทธศาสตร์กับอาเซียน ความสัมพันธ์ที่เป็นก้าวกระโดดนี้แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ความเข้มแข็งและบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนที่นับวันเพิ่มสูงขึ้น สหรัฐและอาเซียนต่างสนใจถึงการธำรงสันติภาพของโลก การปฏิบัติตามกฎหมายสากลและเราสามารถมองเห็นบทบาทการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนต่อความมั่นคงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผมมีความเชื่อมั่นว่า ความสัมพันธ์อาเซียน – สหรัฐจะนับวันขยายมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นเอกฉันท์”

การที่อาเซียนมีบทบาทสำคัญบนเวทีโลกก็ได้เอื้อประโยชน์ให้แก่ทุกประเทศสมาชิกรวมทั้งเวียดนาม นายหวูควาน อดีตรองนายกรัฐมนตรีเวียดนามได้แสดงความคิดเห็นว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดหลังจากที่เวียดนามเข้าเป็นสมาชิกของอาเซียนคือสถานะที่นับวันยิ่งสูงขึ้นบนเวทีโลก “เหตุผลที่เวียดนามมีบทบาทสำคัญในปัจจุบันส่วนหนึ่งเนื่องจากการเป็นสมาชิกที่เข้มแข็งของอาเซียน เมื่อเวียดนามเข้าร่วมการประชุมระหว่างประเทศหรือลงสมัครเพื่อดำรงตำแหน่งต่างๆ เช่น สมาชิกสภาสิทธิมนุษยชน สมาชิกสภาคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติก็ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาประเทศสมาชิกอาเซียน สองคือการเปลี่ยนจากการเป็นอาริมาเป็นมิตรและเป็นหุ้นส่วนระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆและอาเซียนเป็นสะพานให้เวียดนามสถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศและหุ้นส่วนรายใหญ่เช่น สหรัฐและยุโรป ตลอดจนอาเซียนคือเวทีให้เวียดนามทดลองเพื่อผสมผสานเข้ากับกระแสโลก”

ส่วนนาย Ibu Hadi เอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำเวียดนามเผยว่า  “สำหรับอินโดนีเซีย อาเซียนเหมือนเป็นเสียงสะท้อนและสามารถถือได้ว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในนโยบายการต่างประเทศของอินโดนีเซีย อินโดนีเซียตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในตลอด 50 ปีที่ผ่านมา อาเซียนได้บรรลุผลสำเร็จที่น่ายินดี โดยเฉพาะการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง การจัดตั้งประชาคมอาเซียนเมื่อปลายปี 2015 รวม 3 เสาหลักคือ ความมั่นคง-การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม-สังคมเป็นกระบวนการสำคัญ ความร่วมมือ ความสามัคคีและการร่วมกันสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนจะเอื้อประโยชน์ให้แก่ทุกประเทศสมาชิก”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 16นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียน 

ทั้งนี้และทั้งนั้นได้แสดงให้เห็นว่า การจัดตั้งประชาคมอาเซียนได้ช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ทั้งในด้านความมั่นคงภายในกลุ่มและความท้าทายจากภายนอก แต่อย่างไรก็ตาม อาเซียนไม่สามารถแก้ไขทุกปัญหาได้อย่างเด็ดขาด เมื่อปี 2002 อาเซียนและจีนได้ลงนามในแถลงการณ์ว่าด้วยการปฏิบัติของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือดีโอซีเพื่อแก้ไขการพิพาทในเขตทะเลนี้แต่หลังจากนั้น 15 ปี ดีโอซีก็ยังไม่ได้รับการปฏิบัติอย่างแท้จริงและมีประสิทธิภาพ ซึ่งต้องมีระเบียบการที่สมบูรณ์มากขึ้นเพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติตาม นายเลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนย้ำว่า “การปฏิบัติเพียงฝ่ายเดียวที่สวนกับเจตนารมณ์ของดีโอซี โดยเฉพาะปฏิบัติการทางทหารได้ทำลายความไว้วางใจและความเชื่อมั่นระหว่างกัน ซึ่งอาจทำให้เกิดการพิพาทระหว่างประเทศต่างๆและส่งผลกระทบในทางลบต่อสันติภาพ ความมั่นคงและเสถียรภาพของภูมิภาค ดังนั้น อาเซียนกำลังเร่งเข้าร่วมกระบวนการปรึกษาหารือกับฝ่ายจีนเพื่อบรรลุระเบียบการปฏิบัติต่อกันของทุกฝ่ายในทะเลตะวันออกหรือซีโอซีโดยเร็วเพื่อช่วยยับยั้งและควบคุมปัญหาที่เกิดขึ้นในทะเลตะวันออก”

