คณะผู้แทนของเวียดนาม |
จนถึงปลายปี 2016 ทั่วโลกมี 97 ประเทศจากจำนวนทั้งหมด 167 ประเทศที่ได้รับการรับรองเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตย ระบบประชาธิปไตยได้รับความเข้าใจอย่างถูกต้องและขยายผลในเชิงบวกในโลกหรือไม่ นี่คือหัวข้อหลักที่ได้รับการหารือในฟอรั่มประชาธิปไตยบาหลี 2017 หรือ BDF ครั้งที่ 10 ภายใต้หัวข้อ “Does democracy deliver?” หรือ “ประชาธิปไตยได้รับการสื่อสารอย่างถูกต้องหรือยัง”
“หัวข้อของฟอรั่มแสดงให้เห็นถึงสถานการณ์ในปัจจุบันที่ประชาธิปไตยต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆและประสิทธิภาพของเรื่องนี้ ไม่มีรูปแบบใดเพื่อสามารถประยุกต์ใช้ประชาธิปไตยในประเทศต่างๆ ดังนั้นฟอรั่มประชาธิปไตยบาหลีจะเป็นเวทีเพื่อแสดงความคิดเห็นและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องถึงการผลักดันประชาธิปไตย”
นั่นคือความเห็นของรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย เรตโน มาร์ซูดี ในพิธีเปิดฟอรั่ม BDF ครั้งที่ 10 จำนวนประเทศที่เข้าร่วมฟอรั่มครั้งนี้ได้เพิ่มมากขึ้น โดยมีผู้แทนกว่า 100 คน รวมทั้งประธานาธิบดี รัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโสจากกว่า 96 ประเทศพร้อมองค์กรระหว่างประเทศ 7 แห่งเข้าร่วม
ปีนี้ครบรอบ 10 ปีฟอรั่มประชาธิปไตยบาหลีได้รับการก่อตั้ง BDF ซึ่งได้มีการเปลี่ยนแปลงใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและการเข้าร่วมที่เข้มแข็งของบรรดาผู้นำในฟอรั่ม นับเป็นครั้งแรกที่บีดีเอฟจัดการหารือ 2 นัดและการอภิปรายครบองค์ โดยในการหารือระดับรัฐมนตรี 2 นัดเกี่ยวกับประชาธิปไตย บรรดาผู้แทนได้กล่าวถึงสถานการณ์และปัญหาที่ประเทศตนต้องเผชิญ ตลอดจนมาตรการในกระบวนการปฏิบัติประชาธิปไตย นาย Thaung Htun ที่ปรึกษาความมั่นคงแห่งชาติเมียนมาร์ได้แสดงความเห็นว่า การก่อการร้ายคือหนึ่งในความท้าทายที่ประเทศที่มีประชาธิปไตย รวมทั้งเมียนมาร์ต้องเผชิญ “ลัทธิการก่อการร้ายคือหนึ่งในภัยคุกคามที่รุนแรงที่สุดต่อสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เมื่อเร็วๆนี้ ได้เกิดกระแสการใช้ความรุนแรงผ่านการโจมตีขององค์การรัฐมุสลิมหรือไอเอส พวกเราเห็นถึงความเศร้าโศกของผู้เคราะห์ร้ายจากการใช้ความรุนแรงและการก่อการร้าย ในช่วงเวลาที่สำคัญนี้ในขณะที่ประชาธิปไตยในเมียนมาร์ยังคงมีอายุน้อย ถือเป็นเรื่องที่ดีที่โลกร่วมกับพวกเราเพื่อค้ำประกันระบบประชาธิปไตยที่พัฒนาอย่างมั่นคง และพวกเราจะประสบความสำเร็จในการปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อรักษาเสถียรภาพ สันติภาพและการพัฒนาในรัฐยะไข่และประเทศ”
ภาพในการประชุม |
นอกจากนั้น ก็มีหลายๆปัญหาได้รับการหารือในฟอรั่ม ในการกล่าวปราศรัยในฟอรั่ม นาย เลเลืองมิงห์ เลขาธิการอาเซียนได้ย้ำว่า ถ้าต้องตอบคำถาม “ประชาธิปไตยได้รับการเผยแพร่ในอาเซียน” หรือไม่ ผมขอตอบว่า มีประชาธิปไตยและเสรีภาพด้านประชาธิปไตย ประชาธิปไตยคือคำมั่นของอาเซียน “การจัดตั้งคณะกรรมการผสมรัฐบาลอาเซียนเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหรือ AICHR ปี 2009 ได้ผลักดันการสอดแทรกและผลักดันสิทธิมนุษยชนในอาเซียน ตลอดจนปัญหาต่างๆที่เกี่ยวข้องถึงการค้ามนุษย์ข้ามชาติ สิทธิของคนพิการและสิทธิของเด็ก การระบุเกี่ยวกับประชาธิปไตยในระเบียบวาระการประชุมของอาเซียนถูกระบุในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งประชาธิปไตยได้รับการรับรองเช่นเดียวกับเป้าหมายและหลักการ ประชาธิปไตยในกฎบัตรอาเซียนมีความผูกพันกับคำมั่นของอาเซียนในการผลักดันการบริหารและสิทธิตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหลักการประชาธิปไตยและรัฐบาลที่มีรัฐธรรมนูญรองรับ ผลักดันและปกป้องสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน”
ในการเสร็จสิ้นฟอรั่ม รัฐมนตรีช่วยต่างประเทศอินโดนีเซีย A.M Fachir ได้แสดงความเห็นว่า ฟอรั่มบีดีเอฟ 2017 ได้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม สิ่งที่ได้บรรลุในฟอรั่มคือได้รับรู้ความคิดเห็นของประเทศที่เข้าร่วมฟอรั่ม และกล่าวสรุปว่า “ประชาธิปไตยต้องได้รับการพัฒนาภายในแต่ละประเทศ และรับรองความหลากหลายของประชาธิปไตยในแต่ละประเทศ”
****
ท่านผู้ฟังคะ บีดีเอฟปีนี้ยังเปิดโอกาสให้เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นอย่างมีประชาธิปไตยผ่าน “การประชุมนักศึกษาบาหลี”หรือบีดีเอสซี ในการประชุม นับเป็นครั้งแรกที่เยาวชนได้แสดงความคิดเห็นและทัศนะของตนเกี่ยวกับปัญหาประชาธิปไตย ในรายการชายคาอาเซียนในสัปดาห์หน้า ขอเชิญท่านผู้ฟังศึกษาเรื่องนี้ต่อไปผ่านบทความเรื่อง “เยาวชนในโลกพูดอะไรเกี่ยวกับประชาธิปไตย” ขอเชิญท่านโปรดติดตามรับฟังค่ะ