พิธีลงนามข้อตกลง RCEP |
ข้อตกลง RCEP ได้รับการประเมินว่า เป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยสร้างตลาดที่มีผู้บริโภคประมาณ 2.2 พันล้านคน จีดีพีคิดเป็นร้อยละ 30 และมูลค่าการค้าคิดเป็นร้อยละ 28 ของโลก การลงนามข้อตกลง RCEP ได้รับการประเมินว่า จะสร้างการเปลี่ยนแปลงให้แก่กระแสการค้าและการลงทุนในภูมิภาค ส่งเสริมระบบห่วงโซ่อุปทานภายในกลุ่มและสร้างพลังขับเคลื่อนให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน อีกทั้งสร้างแรงกระตุ้นให้แก่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ปรับปรุงคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคและฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังภาวะโควิด-19
นาย Chheng Kimlong รองหัวหน้าสถาบันวิสัยทัศน์เอเชีย หรือ AVI ของกัมพูชาได้ประเมินว่า การเข้าร่วมข้อตกลง RCEP ได้สร้างโอกาสมากมายให้แก่กัมพูชา เช่น ขยายตลาดส่งออก การดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ การยกระดับโครงสร้างและการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยกัมพูชาต้องทำการปฏิรูปตลาดส่งออก พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์และการบริการเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดภายในประเทศและการส่งออก นอกจากนี้ ข้อตกลง RCEP ยังอำนวยความสะดวกให้แก่กัมพูชาในการปฏิบัตินโยบายเปิดกว้างประเทศ ดึงดูดการลงทุนและเทคโนโลยีภายในกลุ่มเพื่อสร้างพื้นฐานให้แก่การพัฒนาเศรษฐกิจ นาย Chheng Kimlong ได้เผยว่า“การเข้าร่วมข้อตกลง RCEP จะนำผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่มาให้แก่กัมพูชา เช่น การขยายตลาด โดยเฉพาะหลังจากมีผลบังคับใช้ ข้อตกลงนี้จะสร้างกรอบทางนิตินัยเพื่อปกป้องผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมายของกัมพูชาและประเทศเล็กๆต่อหุ้นส่วนที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจมากกว่า”
กรุงพนมเปญ |
ส่วนนาย Mey Kalyan หัวหน้าสถาบันพัฒนาทรัพยากรของกัมพูชา หรือ CDRI ได้แสดงความเชื่อมั่นว่า ข้อตกลง RCEP จะช่วยกระตุ้นการพัฒนาของภูมิภาคหลังภาวะโควิด-19 พร้อมทั้งเผยว่า ข้อตกลง RCEP จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในช่วงที่เศรษฐกิจโลกได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดและลัทธิคุ้มครองการค้า โดยจะสร้างโอกาสมากมายให้แก่กัมพูชาในการเพิ่มมูลค่าการค้าต่างตอบแทนกับประเทศสมาชิก ซึ่งกัมพูชาก็ต้องพยายามมากขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์จากโอกาสดังกล่าว
ส่วนนาย Pho Vy ผู้สื่อข่าวจากสถานีวิทยุและโทรทัศน์ Apsara ได้ให้ข้อสังเกตว่า ข้อตกลง RCEP จะสร้างทั้งโอกาสและอุปสรรคต่างๆให้แก่กัมพูชา“นอกจากได้รับผลประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ กัมพูชาก็ต้องเผชิญกับอุปสรรคต่างๆจากข้อตกลง RCEP เช่น การเตรียมพร้อมด้านบุคลากรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานและการสร้างความสมดุลระหว่างตลาดนำเข้าและตลาดส่งออก”
การเจรจาข้อตกลง RCEP ได้เริ่มขึ้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2012 ณ กรุงพนมเปญ ซึ่งในช่วงนั้น กัมพูชาได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานหมุนเวียนอาเซียน ข้อตกลงดังกล่าวได้รับการคาดหวังว่า จะสร้างเขตการค้าเสรีและการลงทุนที่เปิดกว้างระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและเศรษฐกิจที่พัฒนาในภูมิภาคและมีการพยากรณ์ว่า หลังจากข้อตกลง RCEP มีผลบังคับใช้ จะช่วยให้มูลค่าการส่งออกของกัมพูชาเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.3 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.4 และจีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.