จากการมีระเบียบการอย่างเข้มงวดพร้อมกับการจัดทำเอกสารกฎหมายต่างๆอย่างต่อเนื่อง หวังว่า ในอนาคตอาเซียนจะแก้ไขปัญหาที่ยังคั่งค้างอยู่ในด้านการเมืองและความมั่นคงต่อไปเพื่อรักษาสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาคและยกระดับสถานะของอาเซียนบนเวทีโลกอย่างต่อเนื่อง.

เพลง “เดอะอาเซียนเวย์” หรือ “วิถีอาเซียน”

เรากำลังฟังเพลง “เดอะอาเซียนเวย์” หรือ “วิถีอาเซียน” ซึ่งเป็นเพลงประจำองค์การอาเซียนที่ได้รับการคัดเลือกจากบทเพลง99บทของ10ชาติอาเซียนที่ส่งเข้าร่วมการประกวดแต่งเพลงประจำอาเซียนเมื่อปี2008ค่ะ ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของนักดนตรีไทย

จากการขยายตัวของเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ5.3ต่อปีในช่วงปี2007-2015 และที่น่าสนใจคือในขณะที่เงินเอฟดีไอทั่วโลกในปี2014ลดลงร้อยละ16นั้น กระเเสเงินเอฟดีไอที่ไหลเข้าอาเซียนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอในรอบ3ปีตั้งแต่2013-2015 ซึ่งช่วยให้อาเซียนยืนยันบทบาทการเป็นจุดเด่นของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะนับตั้งแต่10เศรษฐกิจอาเซียนได้รวมตัวกันเป็นประชาคมใหญ่มาจนถึงปัจจุบัน อาเซียนได้กลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่อันดับ6ของโลกด้วยจีดีพีเกือบ3ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐและมีการลงนามข้อตกลงการค้าเสรีเอฟทีเอกับทุกหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาค อันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้แก่การแลกเปลี่ยนทางการค้าของประเทศในกลุ่ม

สำหรับเวียดนามนั้น นับตั้งแต่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อปี1995 มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับประเทศต่างๆในอาเซียนได้เพิ่มขึ้นรวดเร็ว เมื่อปี1994มูลค่าการส่งออกของเวียดนามไปยังปท.สมาชิกอาเซียนคิดเป็นร้อยละ22 แต่หลังจากนั้น1ปี ตัวเลขนี้ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ24.6และบรรลุ1พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำอาเซียนกลายเป็นหุ้นส่วนการค้าอันดับ2ของเวียดนาม ซึ่งบทความของนักข่าววิทยุเวียดนามที่พาดหัวว่า “50ปีอาเซียน-โอกาสผลักดันการค้าของเวียดนาม” จะช่วยให้ท่านมีมุมมองที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับโอกาสและส่วนร่วมของเวียดนามในเศรษฐกิจอาเซียน

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 17ประเทศสมาชิกอาเซียนปัจจุบัน 

