เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรได้รับการจำหน่ายโดยง่าย สหกรณ์ได้ประทับตรารหัส QR เพื่อระบุแหล่งที่มาของสินค้าเกษตร ช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าการเกษตร
|
จากการกำหนดว่า การเดินพร้อมกับเกษตรกรและสหกรณ์ต่างๆคือความรับผิดชอบและเพื่อธำรงการพัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจ สถานประกอบการหลายแห่งในกรุงฮานอยได้เร่งเปลี่ยนแปลงการประกอบธุรกิจด้วยมาตรการที่คล่องตัวและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เป็นจริง เพื่อสนับสนุนมาตรการเว้นระห่างทางสังคม สหกรณ์หลายแห่งได้ให้สมาชิกของสหกรณ์และเกษตรกรผลัดเปลี่ยนกันผลิตและเก็บผลผลิตให้ทันตามฤดูกาลและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เพื่อช่วยให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรได้รับการจำหน่ายโดยง่าย สหกรณ์ได้ประทับตรารหัส QR เพื่อระบุแหล่งที่มาของสินค้าเกษตรเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจเกี่ยวกับคุณภาพสินค้าการเกษตร
โดยปรกติทุกๆวัน สหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ ต่ามซ้า สามารถจำหน่ายผักได้เกือบ 2 พันตันผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตต่าง ๆ และจุดขายสินค้า แต่เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้ปริมาณผักที่ขายได้ของสหกรณ์ลดลงเป็นอย่างมาก นาย เลดึ๊กทั้ง รองผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตรอินทรีย์ ต่ามซ้า เผยว่า“สมาชิกของสหกรร์มีความประสงค์นำผักปลอดสารพิษไปถึงมือของผู้บริโภค ดังนั้น ต้องมีห่วงโซ่การเชื่อมโยงที่ดี โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดนี้”
ในตำบล ต่ามซ้า อำเภอ ดงแอง มีพื้นที่ปลูกผักปลอดสารพิษ 64 เฮกตาร์ โดยมีพื้นที่ 2.5 เฮกตาร์ปลูกผักอินทรีย์ที่มีคุณภาพสูง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การขยายพื้นที่ปลูกผักอินทรีย์คือแนวทางที่มีประสิทธิภาพ แต่ในหลายเดือนที่ผ่านมา ปริมาณจำหน่ายผักเริ่มช้าลง ซึ่งทำให้เกษตรกรมีความวิตกกังวล นาง เลถิแทง นายกสมาคมเกษตรกรตำบล ต่ามซ้า อำเภอดงแอง เผยว่า “ประชาชนมีความมั่นใจในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่เราผลิต ถ้าพวกเราผลิตแต่ไม่มีผู้จำหน่ายและ สินค้าขายไม่ได้ก็ทำให้เกษตรกรเกิดความกังวล”
ซุปเปอร์มาร์เก็ตและห้างขายปลีกที่มีชื่อเสียงในกรุงฮานอยได้เป็นฝ่ายรุกในการติดต่อกับสหกรณ์ผลิตผัก ผลไม้และเนื้อหมูในกรุงฮานอยเพื่อสั่งซื้อ ส่งพนักงานไปช่วยเหลือด้านบรรจุภัณฑ์และการจัดซื้อ โดยเฉพาะสถานประกอบการหลายแห่งยังช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการชำแหละสัตว์ปีก การขนส่ง การรับซื้อไก่ อ้อย หมูและวัวในอำเภอต่างๆในเขตชานเมือง ส่วนตามเขตและอำเภอต่างๆในกรุงฮานอยได้มีการจัดตั้งศูนย์ขายสินค้าราคามั่นคงในเขตชุมชน สหกรณ์เชื่อมโยงกับห่วงโซ่จัดสรรเพื่อจำหน่ายสินค้าการเกษตร ศูนย์ช่วยเหลือพัฒนาสตรีฮานอยได้ออกมาเชื่อมโยงอุปสงค์และอุปทาน จำหน่ายผลิตภัณฑ์ผักผลไม้ อีกทั้งให้การช่วยเหลือแก่ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค ทางศูนย์ฯจัดโครงการผ่านเครือข่ายสมาคมสตรีในท้องถิ่นเปิดจุดขายสินค้าการเกษตร นอกจากนั้น ทางศูนย์ฯยังรับใบสั่งซื้อผ่านระบบออนไลน์เพื่อส่งผลิตภัณฑ์ถึงทุกครอบครัว คุณ จิ่งลานญี ในเขตห่าดงเผยว่า “ดิฉันทราบการจำหน่ายสินค้าเกษตรผ่านเว็บไซต์ของศูนย์ ครอบครัวดิฉันสั่งซื้อผัก ผลไม้ของศูนย์ฯ 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพราะผัก ผลไม้เก็บได้นานและสดใหม่ ปลอดสารพิษ ราคาย่อมเยาและมีบริการส่งถึงบ้านจึงสะดวกมาก”
การปลูกผักอินทรีย์ปลอดสารพิษ (nongthonngaynay.vn)
|
นอกจากการเชื่อมโยงกับสหกรณ์จำหน่ายสินค้าการเกษตรในนคร ศูนย์ช่วยเหลือพัฒนาสตรีฮานอยยังเชื่อมโยงกับจังหวัดและเมืองใกล้เคียงของกรุงฮานอย ด้วยแนวทาง “ลดค่าใช้จ่ายคนกลาง นำผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิเศษไปถึงมือผู้บริโภคด้วยราคาที่ย่อมเยา” จนถึงขณะนี้ ทางศูนย์ฯได้จำหน่ายสินค้าการเกษตรของสหกรณ์ในเขตต่างๆ เช่น มะม่วง มันเทศ มันฝรั่ง ฟักทองและผักกว่า 500 ตันแจกอาหาร สิ่งของช่วยเหลือที่จำเป็นและสินค้าการเกษตรให้แก่ผู้ที่ประสบอุปสรรคเนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นาง เหงียนถิหาว ผู้อำนวยการศูนย์ให้การช่วยเหลือการพัฒนาสตรีฮานอยเผยว่า “ทางศูนย์ฯได้เปิดจุดจำหน่ายสินค้าการเกษตรในเมือง เขตและอำเภอต่างๆเพื่อเชื่อมโยงการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ด้วยบทบาทของศูนย์ฯ พวกเราได้ใช้สำนักงานเชื่อมโยงการจัดสรรความต้องการที่จำเป็นให้แก่ผู้ที่มีฐานะยากจน โดยเฉพาะสตรี”
ด้วยความคล่องตัว หน่วยงานการเกษตรฮานอยได้ปรับตัวในสภาวการณ์ที่ประชาชนจำกัดการเดินทาง จำกัดการติดต่อเพื่อมีส่วนร่วมป้องกันและรับมือการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เมื่อได้รับการสนับสนุนจากทางการปกครองและสถานประกอบการ บวบกับการร่วมแรงร่วมใจของเกษตรกร หน่วยงานการเกษตรกรุงฮานอยจะฟันฝ่าความท้าทายในปัจจุบัน พัฒนาการผลิตและประกอบธุรกิจเพื่อค้ำประกันแหล่งจัดสรรอาหารที่ปลอดสารพิษให้แก่กรุงฮานอย./.