อาชีพทำเหล้าข้าวโพดพื้นเมืองของหมู่บ้านจี ตำบลซวนยาง |
อำเภอกวางบิ่งได้รับการจัดตั้งเมื่อกว่า 10 ปีก่อนและเป็นเขตยากจนในจังหวัดห่ายาง ปัจจุบันอำเภอกวางบิ่งมีตำบล 5 แห่ง รวมหมู่บ้าน 39 แห่ง ทางการท้องถิ่นกำลังเน้นอนุรักษ์และส่งเสริมการพัฒนาคุณค่าของหมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองหลายแห่งด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพที่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค
ตำบลซวนยาง อำเภอกวางบิ่ง มีศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีผลิตภัณฑ์พื้นเมือง เช่น เหล้าข้าวโพดและน้ำปลา ในหลายปีที่ผ่านมา จากการกำหนดแนวทางและความช่วยเหลือของทางการทุกระดับ ผลิตภัณฑ์พื้นเมืองของหมู่บ้านศิลปาชีพได้เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ซึ่งช่วยเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ นาง หว่างถิงา หมู่บ้านจี ตำบลซวนยางได้เผยว่า ท้องถิ่นได้ฟื้นฟูอาชีพทำเหล้าพื้นเมือง ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน
“ เมื่อก่อนนี้ ชาวบ้านทำเหล้าส่วนใหญ่เพื่อดื่มเอง แต่ตอนนี้ ทำเหล้า 300 -400 ลิตรต่อเดือนเพื่อขาย รายได้อยู่ที่ 2 -5 ล้านด่ง นอกจากการประกอบอาชีพเกษตรแล้ว พวกเรายังประกอบอาชีพทำเหล้าพื้นเมืองด้วย”
หมู่บ้านจี ตำบลซวนยางมีเกือบ 130 ครอบครัวที่ประกอบอาชีพทำเหล้าข้าวโพดพื้นเมืองผสานกับการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบชุมชน นาย เหงวียนวันตว่าน เลขาธิการพรรคสาขาและหัวหน้าหมู่บ้านจี ตำบลซวนยางได้เผยว่า หลังจากที่เสร็จสิ้นการสร้างสรรค์ชนบทใหม่เมื่อปี 2016 โดยได้รับความช่วยเหลือจากคณะกรรมการประชาชนอำเภอกวางบิ่งเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านศิลปชีพ เหล้าข้าวโพดของหมู่บ้านจีได้รับการจำหน่ายอย่างมีเสถียรภาพ ซึ่งช่วยเพิ่มรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน
ตำบลกวางบิ่ง มีสหกรณ์สหกรณ์การเกษตรและการบริการ 27 แห่ง การดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพของสหกรณ์ต่างๆได้ส่งเสริมและช่วยเหลือประชาชนในการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพและผลักดันการจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตร นาย หวูเตี๊ยนแถ่ง รองผู้อำนวยการสหกรณ์การเกษตรแทงถวี ตำบลหวีเถือง อำเภอกวางบิ่งได้เผยว่า ทางสหกรณ์ฯได้รับการจัดตั้งเมื่อปี 2017 โดยมีสมาชิก 7 คน คณะกรรมการประชาชนจังหวัดห่ายางได้ให้ความช่วยเหลือสหกรณ์ฯในการกู้เงินด้วยดอกเบี้ย 0% มูลค่าเกือบ 1 พันล้านด่ง เมื่อปี 2019 รายได้ของสหกรณ์อยู่ที่เกือบ 3 พันล้านด่ง
ส่วนตำบลหวีเถือง อำเภอกวางบิ่งเป็นท้องถิ่นที่มีชื่อเสียงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ข้าว นับตั้งแต่เสร็จสิ้นการสร้างสรรค์ชนบทใหม่และประสบความสำเร็จในการพัฒนารูปแบบสหกรณ์ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนได้รับการยกระดับให้สูงขึ้น นาย ลองดึ๊กจุง เลขาธิการพรรคสาขาตำบลหวีเถืองได้เผยว่า ปัจจุบัน ตำบลหวีเถืองมีสหกรณ์ 5 แห่งที่กำลังดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ
“รูปแบบสหกรณ์นี้มีประสิทธิภาพมาก ทางสหกรณ์ฯช่วยเหลือเกษตรกรในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์การเกษตรและแสวงหาหุ้นส่วนเพื่อช่วยเหลือประชาชน”
การดำเนินงานอย่างประสิทธิภาพของรูปแบบสหกรณ์และแนวทางการพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพพื้นเมืองได้ช่วยให้ผลิตภัณฑ์การเกษตรของที่นี่ผลิตตามาตรฐานเวียดแก๊ป โครงการ “1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์” หรือ OCOP ที่สามารถครองส่วนแบ่งในตลาดได้และมีส่วนช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน จนถึงขณะนี้ รายได้เฉลี่ยต่อหัวประชากรในอำเภอกวางบิ่งอยู่ที่เกือบ 32 ล้านด่งต่อปี นาย เหงวียนวันหว่าง หัวหน้าเกษตรอำเภอกวางบิ่งได้เผยว่า
“บนพื้นฐานศักยภาพของท้องถิ่น พวกเราให้ความช่วยเหลือหมู่บ้านศิลปาชีพต่างๆในการเพิ่มจำนวนและยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์การเกษตรเพื่อสร้างเครื่องหมายการค้า OCOP เพิ่มความรู้ของประชาชนในการผลิต เพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์และรายได้ให้แก่ประชาชน”
การพัฒนาหมู่บ้านศิลปาชีพและรูปแบบสหกรณ์ได้มีส่วนช่วยให้จังหวัดห่ายาง โดยเฉพาะอำเภอกวางบิ่งแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชน.