เรือไม้พื้นเมืองของนาย เหงียนวันโต๊ด ได้รับการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ |
ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเมื่อการคมนาคมยังไม่สะดวก การขนส่งสินค้าของเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องใช้ทางน้ำ หมู่บ้านต่อเรือแจวบ่าด่ายมีความคึกคักเป็นอย่างมาก โดยในช่วงที่คึกคักที่สุด ในหมู่บ้านฯ มีครอบครัว 220 ครอบครัวที่ทำอาชีพนี้โดยต่อเรือแจวนับหมื่นลำต่อปีเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง แต่จากการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคม ทำให้การสัญจรเดินทางในพื้นที่นี้มีความสะดวกมากขึ้น อีกทั้งมีการนำ composite มาใช้เป็นวัสดุในการทำเรือ จึงงทำให้เรือแจวที่ทำจากไม้นับวันลดน้อยลง
ก็เหมือนกับเยาวชนหลายคนที่เกิดและโตที่ชุมชนคลองบ่าด่าย นาย เหงียนวันโต๊ด ในหมู่บ้านลองฮึง 2 ตำบลลองเห่า อำเภอลายวุง ทำอาชีพนี้ตั้งแต่อายุ 15 ปี โดยไม่เพียงแต่เพื่อเลี้ยงชีพเท่านั้น หากยังเป็นความหลงใหลอีกด้วย แต่เขาก็มีความกังวลเป็นอย่างมากเพราะการประกอบอาชีพนี้นับวันประสบความยากลำบากและกำลังจะสูญหายไป โดยหลายครอบครัวต้องเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่น รวมถึงนาย โต๊ด เองด้วยที่ก็ต้องหยุดทำอาชีพนี้ชั่วคราว ตอนแรกเขาต่อเรือไม้พื้นเมืองบ่าด่ายจำลองขนาดเล็กเพื่อให้ลูกนำไปเข้าร่วมการประกวดที่โรงเรียน แล้วได้รับรางวัลที่ 1 ทำให้ในเวลาต่อมาได้รับใบสั่งซื้อ เรือไม้พื้นเมืองจำลองขนาดเล็กได้รับความสนใจจากเขตท่องเที่ยวต่างๆ และมีการนำไปจัดแสดงร่วมกับสินค้าการเกษตรในงานแสดงสินค้าต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ก็ยังได้รับการส่งออกไปยังประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐ ซึ่งความสำเร็จนั้นของนายโต๊ดได้ทำให้หลายครอบครัวในหมู่บ้านหันมาทำตาม นาย โต๊ด กล่าวว่า
“ตอนแรกผมต่อเรือจำลองให้ลูกนำไปเข้าร่วมการประกวดที่โรงเรียนเท่านั้น แต่หลังจากนั้นแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ก็ให้ความสนใจ โดยพวกเขานำไปใช้จัดวางแสดงสินค้าการเกษตร เช่น ผลไม้ เพื่อประชาสัมพันธ์และดึงดูดความสนใจจากลูกค้า โดยเฉพาะชาวต่างชาติ”
นาย เจิ่นวันแทง เจ้าหน้าที่ของตำบลลองเห่า อำเภอลายวุง หมู่บ้านต่อเรือไม้พื้นเมืองบ่าด่าย เผยว่า ปัจจุบันนี้ ในหมู่บ้านเหลือแค่ 20 ครอบครัวเท่านั้นที่ทำอาชีพนี้ โดยส่วนใหญ่ทำส่งให้แก่สถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ ในแนวทางพัฒนาของหมู่บ้าน ตำบลลองเห่า ได้ก่อตั้งกลุ่มช่างต่อเรือไม้พื้นเมืองจำลองขนาดเล็ก ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ พร้อมทั้งมีนโยบายให้สิทธิพิเศษต่อช่างต่อเรือที่มีส่วนร่วมสร้างสรรค์และพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพนี้ นาย เจิ่นวันแทง เผยต่อไปว่า
“ในแผนการพัฒนาและอนุรักษ์หมู่บ้าน ครอบครัวที่ต่อเรือในหมู่บ้านส่วนใหญ่เปลี่ยนมาผลิตแบบหัตถกรรม และบางครอบครัวก็เป็นนายหน้าส่งขายไปยังจังหวัดเบ๊นแจและจังหวัดอื่นๆ ตอนนี้ มีครอบครัวต่อเรือไม้พื้นเมืองไม่มากนัก แต่ในอดีต ถ้าหากถึงฤดูน้ำหลาก ทุกครอบครัวในหมู่บ้านต่างต่อเรือนี้ ทั้งตอนกลางวันและกลางคืนเพื่อจัดส่งให้ตรงเวลาตามคำสั่งซื้อ”
ปัจจุบันนี้ เรือไม้พื้นเมืองจำลองได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ซึ่งบางที่ทำไม่ทันความต้อง โดยเฉพาะใบสั่งซื้อส่วนใหญ่มาจากเขตราบลุ่มแม่น้ำแดง นครโฮจิมินห์ รวมถึงนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ซื้อเพื่อเป็นของที่ระลึก สำหรับราคาขายนั้น ก็มีตั้งแต่หลักแสนด่งไปจนถึงหลักสิบล้านด่งแล้วแต่ขนาดและคุณภาพของไม้ การเดินหน้าในการต่อเรือแบบหัตถกรรมได้ช่วยให้นาย โต๊ด มีชีวิตที่มั่นคง สามารถพัฒนความหลงใหลในอาชีพที่ตนทำมาตลอดนับสิบปี ซึ่งนี่อาจเป็นแนวทางใหม่ให้แก่หมู่บ้านต่อเรือไม้พื้นเมืองบ่าด่ายที่มีอายุกว่า 100 ปีเพื่อมีส่วนร่วมอนุรักษ์พัฒนาหมู่บ้านและมรดกวัฒนธรรมนามธรรมแห่งชาติ.