ส้มโอเขียวหรือ “เบื๋อยยาแซง” |
กลุ่มสหกรณ์ปลูกส้มโอเขียวหรือ “เบื๋อยยาแซง”ฟู้แถ่ง ตำบลเก๋ยเซิน อำเภอโจว์แถ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มสหกรณ์ที่เดินหน้าในการผลิตตามห่วงโซ่ของจังหวัดเบ๊นแจ จนถึงขณะนี้ กลุ่มสหกรณ์มีสวนส้มโอเข้าร่วมกว่า 100 แห่ง รวมพื้นที่ปลูกส้มโอเขียวกว่า 50 เฮกตาร์ กลุ่มสหกรณ์ส้มโอเขียวฟู้แถ่งเป็นหนึ่งในสหกรณ์ที่ปลูกส้มโอเขียว 41 แห่งตามห่วงโซ่คุณค่า โดยมีพื้นที่ปลูกส้มโอ 350 เฮกตาร์ที่ได้รับการจัดตั้งในจังหวัดเบ๊นแจในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นาย จิ๋งหงอกจุง เจ้าของสวนส้มโอเขียวตามห่วงโซ่ที่ได้มาตรฐานเวียดแก๊ปในตำบลเก๋ยเซินได้เผยว่า การเข้าร่วมกลุ่มสหกรณ์ปลูกส้มโอเขียวช่วยสนับสนุนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์และมีประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูง
“การผลิตตามมาตรฐานเวียดแก๊ปช่วยให้ได้ผลผลิตสูง มีเสถียรภาพและตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการ ซึ่งพวกเราลงนามสัญญากับสถานประกอบการที่มีชื่อเสียงในตลาดเพื่อจัดสรรปุ๋ยให้แก่เกษตรกร สำหรับการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ พวกเราได้ลงนามสัญญากับสถานประกอบการเฮืองเหมี่ยนเตยในการจำหน่ายส้มโอเขียวประมาณ 450 ตันต่อปี”
จังหวัดเบ๊นแจเน้นการปลูกมะพร้าวเพื่อการส่งออก |
จนถึงขณะนี้ เบ๊นแจได้จัดตั้ง 8 ห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์หลักได้แก่ มะพร้าว ส้มโอเขียว เงาะ ลำใย ดอกไม้ หมู วัวและกุ้งทะเล สำนักงานเกษตรจังหวัดเบ๊นแจได้ประสานงานกับสำนักงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ่านการช่วยเหลือด้านการปลูก การมอบใบรับรองคุณภาพตามมาตรฐานเวียดแก๊ปและโกลเบิลแก๊ป การสร้างเครื่องหมายการค้าและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ให้แก่ผลิตภัณฑ์หลัก จนถึงขณะนี้ จังหวัดเบ๊นแจมีพื้นที่ปลูกผมไม้ มะพร้าวและบ่อเลี้ยงกุ้งที่ได้มาตรฐานแก๊ปกว่า 9,000 เฮกตาร์ จัดตั้งองค์การเชื่อมโยงการผลิตตามห่วงโซ่กับกลุ่มสหกรณ์ 52 แห่งและสหกรณ์ 18 แห่ง นาย หวี่ญกวางดึ๊ก รองผู้อำนวยการสำนักงานการเกษตรและพัฒนาชนบทจังหวัดเบ๊นแจได้ยืนยันว่า การผลิตสินค้าการเกษตรและสัตว์น้ำตามห่วงโซ่คุณค่าช่วยค้ำประกันพื้นที่ปลูก ความพร้อมเพรียงในการผลิต สร้างประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจสูงให้แก่เกษตรกรและมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของเศรษฐกิจท้องถิ่น
“การเชื่อมโยงตามห่วงโซ่หมายถึงการเชื่อมโยงระหว่างเกษตรกร สหกรณ์และกลุ่มสหกรณ์หรือกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่นกับสถานประกอบการ เพื่อส่งออกผลิตภัณฑ์ไปยังตลาดที่มีมาตรฐานที่เข้มงวด ต้องให้ความสนใจต่อขั้นตอนการผลิตการเกษตร ก็แล้วแต่ตลาดที่ต้องการผลิตภัณฑ์การเกษตรอินทรีย์หรือผลิตภัณฑ์การเกษตรที่ได้มาตรฐานแก็ป สถานประกอบการและเกษตรกรจะเชื่อมโยงกันเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์ตามแนวทางนั้น”
ในขณะเดียวกัน บรรดสถานประกอบการเห็นว่า การเชื่อมโยงการผลิตตามห่วงโซ่คุณค่าเป็นแนวทางที่จำเป็นสำหรับเกษตรกรในสภาวการณ์แห่งการผสมผสานเข้ากับกระแสดโลกและกระบวนการโลกาภิวัตน์ นาง เหงวียนหวี่งมาย เจ้าของบริษัทส่งออกผลไม้หวี่งมายในตำบลเซินดิ๋ง อำเภอเจ๋อแล๊ก จังหวัดเบ๊นแจได้ให้ข้อสังเกตว่า
“ความต้องการด้านคุณภาพนับวันเพิ่มสูงขึ้น ดังนั้น เกษตรกรต้องเน้นผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสูง ถึงจะสามารถส่งออกได้ ผลิตภัณฑ์ส่งออกมีราคาสูงกว่าการจำหน่ายภายในประเทศเพราะต้องค้ำประกันมาตรฐานต่างๆของประเทศปลายทาง”
เบ๊นแจเป็นหนึ่งในท้องถิ่นที่มีหน่วยงานการเกษตรและสัตว์น้ำที่พัฒนาอย่างรวดเร็วในทุกด้านในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง โดยมีพื้นที่ปลูกผลไม้ประมาณ 4 หมื่นเฮกตาร์ สวนมะพร้าวกว่า 7 หมื่นเฮกตาร์ พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเกือบ 5 หมื่นเฮกตาร์ มีการเลี้ยงสุกรกว่า 5 แสนตัวและวัวกว่า 2 แสน 5 หมื่นตัว เป็นต้น ดังนั้น แนวทางการผลิตการเกษตรและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำตามห่วงโซ่คุณค่าจึงเป็นแนวทางที่ถูกต้อง สอดคล้องกับความต้องการที่นับวันเพิ่มสูงขึ้นของตลาดทั้งภายในและต่างประเทศ.