นครดานังเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านกับไทย

Minh Ngoc- VOV5
Chia sẻ

(VOVWORLD) -ภายหลังกว่า 45 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูต ความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทยได้พัฒนาอย่างเข็มแข็งและจริงจังในทุกด้าน ในเวลาที่ผ่านมา ควบคู่กับการพัฒนาความสัมพันธ์ทวิภาคีแล้ว ความร่วมมือระหว่างท้องถิ่นต่างๆของเวียดนาม โดยเฉพาะระหว่างนครดานังกับไทยได้รับการผลักดันและบรรลุผลงานต่างๆ จากความได้เปรียบเกี่ยวกับที่ตั้งทางภูมิศาสตร์  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของเขตภาคกลางและเตยเงวียน ทำให้นครดานังกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนและหุ้นส่วนของไทย

นครดานังเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านกับไทย - ảnh 1การสัมมนานานาชาติว่าด้วยการเสริมสร้างมิตรภาพและการเชื่อมโยงด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ระหว่างนครดานังกับประเทศไทย
 
สำหรับด้านการค้า ปัจจุบัน นครดานังมีสถานประกอบการกว่า 20 แห่งที่มีความสัมพันธ์ด้านการค้ากับไทย เช่น บริษัทยางพาราดานัง บริษัท Vinatex  บริษัทส่งออกและนำเข้าภาคกลาง เป็นต้น มูลค่าการค้าระหว่างนครดานังกับไทยอยู่ที่เฉลี่ย 45 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี  ในอาเซียน ไทยเป็นหุ้นส่วนการค้ารายใหญ่อันดับ 2 ของนครดานัง  กิจกรรมการส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับนครดานังได้รับการจัดขึ้นเป็นประจำ เช่น โครงการเชื่อมโยงการแลกเปลี่ยนการค้ากับจังหวัดขอนแก่น  กิจกรรมส่งเสริมการค้าในจังหวัดอุดรธานี  สถานประกอบการหลายแห่งของไทยได้เข้าร่วมงานนิทรรศการการท่องเที่ยวระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ถูกจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีของนครดานังเพื่อศึกษาโอกาสการลงทุนในนครดานัง ปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ที่นครดานังส่งออกไปยังไทยส่วนใหญ่คือผลิตภัณฑ์จากยางพาราและผลิตภัณฑ์จากการกลั่นปิโตรเคมี  ส่วนดานังนำเข้ายางพาราดิบ วัสดุอุปกรณ์ด้านอุตสาหกรรมจากไทย สำหรับศักยภาพความร่วมมือด้านการค้าระหว่างนครดานังกับไทย  นาย อำนาจ จุลชาต  ผู้ช่วยทูตฝ่ายการลงทุนได้เห็นว่า

“อีกส่วนของความร่วมมือ อันนี้ ผมยังใหม่อยู่ส่วนตรงนี้ ผมเห็น potential ของเมืองดานังที่มีโอกาสที่จะเป็น logistic hub การกระจายสินค้าต่างๆ การใช้พื้นที่ของเศรษฐกิจพิเศษให้เชื่อมโยงระหว่างไทยไปดานัง และในส่วนของการเดินทางจากไทยไปเวียดนาม ใช้เส้นทางนี้ถ้ามีโอกาสไปสำรวจในการทำธุรกิจในส่วนของดานัง ซึ่งตรงนี้มองก็คือ การกระจายสินค้า ก็จะเป็นธุรกิจ เช่น ชิ้นส่วนยางและชิ้นส่วนรถยนต์และที่มองอีกก็คือ นิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่นครดานังและนิคมอุตสาหกรรมไฮเทคที่ทางภาคตะวันออกของไทยอาจจะมีการเชื่อมโยงทำร่วมกัน”

นครดานังเน้นพัฒนาความสัมพันธ์ร่วมมือในหลายด้านกับไทย - ảnh 2นับตั้งแต่เปิดเส้นทางบินตรงไปยังท้องถิ่นต่างๆของไทย จำนวนนักท่องเที่ยวไทยมาเเที่ยวนครดานังเพิ่มสูงขึ้น   (Photo: tuoitre)

ความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างนครดานังกับไทยได้บรรลุผลงานต่างๆในหลายปีที่ผ่านมา เมื่อปี 2007 มีนักท่องเที่ยวไทย 2 หมื่น 2 พันคนมาเที่ยวนครดานังเท่านั้น แต่เมื่อปี 2019  ซึ่งเป็นช่วงก่อนการแพ่ระบาดของโควิด -19  จำนวนนักท่องเที่ยวไทยได้เพิ่มขึ้น 9 เท่า ทำให้ไทยกลายเป็นตลาดการท่องเที่ยวรายใหญ่อันดับ 3 ของนครดานัง นครดานังได้เปิดเส้นทางบิน 6 เส้นทางไปยังกรุงเทพฯและจังหวัดเชียงใหม่ของสายการบิน เวียดนามแอร์ไลน์ เวียดเจ็ทแอร์  แอร์เอเชียและบางกอกแอร์เวย์ส โดยให้บริการ 56 เที่ยวต่อสัปดาห์ ทางการนครดานังยังเน้นถึงงานด้านการประชาสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว โดยสำนักงานการท่องเที่ยวนครดานังได้ประสานงานกับสำนักงานการท่องเที่ยวไทยจัดกิจกรรมแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวและบริษัทนำเที่ยวของดานังในกรุงเทพฯ นาง โด๋ถิกวี่ญเจิม รองผู้อำนวยการคณะกรรมการส่งเสริมแผนการและการลงทุนสังกัดสมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ไทยนครดานังได้เผยว่า