โครงสร้างการส่งออกสินค้าของเวียดนามไปยังอาเซียนนับวันเปลี่ยนแปลงตามแนวทางที่น่ายินดีโดยได้รับการยกระดับทั้งด้านคุณภาพและมูลค่า เวียดนามได้ส่งออกสินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าอุตสาหกรรมหลายรายการ เช่นชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ สิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป สินค้าการเกษตรแปรรูปด้วยมูลค่าสูงและยั่งยืน แทนการส่งออกสินค้าที่ยังไม่ได้รับการแปรรูปและวัตถุดิบเหมือนเมื่อก่อน ซึ่งเพื่อบรรลุผลงานนี้ เวียดนามได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอาเซียนอนุมัติข้อตกลงหลายฉบับเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่การแลกเปลี่ยนการค้า การลงทุนและการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจ นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสเวียดนามในอาเซียนได้แสดงความเห็นว่า ในฐานะประเทศสมาชิกอาเซียน โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีได้ช่วยให้เวียดนามบรรลุผลงานสำคัญในหลายด้าน “เวียดนามได้เข้าร่วมกระบวนการผสมผสานเข้ากับกระแสเศรษฐกิจอาเซียนนับตั้งแต่เขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA ได้รับการก่อตั้ง อาเซียนคือหุ้นส่วนการค้าที่จัดสรรสินค้าใหญ่เป็นอันดับ 3 ให้แก่สถานประกอบการเวียดนามและเป็นแหล่งเงินเอฟดีไอที่สำคัญ โดยมียอดเงินจดทะเบียนประมาณ 6 หมื่น 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เวียดนามเป็นสะพานเชื่อมด้านการลงทุนต่างๆของบริษัทข้ามชาติที่มีสำนักงานในอาเซียน โครงการลงทุนของประเทศต่างๆ รวมทั้งอาเซียนเน้นในภาคการผลิต แปรรูปและประดิษฐ์คิดค้น  อาเซียนได้กลายเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ ช่วยให้เวียดนามรักษาอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในเวลาที่ผ่านมา”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 18นาย เหงียนก๊วกหยุง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศและหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่อาวุโสเวียดนามในอาเซียน 

ในทางเป็นจริง การเป็นสมาชิกอาเซียนได้ทำให้เงินลงทุนจากอาเซียนและมูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับอาเซียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะหลังจากเออีซีได้รับการก่อตั้งเมื่อปลายปี 2015 ที่น่าสนใจคือด้านภาษี โดยอาเซียนได้วางกระบวนการยกเลิกการกีดกันทางการค้าและกำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนให้อยู่ที่ร้อยละ 0-5 ผ่านข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียนหรือ AFTA และข้อตกลงการค้าสินค้าอาเซียนหรือ ATIGA ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามได้เผยว่า “ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจเมื่อประชาคมเศรษฐกิจเกิดขึ้น การค้าและการลงทุนระหว่างกลุ่มประเทศอาเซียนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะที่เวียดนาม การลงทุนที่เกิดขึ้นจากประเทศอาเซียนอยู่อันดับ topten มี 10 อันดับแรก มีทั้งสิงคโปร์ มาเลเซียและไทย ถึง 3 อันดับที่อยู่ใน 10 อันดับต้น เขาเรียกว่า เป็นสิ่งบ่งชี้ที่ดี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการประสานเข้าเป็นเนื้อเดียวกันของระบบการผลิตในอาเซียนเข้าเป็นด้วยกัน โดยเฉพาะกับไทย จะเห็นว่า การค้าเพิ่มขึ้นมาก ปัจจุบัน การค้าขายระหว่างเวียดนามกับไทยไม่เหมือน 30 ปีก่อน ปัจจุบันมีการลงทุน การฝึกอบรมคนของแต่ละฝ่าย เวียดนามก็เริ่มไปลงทุนในประเทศไทยแล้ว  มีบริษัท Vietjet ได้เข้าไปแล้ว ไปจดทะเบียนถึง 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐและจ้างพนักงานไทยถึง 300 คน ซึ่งเป็นพัฒนาการที่น่าจับตามอง ที่ 20 ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเราเห็นว่า มีเฉพาะฝ่ายไทยมาลงทุนที่นี่ ตอนนี้เราเห็นว่ามีการลงทุนจากทั้งสองฝ่าย”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 19พิธีเปิดตัวเส้นทางบินตรงเวียดนาม-ไทยของสายการบิน Vietjet Air เมื่อปี 2013 

ในฐานะสมาชิกอาเซียน เวียดนามมีโอกาสได้รับนโยบายและสิทธิพิเศษเกี่ยวกับระเบียบราชการ การลงทุนและภาษีในอาเซียน ดังนั้น สถานประกอบการเวียดนามมีข้อสะดวกมากมายในการขยายการลงทุนไปยังประเทศสมาชิกอาเซียน โดยที่สิงคโปร์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของเวียดนามในอาเซียน รองจากไทย ปัจจุบัน บริษัท FPT คือนักลงทุนเวียดนามรายใหญ่ที่สุดโดยมียอดเงินลงทุนอยู่ที่ 4.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐและเป็นบริษัทด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเวียดนามที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์ เวียดนามยังติด 1 ใน 5 ประเทศที่มียอดเงินลงทุนมากที่สุดในกัมพูชา โดยมีโครงการเกือบ 200 โครงการ ธนาคารลงทุนและพัฒนากัมพูชาหรือบีไอดีซีสังกัดธนาคารลงทุนและพัฒนาเวียดนามหรือบีไอดีวีเป็นหนึ่งในสถานประกอบการเวียดนามที่ลงทุนมากที่สุดในกัมพูชาโดยมีสาขา 9 แห่ง นาย โด๋เวียดหุ่ง รองผู้อำนวยการใหญ่บีไอดีซีได้เผยว่า“จนถึงขณะนี้ บีไอดีซีมียอดเงินทุน 760 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติด 1 ใน 10 ธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในกัมพูชา การประกอบธุรกิจของบีไอดีซีในตลอดกว่า 7 ปีที่ผ่านมาได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยเฉพาะสถานทูตและทูตพาณิชย์ในกัมพูชา”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 20 พิธีเปิดตัวสาขาของธนาคารบีไอดีซีในกัมพูชา 

ที่น่าสนใจ ในปี 2018 เมื่อเวียดนามยกเลิกภาษีนำเข้าจากอาเซียนลงเหลือ 0%  คาดว่า มูลค่าการค้าระหว่างเวียดนามกับอาเซียนจะเพิ่มมากขึ้น โดยผู้บริโภคจะมีโอกาสเข้าถึงผลิตภัณฑ์ภายในกลุ่มในราคาถูกเนื่องจากไม่ถูกเก็บภาษี เช่นภาษีสำหรับรถยนต์ที่นำเข้าจากไทยและอินโดนีเซีย นาย Suryana Sastradiredja ทูตพาณิชย์อินโดนีเซียประจำเวียดนามได้เผยว่า “ปี 2017 ความต้องการของเวียดนามเกี่ยวกับหน่วยงานอุตสาหกรรมรถยนต์อยู่ในระดับสูง โดยเฉพาะอะไหล่รถยนต์และจักรยานยนต์ของอินโดนีเซีย ในไตรมาสแรกปี 2017 ได้บรรลุกว่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำผลประโยชน์มาสู่ทั้งเวียดนามและอินโดนีเซีย โดยเฉพาะในขณะที่ประชาคมอาเซียนได้รับการจัดตั้งทำให้เกิดเขตการค้าเสรีและยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้ารถยนต์ในปีนี้”

ตามการประเมินของนาย เลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียน มูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างเวียดนามกับอาเซียนในช่วงปี 2006-2016 ได้เพิ่มขึ้น 120% คิดเป็นร้อยละ 11 ของมูลค่าการค้าของเวียดนาม นอกจากนั้น เอฟดีไอจากอาเซียนที่ไหลเข้าเวียดนามเมื่อปี 2016 ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 16 อยู่ที่ 2.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับกับปี 2006 ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จในการผสมผสานและการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจอาเซียนของเวียดนาม ซึ่งช่วยให้เวียดนามและประเทศสมาชิกอาเซียนสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนที่นับวันเข้มแข็งมากขึ้น ร่วมกันมุ่งสู่การปฏิบัติวิสัยทัศน์อาเซียน 2025.

เพลง “A song of Peace”- “เพลงเพื่อสันติภาพ”

เพลงที่ท่านกำลังรับฟังมีชื่อว่า “A song of Peace”หรือ“เพลงเพื่อสันติภาพ” โดยการขับร้องของเด็กๆอาเซียนในพิธีเปิดงานมหกรรมเด็กอาเซียนปี2017 ที่เวียดนามเป็นเจ้าภาพ เพลงนี้มีเนื้อหาสื่อถึงความรัก ความเมตตา ความเป็นมิตรและสันติภาพของคำขวัญของอาเซียน “หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม” ซึ่งนี่ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมของอาเซียนเพื่อแปรแนวทางการสร้างสรรค์ประชาคมที่มุ่งสู่ประชาชนและถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง

สำหรับเป้าหมายการสร้างสรรค์อาเซียนบนเสาหลักแห่งวัฒนธรรมสังคมหรือ เอเอสซีซี นั้นก็ได้รับการปฏิบัติผ่านโครงการร่วมมือที่เป็นรูปธรรมต่างๆเช่น แผนปฏิบัติการ เอเอสซีซี ปี2004 แผนปฏิบัติการของเอเอสซีซีช่วงปี2009-2015 ที่ดำเนินงานตาม6ด้านที่สำคัญคือการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการสังคม ความเสมอภาคทางสังคมและสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ ความมั่นคงด้านสิ่งเเวดล้อม การสร้างเอกลักษณ์ของอาเซียนและการลดช่องว่างการพัฒนา

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 21 ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดี เอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนามเปิดงานประชาสัมพันธ์สินค้าไทยในกรุงฮานอย

ประเทศต่างๆก็ได้ปฏิบัติตามแผนการนี้อย่างมีความรับผิดชอบผ่านกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเช่นการส่งเสริมการศึกษา ความร่วมมือด้านสาธารณสุข การแก้ปัญหาความยากจน การรับมือกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศเช่นปัญหาหมอกควันและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ โดยเฉพาะในเรื่องของการสร้างสรรค์เอกลักษณ์อาเซียนและยกระดับจิตสำนึกของประชาคมนั้น อาเซียนก็ให้ความสำคัญต่อการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่าวัฒนธรรมพื้นเมือง ผลักดันการแลกเปลี่ยนสังสรรค์ของประชาชนเพื่อช่วยให้คนอาเซียนเข้าใจและตระหนักเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนมากขึ้น ท่าน มานพชัย วงศ์ภักดีเอกอัครราชทูตไทยประจำเวียดนาม ได้ให้ความเห็นในประเด็นนี้ว่า“ในอาเซียน เราต้องไม่ลืมว่ามีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความหลากหลายเหล่านี้ ผมคิดว่าเป็นพลังที่สร้างความเข้มแข็งต่ออาเซียนมาโดยตลอด เพราะว่าเราสามารถรวบรวมร่วมมือกันได้ในหลายๆด้าน ไม่ใช่เฉพาะด้านเศรษฐกิจ ผมมองเห็นว่า ในปัจจุบัน การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในภูมิภาคอาเซียนจะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประชาชนทุกประเทศสามารถเข้าใจกันได้มากยิ่งขึ้น อย่างการแสดงวัฒนธรรมเกี่ยวกับหน้ากากหุ่นกระบอกในกรุงเทพและที่เวียดนามก็มีการประกวดมิสอาเซียน เพราะฉะนั้นเราเห็นได้ว่าให้กิจกรรมเหล่านี้เติมแต่งส่งเสริมให้ประชาชนของอาเซียนมีความตระหนักถึงของความมีส่วนร่วมกันในภูมิภาค อันนี้เป็นจุดที่สำคัญที่ทำให้สมัยอาเซียนเกิดขึ้น

อาจกล่าวได้ว่า10ประเทศสมาชิกคือ10ชาติที่มีวัฒนธรรม ภาษา ศาสนาและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกันดังนั้นต้องทำอย่างไรให้ชาวอาเซียนเข้าใจและเข้าร่วมกิจกรรมเชื่อมโยงอาเซียนอย่างเต็มที่นี้คือสิ่งที่รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆของประเทศอาเซียนกำลังปฏิบัติ  อย่างเมื่อเร็วๆนี้ที่ฮานอยได้มีการจัด วันงานแห่งอาเซียน โดยมีกิจกรรมที่หลากหลายเพื่อแนะนำเกี่ยวกับประเทศและคนอาเซียน ซึ่งในโอกาสนี้นาง มาเรีย ซินทีอา เพลาโย อุปทูต สถานทูตฟิลิปปินส์ประจำเวียดนามก็ได้ยืนยันถึงความจำเป็นที่จะต้องส่งเสริมเอกลักษณ์ที่หลากหลายของอาเซียน“หัวข้อของ50ปีอาเซียนคือ “ร่วมมือเพื่อเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่โลกกว้าง”ได้สะท้อนจุดยืนของอาเซียนเกี่ยวกับความสามัคคี ความเสมอภาคและความร่วมมือของ10ประเทศสมาชิก ที่น่าสนใจคือพวกเราได้ร่วมกันชุมนุมที่พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์เวียดนามเพื่อรำลึกครบรอบ50ปีวันก่อตั้งมิตรภาพแห่งอาเซียน ซึ่งสถานที่แห่งนี้มีบทบาทเป็นศูนย์กลางอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมและแนะนำเกี่ยวกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมผ่านวิธีการเข้าถึงที่ถือมนุษย์เป็นศูนย์กลางในการแลกเปลี่ยนและเผยแพร่วัฒนธรรมในอาเซียน นั่นคือการส่งเสริมความหลากหลายของเอกลักษณ์อาเซียน”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 22นาง ด่าวห่งลาน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมมอบหนังสือเกี่ยวกับอาเซียนให้แก่กระทรวงหน่วยงานต่างๆ

