ความคืบหน้าของความร่วมมือใหม่ระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศคู่เจรจา

VOV-5
Chia sẻ
(VOVworld) – อาเซียนและ๖ประเทศคู่เจรจาคือ ออสเตรเลีย นิว ซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลีและจีนจะเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTAระดับภูมิภาค  ณ ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปลายเดือนนี้ เมื่อข้อตกลงFTAใหม่มีผลบังคับใช้จะเปิดโอกาสใหม่ให้แก่ทุกประเทศมาชิกอาเซียนและบรรดาประเทศคู่เจรจาของอาเซียน


(VOVworld) – อาเซียนและ๖ประเทศคู่เจรจาคือ ออสเตรเลีย นิว ซีแลนด์ ญี่ปุ่น อินเดีย สาธารณรัฐเกาหลีและจีนจะเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTAระดับภูมิภาค  ณ ประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นประธานอาเซียนในปลายเดือนนี้ เมื่อข้อตกลงFTAใหม่มีผลบังคับใช้จะเปิดโอกาสใหม่ให้แก่ทุกประเทศมาชิกอาเซียนและบรรดาประเทศคู่เจรจาของอาเซียน
ความคืบหน้าของความร่วมมือใหม่ระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศคู่เจรจา - ảnh 1
อาเซียนและ๖ประเทศคู่เจรจาจะเริ่มการเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงการค้าเสรี (Photo:Internet)

 นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนได้แจ้งข่าวเกี่ยวกับการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTAระดับภูมิภาคในฟอรั่มนักธุรกิจเอเชีย ยุโรป ครั้งที่๑๓ ที่จัดขึ้น ณ กรุงเวียงจันทร์ ประเทศลาว เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและเห็นว่า ความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจในทุกด้านระดับภูมิภาคเป็นส่วนหนึ่งในโครงสร้างของความสัมพันธ์หุ้นส่วนทางเศรษฐกิของอาเซียน จนถึงปัจจุบัน อาเซียนได้ลงนามในข้อตกลงFTAกับ๖ประเทศคู่เจรจารวมทั้งหมด๕ฉบับ รวมทั้งข้อตกลงFTAร่วมกับออสเตรเลียและนิว ซีแลนด์ การเจรจาเกี่ยวกับข้อตกลงFTAร่วมเป็นสิ่งที่แน่นอนในระยะปัจจุบันเพราะอาเซียนกำลังต้องการความช่วยเหลือจากบรรดาคู่เจรจาของตนในขณะที่กำลังพยายามสร้างสรรค์ประชาคมอาเซียนภายในปี๒๐๑๕ ข้อตกลงFTAร่วมจะมีส่วนร่วมผลักดันให้อาเซียนพัฒนาอย่างคล่องตัวยิ่งขึ้นในอนาคต นายสุรินทร์ พิศสุวรรณกล่าวว่า“อาเซียนคือเศรษฐกิจใหญ่อันดับ๓ในเอเชียตะวันออก และจะพัฒนากลายเป็นประชาคมในปี๒๐๑๕โดยมี๓เสาหลักสำคัญพร้อมกับผู้บริโภคนับร้อยล้านคนซึ่งอาเซียนตระหนักได้ดีเกี่ยวกับความรับผิดชอบนั้นและหวังว่า อาเซียนจะมีส่วนร่วมในกระบวนการแลกเปลี่ยนการค้าโลกมากขึ้น” 
ในเวลาที่ผ่านมา ข้อตกลงFTAฉบับต่างๆที่อาเซียนได้ลงนามกับแต่ละประเทศคู่เจรจาได้เกิดประโยชน์ นำมาซึ่งประสิทธิภาพอย่างจริงจังโดยได้อำนวยความสะดวกและผลักดันความร่วมมือของฝ่ายต่างๆในหลายด้าน เช่น การแลกเปลี่ยนสินค้า การบริการ การลงทุน การเงิน โทรคมนาคม การค้าขายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา นโยบายแข่งขัน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจซึ่งผ่านข้อตกลงFTAเหล่านี้ อาเซียนได้เข้าถึงเทคโนโลยีของประเทศนอกภูมิภาค ส่วนบรรดาคู่เจรจาได้เข้าถึงตลาดที่มีประชากรกว่า๖๐๐ล้านคน  สำหรับแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน ข้อตกลงFTAได้เปิดโอกาสเพื่อให้สินค้าของตนเจาะตลาดประเทศต่างๆอย่างสะดวกรวดเร็ว  พันธกรณีเกี่ยวกับการขยายตลาดตามข้อตกลงFTAได้ช่วยให้การค้าพัฒนา ผลักดันการแลกเปลี่ยนสินค้าและการบริการ นำมาซึ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ทั้งสองฝ่าย  ในการมองการปฏิบัติตามข้อตกลงFTAระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในกว่า๒ปีที่ผ่านมา ดร.Ganeshan Wignaraja นักเศรษฐศาสตร์จากสำนักงานบูรณาการเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียได้กล่าวว่า“การค้าระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ได้เพิ่มขึ้นอันควรค่านับตั้งแต่ทั้งสองฝ่ายลงนามในข้อตกลงFTA แต่นี่เพียงเป็นการเริ่มต้นเท่านั้นเพราะโอกาสความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ยังมีสูงมาก ถ้าประเมินจากแนวโน้มในปัจจุบัน ใน๑๐ปีข้างหน้า มูลค่าการค้าระหว่างอาเซียนกับออสเตรเลียและนิวซีแลนด์อาจจะอยู่ที่๑แสน๕หมื่นล้านถึง๒แสนล้านเหรียญสหรัฐและมีส่วนร่วมอย่างยิ่งใหญ่ให้แก่การค้าโลก”      
ความคืบหน้าของความร่วมมือใหม่ระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศคู่เจรจา - ảnh 2
การประชุมทาบทามระหว่างรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนกับ๖ประเทศคู่เจรจา(Photo:Internet)
จากสถานะทางยุทธศาสตร์ การเมืองและเศรษฐกิจ อาเซียนกำลังได้รับการยอมรับว่าเป็นประตูเพื่อให้ประเทศต่างๆเข้ามาขยายอิทธิพลของตนในเอเชียทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและความมั่นคง ตามรายงานของธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชียเมื่อเร็วๆนี้ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน เช่น อินโดนีเซีย เวียดนาม ฟิลิปปีนส์ มาเลเซีย ไทยและสิงคโปร์ในปีนี้ยังคงแข็งแกร่งแม้จะถูกผลกระทบจากวิกฤติการเงินโลกก็ตาม นอกจากนี้ รัฐบาลประเทศอาเซียนต่างๆยังคงยืนหยัดนโยบายปฏิรูปและพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเป็นเงื่อนไขที่สะดวกเพื่อให้ภูมิภาคนี้กลายเป็นจุดนัดพบของนักลงทุนในทั่วโลก    ตลาดเดียว และเขตการผลิตเดียวเป็นเป้าหมายสำคัญในเสาหลักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การเริ่มการเจรจาข้อตกลง FTAร่วมระหว่างอาเซียนกับบรรดาประเทศคู่เจรจาจึงถือเป็นพัฒนาการในกระบวนการผสมผสานของอาเซียน./.

Komentar