การอ่านหนังสือในตอนเช้าถือเป็นกิจวัตรประจำวันของนักข่าว ทิพวงศ์ สุมาวาด จากสถานีโทรทัศน์ของกองทัพประชาชนลาวตั้งแต่สมัยเรียนมัธยม โดยเขาได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์เป็นพิเศษในการอ่านหนังสือเกี่ยวกับบรรดาผู้นำและวีรชนระดับโลก ซึ่งทำให้เขาได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับท่าน – ผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาเรียนรู้และหลงรักภาษาเวียดนาม ยิ่งไปกว่านั้น การเรียนภาษาเวียดนามได้เปิดโอกาสให้เขาได้ศึกษาเอกสารและชมภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์
“สำหรับประชาชนลาว ประธานโฮจิมินห์ถือเป็นผู้นำที่วางรากฐานให้แก่ความสัมพันธ์มิตรภาพอันยิ่งใหญ่และความสามัคคีอันพิเศษระหว่างเวียดนามกับลาว ส่วนตัวผมเองมีความประทับใจต่อแบบอย่างคุณธรรมและการใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายและสมถะของท่าน ผมหวังว่า จะมีโอกาสไปศึกษาต่อที่เวียดนามในอนาคตและไปเยือนบ้านของท่าน ภาพลุงโฮที่ผมแขวนในห้องด้วยความเคารพ มีความหมายสำหรับผมเป็นอย่างมาก และถือเป็นไฟที่ส่องแสงนำทางให้ผมสามารถพิชิตเป้าหมายของตนเอง”
หนังสือเล่มโปรดของนักข่าว ทิพวงศ์ สุมาวาด |
สำหรับหนุ่มชาวอินโดนีเซีย Rifo Ridillah ที่ยังไม่เคยไปเวียดนามมาก่อนแต่ก็มีความรู้สึกที่ดีต่อประธานโฮจิมินห์และประเทศเวียดนาม โดยคุณพ่อของเขาเป็นแฟนประจำของสถานีวิทยุเวียดนาม เคยเล่าให้เขาฟังเรื่องราวเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์หลายเรื่อง ซึ่งช่วยสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์และประเทศเวียดนาม นอกจากนี้ จากบทเรียนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างเวียดนามกับอินโดนีเซียที่เขาได้สอนในโรงเรียน รวมถึงการไปเยือนประเทศอินโดนีเซียของประธานโฮจิมินห์เพื่อพบปะกับประธานาธิบดี Sukarno เมื่อปี 1959 และบทความต่างๆ จากสถานีวิทยุเวียดนาม นาย Potianak นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัย Tanjungpura ได้รับข้อมูลมากมายที่น่าสนใจเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ วัฒนธรรมและผู้คนของประเทศเวียดนาม ปัจจุบัน เขากำลังศึกษาภาษาเวียดนามเพื่อสักวันหนึ่งได้เดินทางไปเวียดนามและเยี่ยมสุสานประธานโฮจิมินห์
“เยาวชนชาวอินโดนีเซียได้รู้จักประธานโฮจิมินห์ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการต่อสู้ของประเทศอินโดนีเซีย เพราะท่านเป็นเพื่อนสนิทของประธานาธิบดี Sukarno ซึ่งลูกสาวของประธานาธิบดี Sukarno ที่เป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปไตยอินโดนีเซีย ยังได้เล่าถึงเรื่องราวเมื่อครั้งที่ประธานโฮจิมินห์สวมรองเท้ายางในการเดินทางไปเยือนอินโดนีเซีย สำหรับเขาเอง ประธานโฮจิมินห์เป็นผู้นำที่มีความเรียบง่าย เป็นวีรบุรุษที่ต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวเวียดนาม ผมให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างสูงต่อประธานโฮจิมินห์ ผู้ที่ยึดมั่นในหลักการปกป้องอธิปไตยของเวียดนาม”
หนุ่มชาวอินโดนีเซีย Rifo Ridillah กำลังศึกษาภาษาเวียดนามเพื่อสักวันหนึ่งได้ไปเยี่ยมสุสานประธานโฮจิมินห์ |
ส่วนในสายตาของเยาวชนเวียดนามยุคปัจจุบัน ประธานโฮจิมินห์ไม่เพียงแค่เป็นผู้นำที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น แต่ยังเป็นเสมือนบิดาของประเทศและคุณครูที่ยิ่งใหญ่แห่งการปฏิวัติเวียดนาม
“เมื่อได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับประธานโฮจิมินห์ผ่านบทเรียนของคุณครูหรือตำราและหนังสือพิมพ์ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียนเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ในใจผมมีความเคารพรักต่อท่านเสมอ”
นายตำรวจ ตื่อแทงฟอง จากจังหวัด กว๋างนาม ซึ่งเป็นผู้ได้รับรางวัลพิเศษในการประกวด "ศึกษาเรื่องราวการไปเยือนอินโดนีเซียของประธานโฮจิมินห์และการไปเยือนเวียดนามของประธานาธิบดี Sukarno" เมื่อปี 2020 ที่สถานีวิทยุเวียดนามร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตอินโดนีเซียประจำประเทศเวียดนามจัดขึ้นมาเนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 65 ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศ โดยในการเดินทางไปเยือนประเทศอินโดนีเซียเป็นเวลา 5 วัน เขาได้ไปเยือนสถานที่ที่มีชื่อเสียงหลายแห่งของอินโดนีเซีย รวมถึงสถานที่ที่ประธานโฮจิมินห์ได้ไปเยือนและรับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์สาขากฎหมายจากมหาวิทยาลัย Padjadjaran เมื่อ 64 ปีก่อน ซึ่งถือเป็นปริญญาใบเดียวที่ท่านตกลงรับในชีวิต
“ผมรู้สึกตื้นตันใจเป็นอย่างมากเมื่อได้ไปเยือนสถานที่ที่ประธานโฮจิมินห์เคยเดินทางไป ผมได้รับฟังคำบรรยายเกี่ยวกับเส้นทางของท่าน รวมถึงสถานที่ต่างๆ ที่ท่านเคยไปเยือนในประเทศนี้ ผมรู้สึกถึงความเคารพรักของชาวอินโดนีเซียที่มีต่อท่านอย่างบอกไม่ถูก เมื่อได้เดินทางถึงที่นี่ ผมยิ่งรู้สึกภูมิใจกับผู้นำที่ยิ่งใหญ่ของประเทศชาติ ผู้เป็นมิตรของประเทศอินโดนีเซีย”
นายตำรวจ ตื่อแทงฟอง จากจังหวัด กว๋างนาม ในการเยือนประเทศอินโดนีเซีย |
ในเดือนพฤษภาคมแห่งการรำลึกวันคล้ายวันเกิดของประธานโฮจิมินห์ของทั้งประชาชนเวียดนามและเพื่อนมิตรชาวต่างประเทศทั่วโลก ด้วยใจเคารพรักและนับถืออย่างสุดซึ้ง เราขออ่านบทกวี "ตามรอยลุงโฮ" ที่เต็มเปี่ยมอารมณ์ของนักกวี โตเหิว เพื่อเป็นการระลึกถึงคุณงามความดีของประธานโฮจิมินห์ “ทำไม แผ่นดินหนักอึ้งด้วยความรัก จดจำชื่อท่าน โฮจิมินห์ ดั่งความเชื่อมั่น ดุจความกล้าหาญ ดั่งความเป็นมนุษย์ ดุจความเสียสละอุทิศชั่วชีวัน”