สำหรับเวียดนาม ก็กำลังปฏิบัติหน้าที่ประเทศสมาชิกอย่างสมบูรณ์และมีความรับผิดชอบสูงผ่านการเสนอข้อคิดริเริ่มและเข้าร่วมกระบวนการร่างแผนปฏิบัติการต่างๆในเสาหลักวัฒนธรรมสังคมนี้เช่น แถลงการณ์ฮานอยเกี่ยวกับสวัสดิการและการพัฒนาของสตรีและเด็กอาเซียน แถลงการณ์ผู้นำอาเซียนเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งบุคลากรและทักษะวิชาชีพเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและพัฒนาอย่างยั่งยืน เวียดนามยังได้รับการประเมินว่าเป็นประเทศสมาชิกที่มีความพยายามอย่างเข้มแข็งในการสอดแทรกการปฏิบัติแผนปฏิบัติการของเสาหลักเอเอสซีซีช่วงปี2009-2015ในโครงการแห่งชาติต่างๆจนสามารถบรรลุความคืบหน้าในหลายด้าน ซึ่งนาง ด่าวห่งลาน รัฐมนตรีช่วยกระทรวงแรงงานทหารทุพพลภาพและสังคมได้กล่าวถึงการดำเนินงานของทางกระทรวงในประเด็นนี้ว่า“ในฐานะเป็นหน่วยงานดูแลการปฏิบัติภารกิจของเสาหลักวัฒนธรรมสังคมอาเซียนในเวียดนาม ทางกระทรวงฯได้ให้ความสำคัญต่อการประชาสัมพันธ์ยกระดับจิตสำนึกของประชาชนและทุกหน่วยงานเกี่ยวกับอาเซียนผ่านการจัดทำสิ่งพิมพ์ต่างๆเกี่ยวกับเอเอสซีซีทุกปี และยังจัดทำฐานข้อมูล อัพเดทแผนปฏิบัติการและกลไกต่างๆอย่างต่อเนื่องเพื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับองค์การอาเซียนที่มุ่งสู่ประชาชนและถือประชาชนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาและผสมผสาน”

รายการพิเศษ “50ปีอาเซียน-ความเป็นเอกฉันท์เพื่อการพัฒนา” - ảnh 23

ในแนวโน้มดังกล่าวทางสถานีวิทยุเวียดนาม ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานสื่อสารมวลชนใหญ่ของเวียดนามก็ตระหนักได้ดีถึงบทบาทของตนในการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับอาเซียนให้ประชาชนได้รับทราบดังนั้นในโอกาสครบรอบ50ปีอาเซียนและ72ปีวันก่อตั้งสถานีวิทยุเวียดนาม ทางสถานีวิทยุเวียดนามจะเป็นเจ้าภาพจัดการประกวดเสียงเพลงอาเซียนในระหว่างวันที่18-21สิงหาคมนี้

เราก็หวังว่าผ่านดนตรี ประชาชนประเทศอาเซียนและมิตรประเทศจะมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นเกี่ยวกับวัฒนธรรมที่หลากหลายและเอกลักษณ์โดดเด่นของอาเซียนมากขึ้น สำหรับรายการพิเศษในโอกาสรำลึก50ปีอาเซียนวันนี้ก็หมดเวลาลงแล้ว สวัสดี.

Komentar