ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว

Giang – Thanh – Xuyến
Chia sẻ
(VOVWORLD) - จากการช่วยเหลือและให้การสนับสนุนของรัฐบาลทั้งสองประเทศ หมู่บ้านชาวลาวในเวียดนามและหมู่บ้านชาวเวียดนามในลาว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นสถานที่ที่น่าอยู่และเต็มไปด้วยความสามัคคีกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัมพันธไมตรีอันดีงามและใกล้ชิดระหว่างสองชาติ 
ด้วยที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ใกล้กันพร้อมความสัมพันธ์ที่มีมาอย่างช้านานระหว่างเวียดนามกับลาว ได้ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนตามแนวชายแดน ซึ่งทำให้เกิดหมู่บ้านหลายแห่งในพื้นที่รอยต่อของทั้งสองประเทศ ด้วยผู้คนหลายรุ่นที่นี่มีทั้งเชื้อสายเวียดนามและลาว จากการช่วยเหลือและให้การสนับสนุนของรัฐบาลทั้งสองประเทศ หมู่บ้านชาวลาวในเวียดนามและหมู่บ้านชาวเวียดนามในลาว ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เป็นสถานที่ที่น่าอยู่และเต็มไปด้วยความสามัคคีกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัมพันธไมตรีอันดีงามและใกล้ชิดระหว่างสองชาติ ในรายการชายคาอาเซียนของเราวันนี้ ขอนำเสนอบทความเรื่อง “ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว”
ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว - ảnh 1นายเลวันเเหว่ หัวหน้าหมู่บ้านฟู๊เลิม

ท่ามกลางขุนเขาและผืนป่าอันกว้างใหญ่ในอำเภอเขตเขาเฮืองเค จังหวัดห่าติ๋ง มีชมชนชาวลาวได้มาสร้างเนื้อสร้างตัวและกลายเป็นชาวบ้านในตำบลฟู๊ยา โดยทุกคนใช้นามสกุล เล และถือสัญชาติเวียดนาม ถึงแม้อาศัยและใช้ชีวิตในเวียดนามเกือบร้อยปี แต่ชาวบ้านที่นี่ยังคงมีความตระหนักถึงการอนุรักษ์ภาษาแม่ของตนเอง โดยในคาบเรียนสุดท้ายทุก ๆ วันศุกร์ เด็ก ๆ ชาวเวียดนามเชื้อสายลาวในหมู่บ้านลาวเทิงแห่งนี้จะได้เรียนภาษาลาวกับนายแหว่ หรือนายเลวันแหว่ หัวหน้าหมู่บ้านฟู๊เลิม พร้อมด้วยความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากสำนักงานการศึกษาและฝึกอบรมจังหวัดห่าติ๋ง และหน่วยงานทหารชายแดนฟู๊ยา โดยเด็กๆ ในวัยไร้เดียงสา พร้อมหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส ต่างตั้งใจเรียนภาษาลาวเป็นอย่างมาก

นายแหว่ อายุ 56 ปี เป็นชาวลาวรุ่นที่ 3 นับตั้งแต่ที่บรรพบุรุษของเขาได้เดินทางข้ามแดนไปยังเขตเขาเฮืองเค เพื่อหลบหนีจากการถูกกดขี่ขูดรีดและความยากจนเมื่อกว่า 90 ปีที่แล้ว ปัจจุบัน ชาวลาวที่อาศัยในหมู่บ้านลาวเทิงในฟู๊ยาเป็นคนรุ่นที่ 5 รวมกว่า 300 คน

“จากที่บรรพบุรุษเคยเล่าให้ฟัง ชาวลาวได้มาอยู่อาศัยและทำงานกับชาวเวียดนามก่อนปี 1930 ซึ่งถ้ามีธุระอะไร ก็เดินทางไปหากัน ก่อนหน้านั้น เรียกว่าหมู่บ้าน หล่างเจี่ยว แต่ตอนนี้มีชื่อว่าหมู่บ้าน หว่างจ่าง อำเภอนากาย แขวงคำม่วน”

ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว - ảnh 2นักเรียนในโรงเรียนประถมฟู๊ยา เฮืองเค จังหวัดห่าติ๋งห์ 

นอกจากการสนับสนุนและให้การช่วยเหลือจากชุมชนชาวเวียดนามในพื้นที่ รวมถึงวงเงินสนับสนุนเพื่อทำเกษตรจากภาครัฐ ชาวลาวที่ย้ายถิ่นฐานไปยังเวียดนาม แล้วสร้างบ้านและสร้างชีวิตอยู่ที่นี่ ก็ได้รับการดูแลเอาใจใส่จากหน่วยทหารชายแดน ซึ่งได้ช่วยให้พวกเขามีชีวิตที่มั่นคงและสามารถปรับตัวเข้ากับชุมชนในพื้นที่ พร้อมมีส่วนร่วมต่อการสร้างสรรค์หมู่บ้าน นาง เลถิถิ่งห์ หนึ่งในชาวลาวที่กำลังอาศัยในหมู่บ้านฟู๊เลิม เผยว่า

“ทหารชายแดนที่นี่ให้ความช่วยเหลือพวกเรามาโดยตลอด สำหรับเด็กๆ ที่ไปเรียนแต่ยังอ่านหนังสือไม่ได้ พวกเขาก็จะสอนให้ใหม่ เมื่อเจอน้ำท่วมนาข้าว พวกเขาก็เข้ามาช่วยเหลือ ภายในงานเทศกาลต่างๆ จะมีการจัดกิจกรรมก่อกองไฟอย่างสนุกสนาน”