แม้การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 ส่งผลกระทบอย่างหนักต่อภาคการท่องเที่ยวแต่การเชื่อมโยงกับตลาดการท่องเที่ยวไทยยังคงได้รับการธำรงผ่านกิจกรรมออนไลน์ต่างๆ ในเวลาที่จะถึง ไทยยังคงเป็นตลาดการท่องเที่ยวหลักที่นครดานังให้ความสำคัญ   โดยมุ่งเน้นพัฒนาทัวร์ตีกอล์ฟและการท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน”

ความร่วมมือด้านการศึกษาและการฝึกอบรมเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในความสัมพันธ์ระหว่างนครดานังกับหุ้นส่วนต่างๆของไทย  นับตั้งแต่ปี 2004 มาจนถึงปัจจุบัน  มหาวิทยาลัยดานังได้ลงนามเอกสารกว่า 20 ฉบับกับมหาวิทยาลัยต่างๆของไทย เช่นมหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นต้น รองศาสตรจารย์ ดอกเตอร์ เลวันเซิน  รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยดานังได้เผยว่า

“ทุกปี มีครูชาวไทย 1-2 คนสมัครมาสอนภาษาไทยที่มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศสังกัดมหาวิทยาลัยดานัง  นับตั้งแต่ปี 2005 มาจนถึงปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยฯยังได้รับความช่วยเหลือจากกรมความร่วมมือระหว่างประเทศสังกัดกระทรวงการต่างประเทศไทยผ่านการส่งอาสาสมัครมาสอนภาษาไทย ให้การสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนภาษาไทย เปิดห้องเอกสารภาษาไทยเพื่อช่วยให้นักศึกษาเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมไทย นอกจากนี้ การส่งนักศึกษาไทยมาฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยดานังก็ได้รับการผลักดัน พวกเราหวังว่า ในเวลาที่จะถึง  จำนวนนักศึกษาชาวไทยที่มาฝึกอบรมในนครดานังจะเพิ่มมากขึ้น”

สำหรับการพบปะสังสรรค์ระดับประชาชน สหพันธ์องค์กรมิตรภาพนครดานัง สมาคมมิตรภาพเวียดนาม-ไทยนครดานังและสำนักงานที่เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมต่อการส่งเสริมความสามัคคีและสัมพันธไมตรีมิตรภาพระหว่างประชาชนนครดานังกับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆของไทย เช่น กิจกรรมการพบปะสังสรรค์มิตรภาพกับสมาคมสตรีจังหวัดสมุทรสาคร  งานแสดงสินค้าและงานนิทรรศการภาพถ่ายเวียดนาม-ไทยและการสัมมนาเกี่ยวกับโอกาสการประกอบธุรกิจและการลงทุนในนครดานัง เป็นต้น สำหรับจุดแข็งของดานังในการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างเวียดนามกับไทย  นาย  ณัฐพล ณ สงขลา รองกงสุลใหญ่ รักษาการแทนกงสุลใหญ่ไทย ณ นครโฮจิมินห์ได้เผยว่า

  นครดานังมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่โดดเด่น เป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกและตะวันตก นครดานังให้ความสำคัญต่อการพัฒนาเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางภาคกลางของเวียดนามและประเทศไทยก็พร้อมที่จะร่วมมือกับนครดานังในการส่งเสริมด้านต่างๆเหล่านี้ การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตกนี้นอกจากจะช่วยส่งเสริมเรื่องการค้าและการขนส่งสินค้า ยังช่วยประชาชนทั้งสองประเทศรวมทั้งส.ป.ป.ลาวสามารถเดินทางไปมาหาสู่กันได้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์ต่างๆที่มากยิ่งขึ้นในอนาคต นอกจากนี้แล้ว สิ่งที่นครดานังมีอีกอย่างหนึ่งก็คือ เรามีมหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศ ซึ่งสอนวิชาภาษาไทยให้กับเยาวชนเวียดนาม ซึ่งตรงนี้เป็นกำลังสำคัญในการก้าวเข้าสู่ผู้ประกอบการทั้งชาวไทยและชาวเวียดนามในการเชื่อมโยงธุรกิจเข้าด้วยกัน ซึ่งตรงนี้เป็นจุดแข็งที่นครดานังและจังหวัดโดยรอบจะได้รับ”

นครดานังและท้องถิ่นและหุ้นส่วนต่างๆของไทยยังมีศักยภาพความร่วมมืออีกมาก โดยเฉพาะเมื่อนครดานังกำหนดเป้าหมายการพัฒนาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ-สังคมใหญ่ของประเทศและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  จากการมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่สะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัยและการเป็นส่วนหนึ่งของระเบียงเศรษฐกิจตะวันออกตะวันตก ความสัมพันธ์มิตรภาพและความร่วมมือระหว่างนครดานังกับหุ้นส่วนต่างๆของไทยมีโอกาสมากมายเพื่อพัฒนา เพื่อนำผลประโยชน์มาให้แก่ทั้งสองประเทศ.

Komentar