หมู่บ้านทอผ้าพื้นเมือง ก๊านตี๋

Ngọc Anh
Chia sẻ

(VOVWORLD) - หมู่บ้านก๊านตี๋ ในอำเภอกว๋านบะ จังหวัดห่ายาง มีอาชีพปลูกต้นลินินหรือแฟลกซ์และการทอผ้าพื้นเมือง ชาวบ้านไม่ทราบว่า อาชีพนี้มีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ โดยทราบแต่เพียงว่า อาชีพนี้มีมานานแล้ว ด้วยฝีมือที่ประณีตของสตรีในเขตเขา ชุดแต่งกายที่ทำจากผ้าพื้นเมืองและผลิตภัณฑ์ทอผ้าอื่นๆของชาวบ้านไม่เพียงแต่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในท้องถิ่นเท่านั้น หากยังเป็นของที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยวอีกด้วย

หมู่บ้านทอผ้าพื้นเมือง ก๊านตี๋ - ảnh 1ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมือง ก๊านตี๋ 

หมู่บ้านก๊านตี๋ไม่เพียงแต่มีอาชีพทอผ้าพื้นเมืองเท่านั้น หากยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวเมื่อเดินทางมาเยือนอำเภอ กว๋านบะ จังหวัดห่ายาง ก๊านตี๋ เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีเกือบ 270 ครอบครัวและชาวบ้านทั้งหมดเป็นชนเผ่าม้ง นอกจากอาชีพทำนาทำไร่แล้ว ในช่วงหลังฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทอผ้าพื้นเมือง โดยวัสดุหลักในการทอผ้าพื้นเมืองคือเส้นใยลินินที่ปลูกบนดอยในท้องถิ่น โดยเมื่อถึงฤดูเก็บเกี่ยว ชาวบ้านจะเก็บเมล็ดลินินนำไปตากให้แห้ง แล้วปั่นเป็นเส้นด้าย ชนเผ่าม้งใช้กี่ทอผ้าเพื่อทำผ้าลินิน

ตามขนบธรรมเนียมประเพณี สาวชนเผ่าม้งก่อนแต่งงานต้องรู้จักการตัดเย็บเพื่อสามารถทอชุดแต่งงานของตนเองได้  ตอนเป็นเด็ก สาวๆจะได้รับการสอนวิธีการตัดเย็บทอผ้าจากแม่หรือย่ายาย ดังนั้นสตรีชนเผ่าม้งส่วนใหญ่เมื่อโตขึ้นจึงก็รู้จักการทอผ้าลินินเพื่อสืบทอดให้แก่ชนรุ่นหลัง คุณ กื๊อถิหมี ช่างศิลป์ในหมู่บ้านก๊านตี๋ เล่าให้ฟังว่า “เมื่อก่อน บรรพบุรุษได้สืบทอดอาชีพให้แก่ลูกหลานเพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้ง เมื่อลูกหลานแต่งงาน ครอบครัวต้องมีเสื้อผ้า 2 ชุดเพื่อมอบให้แก่ลูกหลาน สำหรับชนเผ่าม้ง ผู้เสียชีวิตต้องมีเสื้อผ้า 3 ชุดก็หมายความว่า ได้พบกับบรรพบุรุษหลังจากเสียชีวิต การปลูกต้นลินินต้องไถดินและใช้ปุ๋ย เมล็ดลินินที่เก็ญมาต้องตากให้แห้งสนิท ไม่ปล่อยให้น้ำถูกฝน ถ้าอยากให้ผ้าที่ทอได้มีความนุ่มเหนียวและสวยงาม เราต้องทำให้เส้นใยมีขนาดเล็กและสม่ำเสมอ”

หมู่บ้านทอผ้าพื้นเมือง ก๊านตี๋ - ảnh 2คุณ กื๊อถิหมี ช่างศิลป์ในหมู่บ้านก๊าตี๋ 

ทางการตำบลก๊านตี๋ เน้นถึงการฝึกสอนอาชีพเพื่อมีส่วนร่วมสร้างงานทำและพัฒนาเศรษฐกิจให้แก่ชนเผ่า เมื่อปี 2011 สหกรณ์ทอผ้าลินิน ก๊านตี๋ ได้รับการก่อตั้ง คุณ สุ่งถิหมิ ชาวบ้านของหมู่บ้าน ก๊านตี๋ เผยว่า “ปัจจุบัน สหกรณ์มี 12 ครอบครัวเข้าร่วมและประกอบธุรกิจมานานแล้ว ทางสหกรณ์ฯสืบทอดอาชีพและฝึกอบรมให้แก่เด็กและสตรีในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่นกระโปง เสื้อผ้า กระเป๋า ผ้าห่มและผ้าขนหนู ในการทอผ้า ถ้าชอบลวดลายไหนก็ทำลวดลายนั้น อาชีพนี้ยากมากจึงมีแต่ช่างศิลป์ฝีมือดีถึงจะทำได้”

การทอผ้าพื้นเมืองในหมู่บ้านก๊านตี๋ทำด้วยมือทุกขั้นตอน เพื่อทอผ้าให้สวยงาม ช่างศิลป์ต้องมีฝีมือดี เพราะเทคนิคการทอต้องมีการประสานงานอย่างกลมกลืนระหว่างมือ และเท้าเหยียบผ้า เพื่อให้ได้ผ้าลินินที่นุ่มและทนทานและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว ซึ่งนอกจากเป็นของที่ระลึกของหมู่บ้านศิลปาชีพที่มีอายุยาวนานของจังหวัดห่ายางแล้วก็ยังสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์วัฒนธรรมของชนเผ่าม้งผ่านลวดลายบนผืนผ้า คุณ กื๊อถิหมี ช่างศิลป์ในหมู่บ้านก๊านตี๋ เผยต่อไปว่า “เอกลักษณ์ที่โดดเด่นที่สุดของผลิตภัณฑ์คือลวดลายที่วาดด้วยขี้ผึ้ง พวกเรานำขี้ผึ้งไปผ่านขั้นตอนกรรมวิธีต่างๆก่อนที่จะนำไปวาดลวดลายบนผ้า ตั้งแต่ปี 2004 จนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านพัฒนาไปมาก ในตอนแรก พวกเราผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ต่อจากนั้น นักท่องเที่ยวที่มาเยือนก็ชอบผลิตภัณฑ์ของเรามาก พวกเราจึงผลิตขายให้แก่นักท่องเที่ยวเพื่อเป็นของที่ระลึก ดิฉันมักจะนำไปขายที่กรุงฮานอย รวมทั้งที่วันเมี๊ยว”

หมู่บ้านทอผ้าพื้นเมือง ก๊านตี๋ - ảnh 3ผลิตภัณฑ์ผ้าพื้นเมืองได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากนักท่องเที่ยว 

ด้วยศักยภาพพัฒนาการท่องเที่ยวในอำเภอกว๋านบะ อาชีพทอผ้าพื้นเมืองของชนเผ่าม้งในหมู่บ้านก๊านตี๋มีโอกาสพัฒนา ขยายตลาด มุ่งสู่การสร้างเครื่องหมายการค้า มีส่วนร่วมเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน อนุรักษ์และส่งเสริมเอกลักษณ์วัฒนธรรมของประชาชาติของชนเผ่าม้งที่นี่.

Komentar