ชาวลาวเทิงในพื้นที่เขตแดนจังหวัดห่าติ๋งได้ใช้เวลาหลายปีเพื่อปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตของชาวเวียดนาม โดยมีหนุ่มลาวเทิงหลายคนได้แต่งงานกับสาวเวียดนาม ซึ่งทำให้จำนวนเด็ก ๆ ที่มีสองเชื้อชาติเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นเมล็ดพันธุ์ที่กำลังงอกเงยเพื่อเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับความรักใคร่อันใกล้ชิดและสดใสที่มีเพียงหนึ่งเดียวระหว่างสองชาติเวียดนามและลาว คุณครู บุ่ยถิโห่งหว่าย ที่มีสามีเป็นชาวลาวเทิง เผยว่า

“ชนชาติกิงและชนชาติลาวก็เหมือนคนในครอบครัว ไม่มีความแตกต่าง และเด็ก ๆ นักเรียนก็ไม่มีการเลือกปฏิบัติเช่นเดียวกัน”

ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว - ảnh 3มัคคุเทศก์ในอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์

ส่วนในพื้นที่แขวงคำม่วน ซึ่งเป็นถิ่นกำเนิดของชนชาติลาวที่กำลังอาศัยในจังหวัดห่าติ๋ง มีหมู่บ้านแห่งหนึ่งในอำเภอหน่องโบ๊กที่เต็มเปี่ยมไปด้วยวัฒนธรรมเวียดนาม โดยมีชื่อว่าหมู่บ้านเซียงหวาง โดยมีครอบครัวชาวลาวประมาณ 157 ครัวเรือน ซึ่งในนั้นมีครอบครัวชาวลาวเชื้อสายเวียดนามรุ่นที่ 2 และ 3 รวม 57 ครัวเรือน ภายหลังเดินทางจากจังหวัดกว๋างบิ่งห์มาอยู่ที่ลาวกว่า 10 ปี ชาวบ้านที่นี่ยังคงมีวิถีชีวิตดั้งเดิมเหมือนอยู่ที่เวียดนาม พร้อมจัดตั้งหมู่บ้านทำอาชีพต่างๆ เช่น ทำแบ๊งกายและเส้นเฝอแห้ง ซึ่งกลายเป็นสินค้าหลักของจังหวัด นาย Chantakhit Manipakorn หัวหน้าหมู่บ้านเซียงหวาง เผยว่า ชาวเวียดนามในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมที่สำคัญต่อการพัฒนาของหมู่บ้าน ทั้งการสร้างพื้นที่ประกอบอาชีพจนถึงโรงเรียนและถนนหนทาง ตั้งแต่ปี 1995 ชาวเวียดนามในหมู่บ้านเซียงหวางได้มีสัญชาติลาวทุกคน ส่วนอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์ในหมู่บ้านกลายเป็นจุดนัดพบของชาวเวียดนามและลาวในการเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างสองประเทศ

“พวกเราจะพาชาวบ้านไปเยี่ยมชมอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์ทุกๆ วันที่ 15 ของเดือน พร้อมรณรงค์ให้เยาวชนเข้าร่วมด้วยเพื่อส่งเสริมประเพณีอันดีงามของทั้งลาวและเวียดนาม อีกทั้งปลูกฝังความสามัคคีพิเศษระหว่างประชาชนทั้งสองประเทศ”

ความอบอุ่นหัวใจในหมู่บ้านเวียดนาม-ลาว - ảnh 4นาย Phaymani Phommasan รองปลัดสำนักงานคณะกรรมการแขวงคำม่วนและหัวหน้าฝ่ายบริหารอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์ในหมู่บ้านเซียงหวาง 

นาย Phaymani Phommasan รองปลัดสำนักงานคณะกรรมการแขวงคำม่วนและหัวหน้าฝ่ายบริหารอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์ในหมู่บ้านเซียงหวาง แสดงความปลื้มปีติเมื่อกล่าวถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนชาวลาวเชื้อสายเวียดนามในอำเภอหนองโบ๊กต่อการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ว่า

“แขวงคำม่วนมีอาหารพื้นเมืองอย่าง แบ๊งกาย ก็มาจากหมู่บ้านเซียงหวางแห่งนี้ ซึ่งมีความประสงค์ที่จะพัฒนาให้เป็นสินค้า ODOP ของจังหวัด ในขณะที่เฝอเซียงหวางก็เป็นผลิตภัณฑ์ที่กำลังได้รับการส่งเสริมในการผลิต ซึ่งทั้งหมดเป็นสินค้าที่ช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยว ส่วนอนุสรณ์สถานประธานประเทศโฮจิมินห์ก็อยู่ในรายชื่อสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ของจังหวัด”

ทั้งนี้ ครอบครัวสองสายเลือดเวียดนาม-ลาวในหมู่บ้านที่เต็มไปด้วยคุณค่าวัฒนธรรมของชาติตามแนวชายแดนระหว่างสองประเทศ โดยพรรคและรัฐได้นำความอิ่มหนำผาสุกมาสู่พื้นที่อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งถือเป็นความอบอุ่นที่ช่วยกระชับความสัมพันธ์มิตรภาพที่มีมาช้านานและความสามัคคีพิเศษระหว่างสองประเทศที่ประธานประเทศโฮจิมินห์ ประธานประเทศไกรสอน พมวิหาน และประธานประเทศสุภานุวงศ์ รวมถึงบรรดาผู้นำและประชาชนเวียดนาม-ลาว ร่วมกันเสริมสร้างและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง.

Komentar