อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของจังหวัดดั๊กลัก

(VOVWORLD) - อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม ในตำบลยางตาว อำเภอลัก จังหวัดดักลัก ได้รับการรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติ ซึ่งได้เปิดโอกาสมากขึ้นในการอนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม
อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของจังหวัดดั๊กลัก - ảnh 1อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม ในตำบลยาง เพิ่งได้รับการรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของชาติ

ตำบล ยางตาว อำเภอลัก มีประชากรร้อยละ 90 เป็นชนเผ่าเมอนง เรอลัม ซึ่งมีชื่อเสียงในการประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผามาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยชนเผ่าเมอนง เรอลัม ได้นำดินเหนียวในเชิงเขามาทำเป็นสิ่งของที่จำเป็นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และนำไปแลกเปลี่ยนกับชนเผ่าเอเดและจารายในพื้นที่โดยรอบ

ผู้หญิง ยางตาว ส่วนใหญ่รู้วิธีทำเครื่องปั้นดินเผา เนื่องจากผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผามีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ชีวิตของชาวบ้านมีความอิ่มหนำผาสุกจากการประกอบอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา แม้ว่าผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจะไม่มีความหลากหลาย แต่ได้สะท้อนเรื่องราวกระบวนการก่อตั้งและพัฒนาของตำบลยางตาวตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นาง เฮอเฟียตอวง ช่างศิลป์ทำเครื่องปั้นดินเผา เผยว่า

“ชนเผ่าเมอนง เรอลัม มักใช้หม้อดินในการหุงข้าว ทำอาหาร และใช้ถ้วยชามดินเผาในการรับประทานอาหารด้วย ข้าวที่หุงด้วยหม้อดินอร่อยมาก” ถึงแม้สังคมจะมีการพัฒนาอย่างเข้มแข็ง แต่ชนเผ่าเมอนง เรอลัมยังคงรักษาเอกลักษณ์การทำเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมเอาไว้ โดยดินเหนียวจะถูกนำมาทุบก่อนจะนำไปปั้นขึ้นรูปโดยไม่ใช้แป้นหมุนซึ่งถือว่ามีความยากและต้องใช้ฝีมือที่มีดีเยี่ยมของช่างศิลป์ เมื่อขึ้นรูปเสร็จ ก็จะนำไปตากให้แห้ง  โดยขณะตาแห้งช่างศิลป์จะใช้แท่งไม้ไผ่ แท่งฟืน หรือขนเม่นวาดลวดลายแบบเรียบง่าย เช่น ลายวงกลม ลายต้นไม้ ดอกไม้ หรือเส้นเรขาคณิตง่าย ๆ เป็นต้น แล้วตากอีก 1 ถึง 2 วันให้แห้งขึ้นอีกขั้น จากนั้น จะใช้กรวดมันวาวขัดผิวผลิตภัณฑ์ให้เรียบเนียนและ เงางาม แล้วนำไปตากให้แห้งสนิทก่อนนำไปเผา

เทคนิคการเผาเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม มีความพิเศษมาก เพราะไม่ใช้เตาเผา แต่ใช้เทคนิคการเผาด้วยการสุมไฟกลางแจ้ง การเผาจะใช้เวลาประมาณ 30 นาที จากนั้นนำไปหมกแกลบเพื่อเป็นการเคลือบผลิตภัณฑ์ให้มีความทนทาน ดร. เลืองแทงเซิน นักวิจัยวัฒนธรรมพื้นเมือง เผยว่า

“ดินทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม ไม่มีการผสมวัตถุดิบอื่น ชนเผ่าเมอนง เรอลัม เอาดินมาทุบแล้วปั้นขึ้นรูป หลังจากเผา ผลิตภัณฑ์มีความทนทานและสวยงาม และจนถึงปัจจุบันก็ยังมีคนใช้เป็นจำนวนมาก”

อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง - มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติของจังหวัดดั๊กลัก - ảnh 2ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จากการพัฒนาการท่องเที่ยว อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยวที่มาเยือนตำบลยางตาว ดังนั้นผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาจึงมีความหลากหลายมากขึ้น โดยช่างศิลป์ไม่เพียงแต่ผลิตเครื่องครัวเท่านั้น หากยังผลิตผลิตภัณฑ์ทั้งชิ้นเล็กและชิ้นใหญ่ตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายและมีคุณภาพที่ดีได้ช่วยให้ช่างศิลป์มีรายได้มากขึ้น นาย อีเทอ เมอโล รองประธานคณะกรรมการประชาชนตำบลยางตาวในอำเภอลักเผยว่า  อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมของชนเผ่า เมอนง เรอลัม ได้รับการรับรองเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ระดับชาติ ซึ่งจะเปิดโอกาสมากขึ้นเพื่ออนุรักษ์และพัฒนาอาชีพทำเครื่องปั้นดินเผา สร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ และขยายตลาดให้กว้างขวางมากขึ้น

“แนวทางของอำเภอและโครงการเป้าหมายแห่งชาติคือเดินหน้าส่งเสริมและอนุรักษ์อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม ผมหวังว่า หน่วยงานของอำเภอและจังหวัด โดยเฉพาะหน่วยงานด้านการท่องเที่ยวจะเป็นสะพานเชื่อมในการแนะนำและประชาสัมพันธ์สถานที่ผลิตเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม”

ปัจจุบัน ช่างศิลป์ประมาณ 13 คนในหมู่บ้าน ยกดวนและหมู่บ้าน เยองบั๊ก กำลังรักษาความเคล็ดลับเทคนิคการทำเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้ ยังมีช่างศิลป์ 29 คนที่สามารถทำผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผ่าแบบง่ายๆ สำหรับใช้ในครอบครัว ดังนั้น ควบคู่กับการสร้างแรงจูงใจในการส่งเสริมความกระตือรือร้นของช่างศิลป์แล้ว ในเวลาที่ผ่านมา อำเภอลักและจังหวัดดั๊กลักได้เปิดชั้นเรียนฝึกสอนอาชีพให้แก่เยาวชนเพื่ออนุรักษ์อาชีพทำเครื่องปั้นดินเผาของชนเผ่าเมอนง เรอลัม.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

คำติชม

ข่าวอื่นในหมวด