ผู้ทำพิธีจะเป็นผู้ปลูกข้าวคนแรกในบริเวณด้านหน้าของศาลาประจำหมู่บ้าน
|
งานเทศกาลปีนี้มีหัวข้อคือ “กลับสู่เขตมรดกวัฒนธรรมกว๋างเอียน” ซึ่งงานเทศกาลนี้มีมาต้นกำเนิดจากพิธีแรกนาขวัญของประชาชนในเขตห่านามและชาวบ้านกว๋างเอียนได้อนุรักษ์การจัดงานเทศกาลดังกล่าว ในงานเทศกาลนี้ เมื่อได้ยินเสียงระฆังและเสียงกลอง ชาวบ้านทุกคนต่างนึกถึงความทรงจำเกี่ยวกับงานเทศกาล นาง โตถิทู เลขาธิการพรรคสาขาแขวงฟองก๊ก ได้เผยว่า “นี่เป็นงานเทศกาลที่มีมานานแล้ว ซึ่งมีความหมายสำหรับประชาชนบนเกาะที่ต้องพึ่งพาธรรมชาติ โดยในฤดูข้าวนาปรัง ชาวบ้านไม่มีน้ำใช้เพื่อการผลิต ส่วนในฤดูข้าวนาปี ก็เกิดปัญหาน้ำท่วม”
งานเทศกาลแรกนาขวัญถูกจัดขึ้นเป็นเวลา2วันในต้นเดือน6ตามจันทรคติ ซึ่งเป็นช่วงเวลาการปลูกข้าว ในงานเทศกาล ภายหลังพิธีเซ่นไหว้เทพเจ้าที่ดูแลการเกษตรและเจ้าพ่อหลักเมืองในศาลาประจำหมู่บ้านเพื่อขอให้การเก็บเกี่ยวได้ผลดี ครอบครัวมีความอิ่มหนำผาสุก ซึ่งผู้ทำพิธีจะเป็นผู้ปลูกข้าวคนแรกในบริเวณด้านหน้าของศาลาประจำหมู่บ้านภายใต้การเป็นสักขีพยานของชาวบ้าน ในทุ่งนา จะมีการตั้งเสาตุงเพื่อขับไล่ภูตผีปีศาจ บนเสาตุงจะมีการแขวนใบสับปะรด สิ่งของที่มีรูปร่างเหมือนผลผลิตทางเกษตรกรรม เช่น ข้าว ปลา กุ้ง หมูและไก่ ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงความปรารถนาเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยวได้ผลดี ภายหลังพิธีนี้ ชาวบ้านจะเริ่มปลูกข้าวในนาของตน โดยการเลือกผู้ทำพิธีมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง นาง โตถิทู เผยว่า “ผู้ทำพิธีต้องเป็นผู้ที่ไม่ได้อยู่ในช่วงทุกข์ มีทั้งพ่อและแม่และลูกหลานที่เรียนดี เมื่อก่อนนี้ เกาะห่านามอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล ดังนั้น ชาวบ้านต้องรับมือกับภัยพิบัติ เพื่อแสดงความตั้งใจของชาวบ้าน การแข่งเรือจึงมีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมเกียรติประวัติแห่งความสามัคคีของชาวบ้านบนเกาะ”
การแข่งเรือ |
นอกจากพิธีกรรมต่างๆ ยังมีการจัดการแข่งขันว่ายน้ำในแม่น้ำเกื๋อดิ่ง การแสดงการร้องเพลงพื้นเมืองที่ศาลาประจำหมู่บ้านก๊ก การแข่งขันปลูกข้าวและการแข่งเรือ ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยว นาย ฝามวันแทง แขวงฟองก๊กได้เผยว่า ชาวบ้านที่นี่ ใครๆต่างรอคอยงานเทศกาลนี้และเตรียมความพร้อมทุกอย่างให้แก่การแข่งเรือ “พวกเราอนุรักษ์ขนบทำเนียมประเพณีของท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดจากคนรุ่นก่อนได้582ปีแล้ว ผมได้สืบทอดจากพ่อเมื่อผมอายุ17ปี ปีนี้ ผมอายุ56ปีแล้ว แม้จะต้องไปทำงานแต่พวกเราก็ต้องพยายามอนุรักษ์การจัดพิธีของหมู่บ้านเพื่อฟื้นฟูและดึงดูดนักท่องเที่ยว ”
ส่วน นาง บุ่ยถิเฮ้ย ชาวบ้านแขวงฟองก๊กที่เข้าร่วมการแข่งเรือได้เผยว่า“พวกเราเป็นเกษตรกร เราดีใจมากที่สามารถอนุรักษ์งานเทศกาลที่ศาลาประจำหมู่บ้าน ”
ภายหลังพิธี ชีวิตของชาวบ้านกว๋างเอียนดำเนินไปตามปกติ ชาวกว๋างนิงยังคงอนุรักษ์และพัฒนางานเทศกาลเหมือนมรดกอันล้ำค่าเพื่อส่งเสริมเกียรติประวัติแห่งวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของท้องถิ่น.