บรรดาประเทศอาเซียนร่วมกันอนุรักษ์มรดก

Trung Cường-VOV5
Chia sẻ
(VOVworld) – บรรดาประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะ ประเทศอาเซียนถือเป็นอู่อารยะธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษยชาติโดยมีมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าอย่างมหาศาลที่กำลังได้รับการอนุรักษ์ อย่างไรก็ดี จากลักษณะเฉพาะ แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการบริหาร อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกของตนซึ่งประสบการณ์ที่มีค่า มีประโยชน์ต่างๆในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกของประเทศอาเซียนก็ได้ถูกแนะนำแลกเปลี่ยนในที่ประชุมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่๔ ที่ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อเร็วๆนี้


(VOVworld) – บรรดาประเทศในเอเชีย โดยเฉพาะ ประเทศอาเซียนถือเป็นอู่อารยะธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมนุษยชาติโดยมีมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่าอย่างมหาศาลที่กำลังได้รับการอนุรักษ์ อย่างไรก็ดี จากลักษณะเฉพาะ แต่ละประเทศสมาชิกอาเซียนได้ประสบความสำเร็จในการบริหาร อนุรักษ์และส่งเสริมมรดกของตนซึ่งประสบการณ์ที่มีค่า มีประโยชน์ต่างๆในการอนุรักษ์และพัฒนามรดกของประเทศอาเซียนก็ได้ถูกแนะนำแลกเปลี่ยนในที่ประชุมพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเอเชีย ครั้งที่๔ ที่ได้มีขึ้น ณ กรุงฮานอย เมื่อเร็วๆนี้

บรรดาประเทศอาเซียนร่วมกันอนุรักษ์มรดก - ảnh 1
พิพิธภัณฑ์แห่งชาติอินโดนีเซีย(Photo: Wikipedia)

อินโดนีเซียซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอาเซียนและเป็นประเทศที่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้ประสบความสำเร็จในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกโดยตั้งแต่ปี๒๐๐๙ กระทรวงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวอินโดนีเซียได้รณรงค์โครงการพลังชีวิตใหม่ของพิพิธภัณฑ์ และพิพิธภัณฑ์สนับสนุนยุทธนาการแห่งชาติโดยมีสาส์นที่ว่า“พิพิธภัณฑ์ในหัวใจของฉัน”ซึ่งถือเป็นความพยายามเพื่อยกระดับคุณภาพการบริการชุมชนของพิพิธภัณฑ์เพื่อให้ประชาชนตระหนักได้ดีว่า พิพิธภัณฑ์เป็นสถานที่ที่ต้องแวะเยือนซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งและจากสังคมผ่านกิจกรรมที่แตกต่างกัน ดร.Intan Mardiana Napitupulu ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติอินโดนีเซียกล่าวว่า “นับตั้งแต่เปิดการรณรงค์โครงการ“พิพิธภัณฑ์ในหัวใจของฉัน”ได้ช่วยปรับเปลี่ยนจิตสำนึกของประชาชนอินโดนีเซียในการศึกษาหาความรู้และอนุรักษ์มรดกให้พัฒนาตามแนวทางที่ดี ปัจจุบัน ผู้ที่มาศึกษาหาความรู้ที่พิพิธภัณฑ์เพื่อค้นคว้ามรดกนับวันมีความหลากหลายมากขึ้น ดังนั้น พิพิธภัณฑ์จึงมิใช่เป็นสถานที่ที่เงียบเหงาอีกต่อไปหากเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจในปัจจุบัน”

บรรดาประเทศอาเซียนร่วมกันอนุรักษ์มรดก - ảnh 2
พิพิธภัณฑ์ของกัมพูชา(Photo:Wikipedia )

ส่วนนายKong Virech ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกัมพูชากล่าวว่า“กัมพูชามีพิพิธภัณฑ์หลายแห่งและพิพิธภัณฑ์แทบทุกแห่งได้ถูกสร้างมาตั้งแต่สมัยฝรั่งเศสปกครอง ดังนั้น จึงประสบอุปสรรคในการอนุรักษ์ และในการให้การศึกษาแก่ประชาชนในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกแต่จากแนวทางการบริหารที่ได้รับการปฏิบัติเป็นอย่างดีผ่านการสำรวจสิ่งของวัตถุ จัดระเบียบเอกสารและฐานข้อมูลเป็นประจำ นอกจากนี้ เพื่อปลูกฝังจิตสำนึกของประชาชนในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดก กัมพูชายังจัดโครงการให้การศึกษา จัดแสดงสิ่งของวัตถุตามหัวข้อพร้อมการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโบราณวัตถุให้ประชาชนรับทราบ”   ส่วนสำหรับประเทศลาว ประสบการณ์ในการอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกได้รับการปฏิบัติผ่านการให้การศึกษาเกียรติประวัติทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ซึ่งนางเพชรมาลัยวรรณ แก้วบุญมา ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติลาว กล่าวว่า“ทุกสัปดาห์ พวกเราประสานให้โรงเรียนพานักเรียนไปทัศนะศึกษาที่พิพิธภัณฑ์เพื่อศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับมรดกและเกียรติประวัติทางประวัติศาสตร์ที่รุ่งโรจน์ของชาติ ผ่านสิ่งของวัตถุต่างๆที่จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์อย่างเป็นระบบและฟังการบรรยายจากพิพิธภัณฑ์ บทเรียนสำคัญทางประวัติศาสตร์จะฝังลึกอยู่ในความทรงจำของบรรดานักเรียน และพวกเขาสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารและแนวความคิดตามแต่ละหัวข้อ”

บรรดาประเทศอาเซียนร่วมกันอนุรักษ์มรดก - ảnh 3
พิพิธภัณฑ์ของลาว(Photo: Wikipedia)

พิพิธภัณฑ์ไม่เพียงแต่เป็นที่จัดแสดงและเก็บรักษาสิ่งของวัตถุและเอกลักษณ์วัฒนธรรมที่โดดเด่นๆเท่านั้นหากยังเป็นจุดเชื่อมโยงทางประวัติศาสตร์ระหว่างอดีตกับ ปัจจุบันและอนาคตของประชาชาติต่างๆ ดังนั้น การอนุรักษ์และส่งเสริมคุณค่ามรดกของมนุษยชาติในพิพิธภัณฑ์ของภูมิภาคจะมีส่วนร่วมเชื่อมโยงมรดกวัฒนธรรมของมนุษย์และกลุ่มประเทศอาเซียน./.

 

 

Komentar